ศึกษาเรียนรู้

PLC AAR

PLC ( Professional Learning Community )
     ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หมายถึง การรวมตัว รวมใจ ร่วมพลัง ร่วมทำ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา




 PLC การดำเนินการกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา ครูสามารถนำกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  ไปสู่การปฏิบัติมีขั้นตอนในการดำเนินการ ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ
1. ด้านการบริหารจัดการกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในสถานศึกษาประกอบด้วย
    1) แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สถานศึกษา
    2) ประชุมคณะกรรมการกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน
    3) สร้างความรู้ความเข้าใจ
    4) ส่งเสริมสนับสนุน กำกับติดตาม และรายงานผล

2. ด้านการดำเนินการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของครูในสถานศึกษา ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
    1) การรวมกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
    2) วิเคราะห์และระบุปัญหา /สิ่งที่ต้องการพัฒนา
    3) ออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ /กิจกรรม /นวัตกรรม
    4) วิพากษ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปรับปรุงแก้ไข
    5) จัดการเรียนรู้ /กิจกรรม /นวัตกรรม
    6) ประเมินผล/ สะท้อนการจัดการเรียนรู้ /กิจกรรม /นวัตกรรม
    7) สรุปเผยแพร่แผนการจัดการเรียนรู้ /กิจกรรม /นวัตกรรม
           
            กระบวนการในแต่ละขั้นตอนต้องดำเนินการบันทึกการดำเนินการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพตั้งแต่ขั้นที่ 1 – 7 ซึ่งสามารถใช้แบบบันทึกกิจกรรม หรือสามารถออกแบบการบันทึกได้เอง เพื่อให้มีหลักฐานตรวจสอบได้ อาจนำเสนอทาง Google Classroom Line หรือ Facebook เอกสารหลักฐาน หรือรูปแบบอื่นๆ พร้อมทั้งบันทึกในระบบที่กำหนดเพื่อนำไปเชื่อมโยงกับการจัดทำ หลักฐานในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะการดำเนินการแต่ละขั้นตอนตามกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
            การดำเนินการกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครูในสถานศึกษาสามารถสรุปเป็นแผนภาพขั้นตอนได้ดังนี้


แหล่งอ้างอิง 


AAR (After Action Review)  
        เป็นกระบวนการทบทวนขั้นตอนการทำงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ   เป็นการทบทวนวิธีการทำงานทั้งด้านความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้่น      ทั้งนี้ AARไม่ใช่เพื่อค้นหาคนที่ทำงานผิดพลาด ไม่ใช่การกล่าวโทษใครทั้งสิ้น แต่เป็นการทบทวนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดขึ้นอีก ในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งวิธีการที่ดีอยู่แล้ว   สิ่งที่สำคัญคือการได้ฝึกการทำงานเป็นทีมมีการปรับตัวในการแข่งขันตลอดเวลาเพื่อความอยู่รอดขององค์กร 
     
จุดเด่นของ AAR มีอะไรบ้าง
     1.ทำให้เรียนรู้ว่าในการทำงานต่างๆ ไม่ควรชื่นชมความสำเร็จแต่เพียงด้านเดียว ต้องยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย และควรให้ความสนใจมากกว่าความสำเร็จด้วยซ้ำ เพราะ ปัญหาคือโอกาสในการพัฒนาคนเพื่อพัฒนางานนั่นเอง
     2.ฝึกการรับฟังความคิดเห็นหรือคำแนะนำของเพื่อนร่วมงาน ที่อาจทำให้คุณได้รู้ว่า "ทุกปัญหามีทางออก" นั้นเป็นอย่างไร
     3. ฝึกการทำงานเป็นทีม
     4. สามารถใช้เทคนิคนี้กับงานทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นงานประจำที่ดูเหมือนว่าไม่สำคัญ  ไปจนถึงโครงการระยะยาว
     5. ผู้ที่เข้าร่วมคือเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมแผนก หรือทีมงาน


     วิธีการในการทำ AAR ก็ไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างใด
4 คำถามกับ AAR คือ
     1. สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการทำงานคืออะไร
     2. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร
     3. ทำไมจึงแตกต่าง
     4. สิ่งที่ได้เรียนรู้และวิธีการลด/แก้ความแตกต่างคืออะไร


7 ขั้นตอนกับ AAR คือ
     1. ควรทำ AAR ทันทีหรือเร็วที่สุดหลังจากจบงานนั้นๆ
     2. ไม่มีการกล่าวโทษ ซ้ำเติม ตอกย้ำซึ่งกันและกัน ไม่มีความเป็นเจ้านายหรือลูกน้อง มีแต่บรรยากาศที่เป็นกันเอง
     3. มี "คุณอำนวย" คอยอำนวยความสะดวก กระตุ้น ตั้งคำถามให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของตน
     4. ถามตัวคุณเองว่าผลที่คาดว่าควรได้รับคืออะไร
     5. หันกลับมาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร
     6. ความแตกต่างคืออะไร ทำไมจึงแตกต่าง
     7. จดบันทึก เพื่อเตือนความจำว่า วิธีการใดบ้างที่คุณได้เคยนำมาแก้ปัญหาแล้ว 

        อย่างไรก็ตามคุณต้องเข้าใจว่า คำตอบหรือวิธีแก้ปัญหาที่ได้จากการทำ AAR คงไม่ใช่คำตอบสุดท้่ายสำหรับงานของคุณ เพราะ เมื่อเวลาเปลี่ยนไป บริบทเปลี่ยนไป ย่อมทำให้เกิดปัญหาใหม่ได้ตลอดเวลา ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย.............

Google Photo

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น