ศึกษาเรียนรู้

แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา สมรรถนะ จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา สมรรถนะ จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด

30.4.66

เรียนรู้จากการทำงาน

เรียนรู้จากการทำงาน

 หนังสือ Driving Performance Through Learning : Using L&D to Improve Performance, Productivity and Profits (2019)  บอกว่าพนักงานเรียนจากการทำงานได้มากกว่าการไปเข้ารับการฝึกอบรม    โดยที่การเรียนรู้จะเกิดอย่างมีพลัง ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน 

เป็นหนังสือที่เน้นให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วย L&D (Learning and Development) ขององค์กร    โปรดสังเกตนะครับ ว่าองค์กรสมัยใหม่เขามีหน่วย L&D   เพื่อเน้นหนุนให้การปฏิบัติงานเป็นการเรียนรู้ไปในตัว    และหนังสือเล่มนี้แนะนำว่า ให้ใช้หลักการ 70:20:10 ในเรื่องการพัฒนาบุคลากร

ผมตีความว่า เขาเรียกหน่วย L&D ในชื่อที่โก้หรูว่า Academy  เช่น SCB Academy   

ร้อยละ ๗๐ ของการเรียนรู้ มาจากการปฏิบัติงานของตนเอง   ร้อยละ ๒๐ มาจากการได้รับโค้ชชิ่ง   เพียงร้อยละ ๑๐ เท่านั้นที่ได้จากการไปเข้ารับการอบรมในหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ     เขาบอกว่าธุรกิจจะก้าวหน้าได้ในยุคปัจจุบันต้องมุ่งพัฒนาบุคลากรโดยใช้หลักการนี้    หรือกล่าวใหม่ว่า องค์กรต้องมี ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ (learning strategy)   

 หน่วย L&D จึงต้องมีสมรรถนะในการหนุนให้การทำงานประจำเกิดการเรียนรู้    โดยจัดให้มี ทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ (learning resource) ให้บริการแก่ผู้ปฏิบัติงาน     เน้นให้เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน    เป็นการเรียนรู้ที่ก่อผลดีต่อทั้งตัวบุคคล และต่อหน่วยงานหรือต่อการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของผลงาน   

เขาแนะนำว่า หน่วย L&D ต้องทำตัวหรือมีวิธีทำงานคล้าย Start-up   คือกล้าทำต่างจากแนวทางเดิมๆ  กล้าเสี่ยงต่อความล้มเหลว    หรือกล่าวใหม่ว่า พร้อมที่จะเรียนรู้จากความล้มเหลว    และทำหน้าที่สร้างวัฒนธรรมนี้ขึ้นในองค์กร    เพื่อให้องค์กรเป็นที่รวมของพนักงานที่เป็น “ผู้เรียนรู้เร็วที่สุด” (the fastest learner)    เพราะนี่คือปัจจัยแห่งความสำเร็จในยุคปัจจุบัน

จุดเริ่มต้นของกิจกรรม L&D คือหาประเด็น หรือปัญหาที่ต้องแก้ให้พบ โดยทำ learning need analysis    แล้วกำหนดกลยุทธ    เพื่อจัดตั้ง agile team ใช้ design thinking, lean process และอื่นๆ ในการแก้ปัญหาในระดับปรับ working platform ใหม่    ในรูปแบบของการปรับไปเรียนรู้ไป    ทำไปวัดผลไปปรับไป เป็นวงจร    และต้องมีการวัดผลกระทบจากระบบ L&D ว่าก่อประโยชน์ต่อองค์กรอย่างคุ้มค่าหรือไม่    การวัดผลกระทบนี้ทำไม่ง่าย แต่ต้องทำ   

เขาแนะนำเครื่องมือ Learning canvas สำหรับใช้กำหนดแผนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่มองเห็นด้วยสายตา   

เป้าหมายของระบบ L&D คือ    จัดการเรียนรู้ให้ ถูกคน  ถูกเรื่อง ถูกเวลา    คือไม่ทำอย่างเปะปะ   แต่ทำอย่างมีเป้าหมาย    และรู้จักใช้ของฟรี ที่เรียกว่า open learning resource ที่อยู่บนพื้นที่ไซเบอร์    โดยทีม L&D ขององค์กรคอยค้นหา และคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน   เอามาจัดไว้ในระบบ organization learning resource ให้พนักงานค้นหาได้สะดวก   

ทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้สำคัญอีกอย่างหนึ่งขององค์กร คือ พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (sharing resource)    ทำโดยสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นในองค์กร   ที่เขาไม่เอ่ยคำว่า KM แต่จริงๆ แล้วก็คือการประยุกต์ใช้ KM นั่นเอง 

เครื่องมือสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ โค้ชชิ่ง    ที่เขาแนะนำว่า ต้องบูรณาการอยู่ในการปฏิบัติงานนั้นเอง   และทำกันจนเป็นนิสัย หรือเป็นวัฒนธรรมองค์กร    ทำกันในทุกระดับ เริ่มตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุด เป็นโค้ชของผู้บริหารระดับต่อๆ ลงมา    และต้องไม่ลืมใช้ประโยชน์จากความผิดพลาด เพื่อการเรียนรู้           

เขาเตือนว่า ต้องสะท้อนคิดเรื่องบริบทหรือระบบนิเวศที่กำลังเผชิญ   และนำมาประยุกต์ใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางระบบ L&D ขององค์กร 

ผมสะท้อนคิดว่า    เขาลืมเรื่องสำคัญ สำหรับใช้ในการเรียนรู้ส่วนร้อยละ ๗๐ หรือการเรียนรู้จากการทำงาน    คือเรื่อง Kolb’s Experiential Learning Cycle และ Double-Loop Learning    ซึ่งเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้กลับทาง   คือใช้การปฏิบัติงานเป็นตัวช่วยให้ได้เรียนรู้หลักการ (concept)   ที่เป็นเส้นทางแห่งปัญญา 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ธ.ค. ๖๕

20.9.63

school

 หลักการจัดการศึกษาที่เป็นฐานคิดสากล และฐานคิดวิถีไทย

ระบบการจัดการศึกษา

          ระบบการจัดการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ

          1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กําหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสําเร็จการศึกษาที่แน่นอน

          2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกําหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญของการสําเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม

          3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ

การจัดการศึกษาในฐานคิดสากล

          เป็นการศึกษาที่นําเอาเนื้อหาที่มีการจัดระเบียบ ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของบริบททางการศึกษา และมีการศึกษาแบบไม่ลําเอียง ทุกคนสามารถศึกษาได้เท่าเทียมกัน โดยการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจริงจากการศึกษาและได้กระทําด้วยการลงมือทําด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นเพียงแค่ผู้ให้คําปรึกษา และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเกิดจากการเรียนรู้ของนักเรียนเอง ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของสังคมที่จําเป็น ซึ่งจะทําให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เสาหลักการศึกษาในฐานสากล

เสาหลักการศึกษาในฐานสากลแบ่งออกเป็น 4 เสาหลัก คือ

          1) การเรียนเพื่อรู้ ( learning to know ) เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้และวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต กระบวนการเรียนรู้เน้นการฝึกสติ สมาธิ ความจํา ความคิด ผสมผสานกับสภาพจริงและประสบการณ์ในการปฏิบัติ

2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง ( learning to do ) เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาความสามารถและความชํานาญ รวมทั้งสมรรถนะทางด้านวิชาชีพ สามารถปฏิบัติงานเป็นหมู่คณะ ปรับประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติงาน และอาชีพได้อย่างเหมาะสม กระบวนการเรียนการสอนบูรณาการระหว่างความรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติงานที่เน้นประสบการณ์ต่างๆ ทางสังคม

          3. การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันและการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น ( learning to live together ) เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถดํารงชีวิต อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข มีความตระหนักในการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การแก้ปัญหา การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี มีความเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเข้าใจความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของแต่ละบุคคลในสังคม

4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต ( learning to be )เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน ทั้งจิตใจ ร่างกาย และสติปัญญา ให้ความสำคัญกับจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ภาษา และวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ศีลธรรม สามารถปรับตัวและปรับปรุงบุคลิกภาพของตน เข้าใจตนเองและผู้อื่น

การจัดการศึกษาในฐานคิดวิถีไทย

หลัก 3R

          1) ความเคร่งครัด ความถูกต้องแม่นยํา ( Rigor ) เช่น ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills)

          2) ความสัมพันธ์ ( Relevance ) เช่น ทักษะชีวิตและอาชีพ (life and career skills)

          3) สัมพันธภาพ ( Relationships ) เช่น ทักษะเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อ (life and career skills)

หลัก 7C

          1) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา (Critical thinking & problem solving)

          2) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity & innovation)

          3) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural understanding)

          4) ทักษะด้านความร่วมมือ การทํางานเป็นทีม และภาวะผู้นํา (Collaboration, teamwork & leadership)

          5) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ (Communications, information & media literacy)

          6) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (Computing & ICT literacy)

          7) ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career & learning skills)

กิจกรรมมุ่งเน้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 ห่วง และ 2 เงื่อนไข โดย 3 ห่วง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ส่วน 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม

กรอบทิศทางแผนการศึกษา ในปัจจุบันและอนาคต

          แนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Design) ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ยึดหลักสําคัญใน    การจัดการศึกษา ประกอบด้วยหลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม (All for Education)

         อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ประเด็นภายในประเทศ(Local Issues) อาทิ คุณภาพของคนทุกช่วงวัย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ และวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม โดยนํายุทธศาสตร์ชาติ (National Strategy) มาเป็นกรอบความคิดสำคัญในการจัดทําแผนการศึกษาแห่งชาติ

การจัดการหลักการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา

          แผนการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการศึกษา 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

          1) การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ

          2) การผลิตและพัฒนากําลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

          3) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

          4) การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา

          5) การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

         6) การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา

12.9.63

ศึกษาค้นคว้าพัฒนาตนเอง

 ศึกษาค้นคว้า พัฒนาตนเอง

        รวมหลักสูตร อบรมออนไลน์ เพื่อการศึกษาพัฒนาตนเอง นับชั่วโมงคูปอง ขอทำวิทยะฐานะได้ ซึ่งบางหลักสูตร สามารถนับชม.พัฒนา​ ว.21 ได้ บางหลักสูตรได้เกียรติบัตรเพื่อประกอบการพัฒนาตนเอง

หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน ที่ ก.ค.ศ.รับรอง สังกัด สพฐ. 
    - ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (3 เม.ย. 2560) > คลิก 
    - ครั้งที่ 1/2561 รอบที่1 > คลิก  /  รอบที่2 > คลิก  /  รอบที่3 > คลิก  /  รอบที่4 > คลิก
    - ครั้งที่ 1/2562 > คลิก 
    - 3 ม.ค. 2562 จำนวน 44 หลักสูตร > คลิก
    - 15 ส.ค. 2562 จำนวน 2725 หลักสูตร > คลิก  
    - ประกาศรับรองหลักสูตรปี 63 ครั้งที่ 1 > คลิก  |  ครั้งที่ 2 > คลิก 

วิธีตรวจสอบก่อน-หลังอบรมครูออนไลน์ได้ชั่วโมงจริง หรือ ไม่ > คลิก 
ตรวจสอบหลักสูตรออนไลน์ที่คุรุพัฒนารับรอง ให้สามารถนับชั่วโมงพัฒนาตาม ว21 > คลิก 
แนวข้อสอบ จรรยาบรรณวิชาชีพครู > คลิก 
แนวข้อสอบ ศึกษานิเทศก์ > คลิก 

อบรมหลักสูตรที่ใช้ชั่วโมงอบรม Online แทนชั่วโมงการพัฒนาตนเอง ( คูปองครู ) ตาม ว 22/2560 ที่​ กคศ.​ รับรอง ซึ่งครูที่จะยื่นวิทฐานะต้องกำหนด แต่ละปี 12-20 ชั่วโมง 5 ปีรวมกันต้องได้ชั่วโมง อย่าอบรม Online ต่าง ๆ เพลินจนลืม ปีละ 20 ชั่วโมงก็พอ เก็บไว้อบรมปีต่อไปเรื่อย ๆ ครับ​

📌 1. หลักสูตรการอบรมหลักสูตรการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( 20 ชั่วโมง )
LINK : https://www.thaisafeschools.com/
📌 2. หลักสูตร สุจริตไทย (หลักสูตรสำหรับข้าราชการ) LINK : www.thaihonesty.org ( 20 ชั่วโมง )
📌 3. หลักสูตรการอบรมหลักสูตร“การสอนเพศวิถีศึกษา :การพัฒนาการเรียนรู้แบบ E-Learningเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูให้สอนเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ( 22 ชั่วโมง ) LINK : http://cse-elearning.obec.go.th/
📌 4. หลักสูตรอบรมมี 3 หลักสูตร คือ
        4.1 กรรมการคุมสอบ
        4.2 หลักสูตรกรรมการกลาง
        4.3 หลักสูตรหัวหน้าสนามสอบ
ซึ่งเมื่อผ่านการอบรมแล้ว เมื่อไปปฏิบัติหน้าที่จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น 20-30%. LINK : http://e-learning.niets.or.th/login/index.php
📌 5. หลักสูตรการช่วยเหลือดูแลนักเรียน(วัยรุ่น) จากกรมสุขภาพจิต 10 หลักสูตร LINK : www.thaiteentraining.com
📌 6. หลักสูตรวิทยาการคำนวณ สสวท. LINK : https://teacherpd.ipst.ac.th/index.php/index.php…
📌 7. หลักสูตรปลูกต้นไม้ ร่วมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน เพื่อโลกของเรา LINK : https://plant.forest.go.th/login

- อบรมออนไลน์ 45 หลักสูตร (ครูดุลยวิทย์) > คลิก 
- 21 Teaching Fight Covid-19 (เทคนิคการสอนออนไลน์สู้ Covid-19) > คลิก
- Course Curriculum "Innovation Education" Application เพื่อพัฒนานวัตกรรมการสอน (บันทึกการสอนสดในห้องเรียน) > คลิก
- แนะนำการใช้โปรแกรม Zoom (How to use Zoom in conducting an online classroom/meeting) > คลิก
- หลักสูตร การพัฒนาสมรรถนะครูมืออาชีพ ด้านการจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ โดยใช้แหล่งเรียนรู้นอกชั้นเรียน และเทคโนโลยีเป็นฐาน (The Development Learning Competency for Thai Professional Teachers by Using Learning Resource and Information Communication Technology) เนื่องใน วันครู ครั้งที่ 64 พ.ศ. 2563 วันที่ 16 – 17 มกราคม 2563 ณ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร > คลิก
- หลักสูตรกรรมการคุมสอบ/กรรมการกลาง/หัวหน้าสนามสอบ o-net สทศ. > คลิก *
- หลักสูตรการดูแลความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน > คลิก
- หลักสูตรวิทยาการคำนวณ สสวท. > คลิก
- หลักสูตรการให้คำปรึกษาวัยรุ่น > คลิก
- อบรมครูออนไลน์ สสวท. > คลิก
- เชิญชวนร่วมกันปลูกต้นไม้ ร่วมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน แล้วมาลงทะเบียนเพื่อรับเกียรติบัตร > คลิก (ดำเนินการแล้ว)
- สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ Thailand Digital Government Academy > คลิก
- หลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา > คลิก *
- หลักสูตรอบรมออนไลน์ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ > คลิก *
- หลักการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการบริหารราชการ (Principle of Research for Public Sectors’ Development) > คลิก
- หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (สำหรับครูผู้สอนและนักวิจัย) > คลิก
- เทคนิคการเป็นวิทยากร > คลิก
- การอบรมออนไลน์ HRD: e-Learning ของสำนักงาน ก.พ. > คลิก 
โครงการ Thai MOOC ร่วมกับ สำนักงาน ก.พ. (OCSC) และ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดวิชาเรียนหลากหลายวิชาเรียนออนไลน์ฟรี รับ   ประกาศนียบัตร
        ลงทะเบียนเรียน > คลิก
        คู่มือการเข้าเรียนในระบบ > คลิก
- ระบบทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ COVID-19 กศน.อุบลราชธานี > คลิก *
- การออกแบบองค์กรดิจิทัล (Designing Digital Organization) > คลิก
- การขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Transformation) > คลิก
- การสื่อสารและการประสานงาน (Communication and Collaboration) > คลิก
- การคิดเชิงวิพากษ์และการจัดการปัญหา (Critical thinking and problem solving) > คลิก
- Google Tools เพื่อการพัฒนางาน (Google Tools to Improve Work Performance) > คลิก
- การออกแบบและผลิตรายวิชา MOOC (Overview of Creating an edX Course) > คลิก
- เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ > คลิก
- การพัฒนาวิชาและจัดการเรียนการสอนออนไลน์บนระบบ OPEN EDX > คลิก
- เทคโนโลยีเสริมการสอน ในยุค Digital (Technology Enhanced Learning for Digital Era) > คลิก
- การออกแบบ Infographic|Infographic Design > คลิก
- เรียนออนไลน์สายสังคม 5 วิชา (ม.มหิดล) > คลิก
- จิตวิทยากับชีวิตประจำวัน (Psychology and Daily Life) > คลิก
- แนะนำ 20 หลักสูตรยอดนิยมอบรมออนไลน์ผ่าน THMOOC อบรมฟรี มีเกียรติบัตร > คลิก
- หลักสูตรอบรมออนไลน์ การใช้ Microsoft Excel เพื่อการบริหารข้อมูล (สำนักงาน ก.พ.) > คลิก 
- หลักสูตรอบรมออนไลน์ ประเมินผลทักษะด้านการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) > คลิก 
- อบรมออนไลน์ ความรู้พื้นฐาน Google Applications (วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย) > คลิก  
- คู่มือกาารใช้ Google Apps > คลิก  
- อบรมออนไลน์ หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (สพม.33) > คลิก
- คู่มือหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา > คลิก
- อบรมออนไลน์ หลักสูตรแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ > คลิก  
- เอกสาร แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ (2558) > คลิก 
- อบรมออนไลน์หลักสูตรการวิจัยในชั้นเรียน Classroom Action Research > คลิก 
- แบบทดสอบวัดความรู้ ICT Literacy ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (โรงเรียนสารคามพิทยาคม) > คลิก 
- DifferSheet เครื่องมือส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะการคิด เขียน อ่าน และ Soft Skills > คลิก
- หลักสูตรออนไลน์ทักษะดิจิทัล ที่เปิดร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือ > คลิก  

หลักสูตรฐานสมรรถนะ

 หลักสูตรฐานสมรรถนะ 

หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือหลักสูตรที่เน้นการวัดผลแบบสมรรถนะ   แทนการท่องจำเนื้อหา เพียงเพื่อนำมาสอบ       เดิมวัดผลจากการจำ ความรู้   แต่ฐานสมรรถนะวัดผลจากการนำความรู้มาใช้งาน  ที่นำมาใช้แทนที่หลักสูตรในปัจจุบัน

ฐานคิดของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรฐานสมรรถนะ)
     1. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล (Personalization) การเป็นเจ้าของการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 
     2. พัฒนาให้ผู้เรียนเกิดสุขภาวะ (Well-being) ทั้งในด้านสุขภาพ ความฉลาดรู้ สังคมและอารมณ์อย่างสมดุล รอบด้านและเป็นองค์รวม โดยยึดหลักความเสมอภาค
     3. พัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต การแก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และการสร้างประโยชน์ต่อสังคม
      4. พัฒนาผู้เรียนให้รู้เท่าทันและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาการ
ฐานคิดของหลักสูตร



        คำอธิบายแผนภาพ (ร่าง) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน​หลักสูตรกำหนดสมรรถนะหลัก (Core Competency) ไว้ 5 ประการ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาความสามารถที่จำเป็นของผู้เรียนต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบันและอนาคต ได้แก่
1. สมรรถนะการจัดการตนเอง
2. สมรรถนะการสื่อสาร
3. สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม
4. สมรรถนะการคิดขั้นสูง และ
5. สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง


        สมรรถนะทั้ง 5 ด้าน จะได้รับการพัฒนาผ่านขอบข่ายการเรียนรู้ (Learning Area) 5 ด้าน เพื่อบูรณาการหัวข้อการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาและแสดงความสามารถผ่านมุมมองต่าง ๆ ได้แก่
1. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านสุขภาวะกายและจิต
2. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม
3. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านโลกของงานและการประกอบอาชีพ
4. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ
5. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านสังคมและความเป็นมนุษย์

        ทั้งสมรรถนะและขอบข่ายการเรียนรู้ถูกออกแบบและพัฒนาบนรากฐานสุขภาวะ (WelL being Foundation) 4 ด้าน ซึ่งสถานศึกษาจะต้องสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อม และกลไกการบริหารสถานศึกษาให้เอื้อต่อการพัฒนา ได้แก่
1. รากฐานด้านสุขภาพกายและจิต
2. รากฐานด้านสังคมและ อารมณ์
3. รากฐานด้านความฉลาดรู้ (Literacy, Numeracy, Digital Literacy) 
4. รากฐานด้านคุณธรมและจริยธรรม

        การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะและรากฐานสำคัญ ผ่านขอบข่ายการเรียนรู้ เพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญ คือ มาตรฐานการศึกษาของชาติในรูปแบบผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ทางการศึกษา พ.ศ. 2561
ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
1. การเป็นผู้เรียนรู้
2. การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และ
3. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง



        รวม link การศึกษาฐานสมรรถนะ โดย รศ.ดร.ทิศนา แขมมณีและคณะ ในการการประชุมปฏิบัติการพัฒนาศึกษานิเทศก์ภายใต้โครงการจัดทำแนวทางการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติไปปรับใช้กับการจัดการศึกษาในสถานศึกษานำร่องให้เหมาะสมกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (ม.20(4)) วันที่ 3 - 4 กรกฎาคม 2563 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จ.เชียงใหม่  
EP1 การศึกษาฐานสมรรถนะ > คลิก
EP2 การศึกษาฐานสมรรถนะ คลิก  
EP3 การศษาฐานสมรรถนะ คลิก 
EP4 การศึกษาฐานสมรรถนะ คลิก  (ช่วงนาที 15.15 - 16.15 มีเหตุขัดข้องทำให้ภาพไม่นิ่ง)
EP5 การศึกษาฐานสมรรถนะ คลิก 
EP6 workshop กลุ่มโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย คลิก 
EP7 การขับเคลื่อนหลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย คลิก 
EP8 สมรรถนะมาตรฐานศึกษานิเทศก์ คลิก 
EP9 การศึกษาฐานสมรรถนะ สะท้อนผลการอบรม  คลิก 



ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
@ CBE Thailand > คลิก
เรียนรู้ฐานสมรรถนะ by Wiriya Eduzones > คลิก 
@ Inskru -พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน > คลิก 




โครงการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียน
ระดับประถมศึกษาตอนต้น
สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

        โครงการวิจัยดังกล่าว มีผลงานที่เป็นผลผลิต รวมทั้งสิ้น 2 ชุดดังนี้
1. รายงานผลการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นสำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน > คลิก
2. เอกสารประกอบ จำนวน 12 เล่ม ได้แก่
    เล่มที่ 1 ประมวลความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน > คลิก
    เล่มที่ 2 กระบวนการกำหนดสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.๑-๓) และวรรณคดีเกี่ยวข้องกับสมรรถนะ > คลิก
    เล่มที่ 3 การวิเคราะห์ความสอดคล้องของสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับหลักการสำคัญ ๖ ประการ > คลิก
    เล่มที่ 4 กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.๑-๓) > คลิก
    เล่มที่ 5 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน > คลิก
    เล่มที่ 6 คู่มือ การนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-3) ไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน คลิก
    เล่มที่ 7 ทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนยุคใหม่ > คลิก 
    เล่มที่ 8 สื่อ สิ่งพิมพ์ ประชาสัมพันธ์โครงการ คลิก
    เล่มที่ 9 รายงานแนวคิด แนวทาง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และพันธกิจ สำคัญในการปฏิรูปการศึกษา ผ่านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ (Competency-Based Curriculum and Instruction) คลิก
    เล่มที่ 10 บทสรุปรายงานแนวคิด แนวทาง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และพันธกิจสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา ผ่านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ Competency-Based Curriculum and Instruction) คลิก
    เล่มที่ 11 เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา > คลิก   ฉบับ e-Book > คลิก
    เล่มที่ 12 การปฏิรูปเพื่อการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก คลิก 

เอกสาร / บทความ
 ระดับสมรรถนะทั้งห้า Scales of Five Competencies > คลิก 
 ความก้าวหน้า การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) > คลิก 
 หลักสูตรฐานสมรรถนะกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ดร.เฉลิมชัย พันธ์เลิศ) > คลิก 
 หลักสูตรฐานสมรรถนะกับบทบาทของศึกษานิเทศก์แนวใหม่ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี > คลิก
 การประเมินสมรรถนะผู้เรียน (ดร.ชนาธิป ทุ้ยแป) คลิก 
 คู่มือการประเมินสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน: ป.6 > คลิก 
 คู่มือการประเมินสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน: ม.3 > คลิก 
 การประเมินสมรรถนะผู้เรียน (ดร.ชนาธิป ทุ้ยแป) > คลิก 
 คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง) > คลิก 
 Soft skill Assessment (รศ.ดร.ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง) > คลิก
 การเรียนการสอนที่เน้นสมรรถนะของผู้เรียน ทำอย่างไร ? (สุทัศน์ เอกา) > คลิก
 บทความ สมรรถนะผู้เรียน (ศน.รัชภูมิ สมสมัย) 
 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านหลักสูตรและการสอนด้านนวัตกรรมหลักสูตร (ดร.กรัณย์พล) > คลิก 
 หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพศึกษานิเทศก์และครูผู้สอนในการสร้างเครื่องมือประเมินสมรรถนะผู้เรียน > คลิก  
 แนวทางการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะหลักผ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ > คลิก 


เอกสาร / คู่มือการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพี้นฐานพุทธศักราช 2551

        การประเมินสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 5 ด้าน

        1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

        2. ความสามารถในการคิด เป็น ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตน เองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

        3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

        4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็น ความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้ อื่น

        5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม



 แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนสำหรับครูผู้สอนประเมินผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการประเมินสมรรถนะสำคัญของเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 > คลิก  
 แบบบันทึกคะแนนผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพี้นฐานพุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดาวน์โหลด 
 แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนสำหรับครูผู้สอนประเมินผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในการประเมินสมรรถนะสำคัญของเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดาวน์โหลด
 แบบบันทึกคะแนนผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพี้นฐานพุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดาวน์โหลด
 แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนสำหรับครูผู้สอนประเมินผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการประเมินสมรรถนะสำคัญของเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดาวน์โหลด 
 แบบบันทึกคะแนนผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพี้นฐานพุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ดาวน์โหลด
 แบบประเมินความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต/สมรรถนะของผู้เรียน (ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคม / ทักษะชีวิต : สมศ.) > คลิก
 รายงานการวิเคราะห์สมรรถนะและการปฏิบัติงานด้านการวัดและประเมินของครูในระดับศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีที่พิมพ์ 2560 > คลิก






Linkหลักสูตรฐานสมรรถนะ

Linkหลักสูตรฐานสมรรถนะ

สมรรถนะ สพป.นครปฐม เขต 2
https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/home/smrrthna

เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย

2.9.63

นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

เพื่อให้การดำเนินการจัดการศึกษาและการบริหารจัดการการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุเป้าหมาย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อให้ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ยึดเป็นกรอบการดำเนินงานในการจัดทำแผนและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการศึกษาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพในทุกมิติ โดยใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่า เพื่อมุ่งเป้าหมาย คือ ผู้เรียนทุกช่วงวัย ดังนี้

หลักการตามนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นดำเนินการภารกิจหลักตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนทุกแผนย่อยในประเด็น 12 การพัฒนาการเรียนรู้ และแผนย่อยที่ 3 ในประเด็น 11 ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และนโยบายรัฐบาลทั้งในส่วนนโยบายหลักด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย และนโยบายเร่งด่วน เรื่องการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นอื่น ๆ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561 – 2564) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2565) รวมทั้งนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดหวังว่าผู้เรียนทุกช่วงวัยจะได้รับการพัฒนาในทุกมิติ เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ และมีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ดังนั้น ในการเร่งรัดการทำงานภาพรวมกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคม และผลักดันให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพในทุกมิติ กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดนโยบายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนี้

ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการ โดยมุ่งปฏิรูปองค์การเพื่อหลอมรวมภารกิจและบุคลากร เช่น ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย ฯลฯ ที่สามารถลดการใช้ทรัพยากรทับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยทั้งการบริหารงานและการจัดการศึกษารองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัล
ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารทรัพยากร โดยมุ่งปฏิรูปกระบวนการวางแผนงาน/โครงการแบบร่วมมือและบูรณาการ ที่สามารถตอบโจทย์ของสังคมและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งกระบวนการจัดทำงบประมาณที่มีประสิทธิภาพและใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และนานาชาติ เชื่อมั่นและร่วมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากยิ่งขึ้น
ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการและพัฒนากำลังคนของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมุ่งบริหารจัดการอัตรากำลังให้สอดคล้องกับการปฏิรูปองค์การ รวมทั้งพัฒนาสมรรถนะและความรู้ความสามารถของบุคลากรภาครัฐ ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานรองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัล
ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ครอบคลุมถึงการจัดการศึกษาเพื่อคุณวุฒิ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
จุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

1. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

1.1 การจัดการศึกษาเพื่อคุณวุฒิ

จัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท โดยใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ รวมทั้งแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
ส่งเสริมการพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษา ตามความต้องการจำเป็นของกลุ่มเป้าหมายและแตกต่างหลากหลายตามบริบทของพื้นที่
พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากประสบการณ์จริงหรือจากสถานการณ์จำลองผ่านการลงมือปฏิบัติ ตลอดจนจัดการเรียนการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นเพื่อเปิดโลกทัศน์มุมมองร่วมกันของผู้เรียนและครูให้มากขึ้น
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้และทักษะชีวิต เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตและสร้างอาชีพ อาทิ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สุขภาวะและทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ
1.2 การเรียนรู้ตลอดชีวิต

จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย เน้นส่งเสริมและยกระดับทักษะภาษาอังกฤษ (English for All)
ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เข้าสู่สังคมสูงวัย อาทิ อาชีพที่เหมาะสมรองรับสังคมสูงวัย หลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต และหลักสูตรการดูแลผู้สูงวัย หลักสูตร BUDDY โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โรงเรียน และผู้เรียน หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์สินค้าออนไลน์ระดับตำบล
ส่งเสริมโอกาสการเข้าถึงการศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานทำ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพื้นที่พิเศษ (พื้นที่สูง พื้นที่ตามแนวตะเข็บ ชายแดน และพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล ทั้งกลุ่มชนต่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบ และแรงงานต่างด้าว)
พัฒนาครูให้มีทักษะ ความรู้ และความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผลเป็นขั้นตอน
พัฒนาครูอาชีวศึกษาที่มีความรู้และความสามารถในทางปฏิบัติ (Hands – on Experience) เพื่อให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญทางวิชาการ โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศจัดหลักสูตรการพัฒนาแบบเข้มข้นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี
พัฒนาสมรรถนะและความรู้ความสามารถของบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานรองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีศูนย์พัฒนาสมรรถนะบุคลากรระดับจังหวัดทั่วประเทศ
2. การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคง

พัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักในการดำเนินการ
เฝ้าระวังภัยทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และสถานศึกษา โดยเฉพาะภัยจากยาเสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์
ส่งเสริมให้ใช้ภาษาท้องถิ่นร่วมกับภาษาไทย เป็นสื่อจัดการเรียนการสอนในพื้นที่ที่ใช้ภาษาอย่างหลากหลาย เพื่อวางรากฐานให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งมีทักษะการสื่อสารและใช้ภาษาที่สามในการต่อยอดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือ และยุวกาชาด
3. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน

สนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาผลิตกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ ตามความเป็นเลิศของแต่ละสถานศึกษาและตามบริบทของพื้นที่ รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต
สนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ และจัดการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือปฏิบัติที่ทันสมัยและสอดคล้องกับเทคโนโลยี โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ
4. การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้
ศึกษาและปรับปรุงอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัวในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ระดมสรรพกำลังเพื่อส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้สอดคล้องพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562
5. การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเป็นอาชีพ และสร้างรายได้
6. การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ

ปฏิรูปองค์การเพื่อลดความทับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพของหน่วยงานที่มีภารกิจใกล้เคียงกัน เช่น ด้านประชาสัมพันธ์ ด้านต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย เป็นต้น
ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนและประชาชน ตลอดจนกระทรวงศึกษาธิการโดยรวม
สนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการศึกษา (Big Data)
พัฒนาระบบการบริหารจัดการและพัฒนากำลังคนของกระทรวงศึกษาธิการ ให้สอดคล้องกับการปฏิรูปองค์การ
สนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สามารถบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ
จัดตั้งหน่วยงานวางแผนทางการเงิน (Financial Plan) ระดับจังหวัด เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ
ส่งเสริมโครงการ 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ โดยเน้นปรับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบริเวณโรงเรียนให้เอื้อต่อการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ
การขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติ

ให้ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ นำนโยบายและจุดเน้น เป็นกรอบแนวทางมาใช้ในการวางแผนและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยคำนึงถึงมาตรการ 4 ข้อ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้แนวทางในการบริหารงบประมาณไว้ ดังนี้ (1) งดดูงานต่างประเทศ 1 ปี ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อกระทรวงศึกษาธิการ (2) ลดการจัดอบรมสัมมนาที่มีขนาดใหญ่และใช้งบประมาณมาก (3) ยกเลิกการจัดงาน Event และ (4) ทบทวนงบประมาณที่มีความซ้ำซ้อน
ให้มีคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และรายงานการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ โดยให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน สำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป. เป็นฝ่ายเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการตามลำดับ โดยมีบทบาทภารกิจในการตรวจราชการ ติดตาม ประเมินผลในระดับนโยบาย และจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ทราบตามลำดับ
กรณีมีปัญหาในเชิงพื้นที่หรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ให้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและดำเนินการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ก่อน โดยใช้ภาคีเครือข่ายในการแก้ไขข้อขัดข้อง พร้อมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการติดตามฯ ข้างต้น ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตามลำดับ
อนึ่ง สำหรับภารกิจของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่ปฏิบัติในลักษณะงานในเชิงหน้าที่ (Function) งานในเชิงยุทธศาสตร์ (Agenda) และงานในเชิงพื้นที่ (Area) ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ก่อนเมื่อรัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสำคัญเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นอกเหนือจากที่กำหนด หากมีความสอดคล้องกับหลักการนโยบายและจุดเน้นข้างต้น ให้ถือเป็นหน้าที่ของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบให้การดำเนินการเกิดผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรมด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่  27  ธันวาคม  พ.ศ. 2562
นายณัฏฐพล  ทีปสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ที่มา :: https://moe360.blog/

27.8.63

ฐานโยคะ

ฐานโยคะ
คุณค่าของการเรียนรู้โยคะ
   1. เพื่อสร้างสมดุลเป็นการเหยียดร่างกายแล้วนิ่ง สร้างสมาธิผ่านฐานกาย  ทําให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สบาย การคง อยู่บนฐานที่มั่นคง 
   2. ให้ร่างกายมีความสมดุล ทั้งระบบไหลเวียนโลหิต ระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อและระบบทางเดินหายใจ
   3. ช่วยเสริมสร้างสมรรถนะความแข็งแรงของระบบหัวใจที่รวมไปถึงระบบทางเดินหายใจ ปอด และการไหลเวียนโลหิต
   4. โยคะช่วยการทำงานของสมอง เนื่องจากมีส่วนช่วยควบคุมการไหลเวียนของเลือด และระดับออกซิเจนไปยังสมองโดยตรง
   5. การฝึกโยคะได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ร่างกายดูดี กล้ามเนื้อกระชับ มีความยืดหยุ่นแข็งแรง














ภาพประกอบ : https://photos.app.goo.gl/9keChA4Dw72yBVD36

21.8.63

ครูมืออาชีพ

การจัดการเรียนรู้โดยครูมืออาชีพ



        พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มีสาระสำคัญที่มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรมและมีวัฒนธรรมที่ดีในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ


        ดังนั้น ในการจัดการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องจัดให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและพัฒนาการของผู้เรียน เน้นฝึกทักษะกระบวนการคิด การเผชิญสถานการณ์ การประยุกต์ความรู้เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้การปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสังคม การจัดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพื่อมุ่งประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข ครู การเรียนการสอนที่ดีนั้นควรมีความเป็นพลวัตร คือ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ รูปแบบเทคนิค วิธีการ เป็นต้นในฐานะผู้รับผิดชอบหลักในการจัดการเรียนรู้ควรคำนึงถึงประเด็น
ดังนี้

            ๑. ครูควรศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ถ่องแท้

            ๒. ครูควรวางแผนการเรียนรู้อย่างมีระบบและลำดับขั้นอย่างชัดเจน

            ๓. ครูควรเลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

            ๔. ครูควรใช้หลักจิตวิทยาแรงจูงใจให้ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพสูงสุด

            ๕. ครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และสนุกสนาน

            ๖. ครูควรมีการประเมินการจัดการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน

        ประเด็นที่ ๑ ครูมีหน้าที่ในการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีความเข้าใจอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากหลักสูตรนั้นเปรียบเสมือนแสงเทียนนำทางสำหรับครูในการจัดการเรียนรู้ ในหลักสูตรแกนกลางฉบับปัจจุบันนั้นประกอบไปด้วยรายละเอียดที่มีความจำเป็นและสำคัญ อาทิ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะที่สำคัญ เป็นต้น การที่ครูเข้าใจและรู้รายละเอียดดังกล่าวทั้งหมดอย่างเข้าใจจะส่งผลให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้ให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่หลักสูตรวางไว้ได้และการจัดการเรียนรู้นั้นจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม

        ประเด็นที่ ๒ ครูควรวางแผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีระบบและลำดับขั้นอย่างชัดเจน ดร.สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา ได้กล่าวไว้ในหนังสือการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ว่า ครูที่ดีต้องมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องมีการนำไปปฏิบัติ การปฏิบัติที่ดีต้องเป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่วางไว้ ซึ่งสามารถเข้าใจได้ว่า การวางแผนการจัดการเรียนรู้นั้นถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในบรรดากระบวนการทั้งหมด ครูจำเป็นต้องลำดับขั้นให้ชัดเจนว่าจะสอนอะไรก่อน สอนอะไรหลัง แต่ถึงกระนั้นแผนการจัดการเรียนรู้ควรมีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาสและสถานการณ์จริง ครูจึงควรมีความมั่นใจที่จะเผชิญกับสถานการณ์ในชั้นเรียนได้ทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นนอกเหนือความคาดหวังและแผนการจัดการเรียนรู้ที่เตรียมไว้ การปรับแผนนั้นก็เพื่อให้มีความเหมาะสม เนื่องจากวิธีการที่แตกต่างนั้นอาจช่วยให้นักเรียนบางคนสามารถเรียนรู้และเข้าใจในเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น นอกจากประเด็นข้างต้น สิ่งที่ครูต้องคำนึง คือเรื่องของเนื้อหาที่เตรียมมาในแต่ละครั้งของแผนการจัดการเรียนรู้ ต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับเวลา มีความต่อเนื่อง เป็นเอกภาพไปตลอดเวลาของการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนต้องสามารถปฏิบัติกิจกรรมในแผนนั้นได้อย่างครบถ้วน หากครูผู้สอนใช้เนื้อหามาก แต่เวลาน้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กัน นักเรียนจะเรียนแบบหนักและไม่ได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองเท่าที่ควร จึงอาจส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเป้าประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ 

        ประเด็นที่ ๓ ครูควรเลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่แปลกใหม่และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นครูควรใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไปในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งและควรสอนให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ในชั้นเรียนกับชีวิตประจำวันเข้าด้วยกันได้อย่างสมดุล และฝึกให้นักเรียนพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทุกรูปแบบ ตามแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของ ดร.วิชัย ตันศิริ กล่าวไว้ว่า กระบวนการเรียนการสอน ควรมุ่งเน้นการแสดงความคิด การฝึกให้ผู้เรียนได้มองกว้างและมองไกล มีความเข้าใจในระดับมหัพภาคและสามารถวิเคราะห์แยกแยะได้ในระดับจุลภาค ยิ่งไปกว่านั้นครูให้ผู้เรียนเข้าใจว่าความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในเฉพาะหนังสือหรือในชั้นเรียนเพียงเท่านั้น

        ประเด็นที่ ๔ ครูควรใช้หลักจิตวิทยาแรงจูงใจให้เป็นและมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากแรงจูงใจนั้นจะนำไปสู่กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน สิ่งที่ครูจะต้องทำในฐานะผู้นำแนวทางการเรียนการสอน คือ การกระตุ้นให้เด็กๆรู้สึกถึงความต้องการของตน เพราะความต้องการจะนำให้นักเรียนนั้นสนใจและใส่ใจกับบทเรียน จึงสามารถกล่าวได้ว่าแรงจูงใจที่เหมาะสมจึงเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ การสร้างแรงจูงใจในการเรียนที่ดีอีกวิธีการหนึ่งคือ อารมณ์ขัน ในชั้นเรียนนั้นครูควรเล่าเรื่องตลกให้นักเรียนฟังบ้าง การมีอารมณ์ขันจะช่วยทลายกำแพงระหว่างครูกับนักเรียนได้และเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่ดีอีกด้วย

        ประเด็นที่ ๕ ครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศทางกายภาพ (Physical Atmosphere)และบรรยากาศทางจิตวิทยา (Psychological Atmosphere) ซึ่งบรรยากาศทางกายภาพ คือ การจัดสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในห้องเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสะอาด น่าอยู่ มีสื่อการเรียนรู้ที่ครบครัน พร้อมที่จะส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน การอาศัยความร่วมมือในการสร้างบรรยากาศทางกายภาพจากผู้เรียนถือเป็นอีกหนทางหนึ่งในการทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบและต้องการจะอยู่ในชั้นเรียนเพราะเขานั้นได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์รูปแบบของชั้นเรียนของเขาเอง ด้านบรรยากาศทางจิตวิทยา คือ บรรยากาศทางด้านจิตใจที่นักเรียนรู้สึกอบอุ่น มีความสบายใจ มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน มีความเป็นกันเอง สำหรับการสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองในชั้นเรียนระหว่างครูและนักเรียนนั้นครูควรทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมการสอน

        ประเด็นที่ ๖ ครูควรมีการประเมินการจัดการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน ซึ่งการประเมินผลนั้นถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของ การจัดการเรียนรู้ รายละเอียดในการประเมินต้องมีให้ครบทุกปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นการประเมินตัวครู การประเมินตัวนักเรียน การประเมินสื่อสำหรับการจัดการเรียนรู้ การประเมินทั้งสามประการนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากส่งผลโดยตรงต่อการจัดการเรียนรู้และพัฒนาการทุกด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านสติปัญญา พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านร่างกายและพัฒนาการด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน

    สิ่งที่ครูต้องประเมินตนเองนั้นควรประกอบไปด้วยการประเมินวิธี ขั้นตอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้เพราะตัวครูนั้นอาจสอนไม่ชัดเจน ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และอาจขาดความต่อเนื่องของเนื้อหา นอกจากนี้ครูอาจขาดความชำนาญในการสอน ไม่มีความสามารถในการโน้มน้าวความสนใจของนักเรียนให้มีต่อบทเรียนได้ รวมไปถึงครูต้องประเมินความสามารถในการจัดชั้นเรียน การควบคุมชั้นเรียนเพราะครูอาจยังไม่เข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียนเท่าที่ควร

    สำหรับการประเมินนักเรียน ครูควรประเมินตั้งแต่ความรู้พื้นฐานที่นักเรียนแต่ละคนมี เนื่องด้วยนักเรียนทุกคนนั้นมีความสามารถในด้านต่างๆแตกต่างกัน ครูอาจต้องช่วยนักเรียนปรับพื้นฐานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มเพื่อให้เกิดความใกล้เคียง การประเมินนักเรียนจะทำให้ครูรู้ปัญหาการเรียน

    ประเด็นที่สำคัญที่สุดในเรื่องการประเมินคือการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อดูพัฒนาการของนักเรียนและวัดว่านักเรียนได้รับอะไรบ้างจากการเรียนรู้ในสิ่งที่ครูจัดให้การประเมินสื่อสำหรับการจัดการเรียนรู้ เป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากสื่อการเรียนรู้นั้นต้องสามารถสื่อสารหรือเป็นสะพานเชื่อมระหว่างครูผู้สอนและนักเรียนในการส่งผ่านความรู้จากครูผู้สอนไปยังนักเรียนได้จริงๆ


ยุพิน พิพิธกุล และ อรพรรณ ตันบรรจง (๒๕๓๕ : ๑๖-๑๗)ได้กล่าวถึง


ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน ดังนี้

        ๑. สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

        ๒. ช่วยในการสอนนักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน เช่น นักเรียนบางคนซึ่งเรียนอ่อน อาจจะต้องใช้รูปภาพ สื่อรูปธรรม หรือชุดการเรียนการสอนรายบุคคล ช่วยให้เขาบรรลุจุดประสงค์ในการเรียน

        ๓. ช่วยสร้างเสริมความสนใจของนักเรียน

        ๔. ประหยัดเวลาในการสอน บางคนกล่าวว่าทำให้เสียเวลาความจริงนั้นไม่เสียเวลาเลย คนที่ว่าเสียเวลาเพราะใช้สื่อการเรียนการสอนไม่เป็น

        ๕. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะนำไปสู่นามธรรมและทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำได้นาน

        ๖. ใช้สื่อการสอนนั้นเพื่อช่วยในการอธิบายขยายข้อความและสรุปข้อความได้

        ๗. เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียน

        ๘. เพื่อเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

กล่าวโดยสรุปหน้าที่ที่พึงกระทำสำหรับครู มีดังนี้

        ๑. ครูควรศึกษาหลักสูตรแกนกลาง เพื่อรู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนต้องสอนอย่างชัดเจน

        ๒. ครูควรวางแผนการเรียนรู้ เพื่อความราบรื่นในการจัดการเรียนรู้

        ๓. ครูควรเลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างครบถ้วนทุกคนและมีบทบาทในจัดการเรียนรู้ของตนเองเพื่อสร้างความเข้าใจในบทเรียนที่ยาวนาน

        ๔. ครูควรใช้หลักจิตวิทยาแรงจูงใจให้ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อดึงความสนใจของนักเรียนให้อยู่กับบทเรียนเพื่อการเรียนที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

        ๕. ครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และสนุกสนาน เพื่อทำให้นักเรียนรู้สึกถึงความสนุกสนานและความสุขในการได้เข้าร่วมในชั้นเรียน

        ๖. ครูควรมีการประเมินการจัดการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน เป็นการตรวจสอบตนเอง นักเรียน สื่อ กระบวนการเพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไปในภายภาคหน้า

    หากครูปฏิบัติได้ตามหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น รากฐานที่มั่นคงแข็งแรงนั้นจะบังเกิดแก่นักเรียนทุกคนและเขาเหล่านั้นจะเป็นกำลังของชาติที่ดีได้ต่อไปในอนาคต


ที่มา : ธเนศ เจริญทรัพย์. (๒๕๕๗). การจัดการเรียนรู้โดยครูมืออาชีพ. สืบค้นเมื่อ
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘. จากhttp://www.stou.ac.th/study/sumrit/6-57%28500%29/page6-5-57%28500%29.html