K U S A
หน่วยงานหรือองค์กรส่วนใหญ่ถ้ามีผู้นำหรือผู้บริหาร มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติที่ดี
ในงานที่ทำ มีมุมมองวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจน กล้าที่จะตัดสินใจ ตัดสินคน ตัดสินงาน กล้าที่จะบอกถูกหรือผิดในเรื่องงาน และเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน การปฏิบัติตน จะทำให้องค์กรหน่วยงานขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงได้ (ประสิทธิภาพสูงเป็นเลิศ High Performance)
ผู้นำองค์กรมีสำคัญ ถ้าหน่วยงานไหนมีผู้นำที่มีกลยุทธ์ มีความพึงพอใจในงาน มีความเพียรพยายาม มีมุ่งมั่นในงาน มั่นทบทวนคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว หน่วยงานนั้นมักจะประสบผลสำเร็จ
มีผู้นำที่เก่ง ผู้นำเก่งคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินผล สะท้อนผลการทำงานและร่วมรับความชื่นชม ยินดีในการทำงานร่วมกัน กลยุทธ์หนึงที่ผู้นำ นำมาใช้กลยุทธ์ในการเลือกใช้คน เลือกใช้คนให้เหมาะสม คนมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติที่ดี เหมือนคำที่เราคุ้นเคย "Put the rit man on the right job" ผู้นำที่เลือกคนทำงานได้ถูกต้อง เหมาะสม งานที่ออมาก็คุณภาพ มีประสิทธิภาพและเป็นเลิศได้
ปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มให้ความสำคัญกับการเพิ่มและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร แนวทางหนึ่งที่เราจะพัฒนาสร้างสรรคและเพิ่มประสิทธิภาพงานในองค์กรได้นั้น ต้องอาศัยคนในองค์กร เกิดจากคนในองค์กร เป็นคนที่มีความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Understanding) ทักษะ(Skill) และทัศนคติที่ดี (Attitude) หรือที่เรารู้จักกันในนาม KUSA
KUSA คืออะไร
เทคนิคกลยุทธ์การพัฒนาคนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง
"ผู้นำมีคุณภาพ คนในองค์กรมีคุณภาพ งานที่ออกมาก็มีคุณภาพ"
"ผู้อำนวยการโรงเรียนมีคุณภาพ รองผู้อำนวยการโรงเรียนมีคุณภาพ หัวหน้างาน/ฝ่ายมีคุณภาพ ครูบุคลากรในโรงเรียนมีคุณภาพ งานผลผลิตที่อกมานักเรียนก็มีคุณภาพตาม"
KUSA สามารถจำแนกออกแยกย่อยในการเรียนรู้หรือแสดงให้เห็นชัดเจนขึ้นดังนี้
K – Knowledge – ความรู้
1.เน้นด้านการจัดการความรู้ภายในองค์กร (Knowledge Management: KM)
2.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing)
3.เอกสาร ตำรา ต่างๆ (Archives)
4.สื่อต่างๆ รวมถึง Internet และ E-mail ด้วย (IT)
2.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing)
3.เอกสาร ตำรา ต่างๆ (Archives)
4.สื่อต่างๆ รวมถึง Internet และ E-mail ด้วย (IT)
U – Understanding – ความเข้าใจ
1.การทดสอบ (Test)
2.การสัมภาษณ์ (Interview)
3.การสร้างสถานการณ์หรือเหตุการณ์จริง (Situation)
4.กรณีศึกษา (Case Study)
2.การสัมภาษณ์ (Interview)
3.การสร้างสถานการณ์หรือเหตุการณ์จริง (Situation)
4.กรณีศึกษา (Case Study)
S – Skill – ทักษะ
1.การฝึกฝนปฏิบัติ (Practice)
2.การแนะนำ สอนงาน (Coaching)
3.การเป็นพี่เลี้ยง (Mentor)
4.การกระทำซ้ำๆ (Reaction)
2.การแนะนำ สอนงาน (Coaching)
3.การเป็นพี่เลี้ยง (Mentor)
4.การกระทำซ้ำๆ (Reaction)
A – Attitude – ทัศนคติ
1.การพูดคุย (Dialogue)
2.การจูงใจ สร้างพลังใจ (Motivation)
3.การยกย่อง ชมเชย ให้กำลังใจ (Cheer Up)
4.HR แสดงบทบาทให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ (Self Esteem)
2.การจูงใจ สร้างพลังใจ (Motivation)
3.การยกย่อง ชมเชย ให้กำลังใจ (Cheer Up)
4.HR แสดงบทบาทให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ (Self Esteem)
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการพัฒนาศักยภาพคน ขีดความสามารถคนโดยใช้ KUSA เป็นการเริ่มต้นพัฒนาขีดความสามารถรายบุคคล (Individual Competency) พื่อให้คนไปร่วมทำงานร่วมกันในองค์กร ที่เราเรียกว่าTeamwork ถ้าองค์กรไหนคนในองค์กรทำงานเ็น Teamwork แล้วองค์กรนั้นก็จะกลายเป็น องค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นเลิศได้ High Performance
Moral คือ การเป็นคนดีมีศีลธรรม คุณธรรมและจริยธรรม
โดย นายวีระชัย จันทร์สุข
แหล่งอ้างอิง
https://www.gotoknow.org/posts/463125
http://theppaveevith.blogspot.com/
http://oknation.nationtv.tv/blog/sekyicy/2008/08/24/entry-1
http://oknation.nationtv.tv/blog/pattman/2009/10/01/entry-2
https://www.gotoknow.org/posts/682286
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น