โรงเรียนหหุปัญญามาตรฐานสากล
โรงเรียนมาตรฐานสากล (World - class standard school)
โรงเรียนมาตรฐานสากล หมายถึงโรงเรียนที่พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพและความสามารถทัดเทียมกับผู้เรียนนานาประเทศมีความเป็นพลโลก พัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากล และบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ
การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนมาตรฐานสากลจะบังเกิดผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น หน่วยงานต้นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดด้านผู้เรียน ซึ่งจะสามารถสะท้อนความสำเร็จสุดท้ายและเป็นเข็มทิศนำทางให้โรงเรียนได้พัฒนาตนเองตามบริบทและศักยภาพแบบยั่งยืน
เป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนมาตรฐานสากล
เป้าหมายด้านการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล มีทั้งหมด 5 เป้าหมาย
เป็นเลิศทางวิชาการ
สื่อสารสองภาษา
ล้ำหน้าทางความคิด
ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์
ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก
เป้าหมายข้อ 1 เป็นเลิศทางวิชาการ : หมายถึงนักเรียนโรงเรียนมาตรฐานสากลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูง
เป้าหมายข้อ 2 สื่อสารสองภาษา : หมายถึงนักเรียนโรงเรียนมาตรฐานสากล มีทักษะและความสามารถด้านภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษสูง ในระดับเดียวกับนักเรียนของประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาสูงทั้งเพื่อการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อการติดต่อสื่อสาร เพื่อการนำเสนอผลงาน เพื่อการโต้แย้งให้เหตุผล และเพื่อการเจรจาความร่วมมือ ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน และนักเรียนโรงเรียนมาตรฐานสากล มีความสนใจเรียนวิชาภาษาต่างประเทศภาษาที่สองเพิ่มมากขึ้น
เป้าหมายข้อ 3 ล้ำหน้าทางความคิด : หมายถึงนักเรียนโรงเรียนมาตรฐานสากลมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking) มีความคิดอย่างวิทยาศาสตร์ (Scientific Thinking) และมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) รวมถึงมีทักษะความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (Analytical thinking) ในการแก้ปัญหาและในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้สูงในระดับเดียวกับนักเรียนของประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาสูง
เป้าหมายข้อ 4 ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ : หมายถึงนักเรียนโรงเรียนมาตรฐานสากลมีทักษะความ สามารถในการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง (Independent Study) และมีความสามารถในผลิตผลงานด้านต่างๆ ด้วยตนเองอย่างมีคุณภาพสูง
เป้าหมายข้อ 5 ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก : หมายถึงนักเรียนโรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะ มีสำนึกในการบริการสังคม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีจิตสำนึกในการส่งเสริม พิทักษ์ และปกป้องสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม และสถานะภาพทาง เศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียนอยู่ในระดับสูง
เรียบเรียงและจัดทำโดย นายวีระชัย จันทร์สุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น