ศึกษาเรียนรู้

คุณธรรมผู้บริหาร

คุณธรรมผู้บริหาร
ผู้บริหาร เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาคนให้เป็นผู้นำที่ดี
ผู้นำ เป็นแบบอย่างที่ดี  "แบบอย่างที่ดีมาค่ามากกว่าคำสอน"
ผู้นำ เป็นผู้ครอง   "การครองตน ครองคน ครองงาน"
ผู้นำ เป็นผู้ดำเนินชีวิตตามปกติหลักศีล 5 (สัตว์ ขโมย กาม โกหก สุรา)
ผู้นำ เป็นมีหลักของพรม  พรมวิหาร 4  (เมตตา กรุณา มุทิตา  อุเบกขา)
ผู้นำ เป็นสัตบุรุษธรรมคนดี  สัปปุริสธรรม7 (เหตุ ผล ตน ประมาณ กาล บุคคล ชุมชน)
ผู้นำ เป็นผู้รู้ เข้าใจ และตระหนัก มุ่งมั่นเดินทางสู่ความสำเร็จ  อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา)

 หลักของ "รู้ 7 ประการ แห่งการครองชีวิต"


























อิทธิบาท 4
         อิทธิบาท 4 อันประกอบด้วยแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นแนวทางสำหรับการใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในการทำงาน หากสามารถเชื่อมโยงกระบวนการทั้ง 4 ข้อได้ ผลสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
     1.ฉันทะ | การมีใจรัก ศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ทำ
หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า  Where there is the will, there is the way.  ที่ใดมีความปรารถนาอันแรงกล้า ที่นั่นย่อมมีหนทางเสมอ การสร้างฉันทะ เราต้องเลือกที่จะศรัทธาบางอย่าง ที่สำคัญคือต้องหมั่นตรวจสอบศรัทธานั้น ว่าดีต่อตัวเองและต่อผู้อื่นหรือไม่  หากดีทั้งสองอย่างจึงมุ่งมั่นทำด้วยความตั้งใจ การทำงานด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาที่ดี ย่อมเกิดผลสำเร็จที่ดีทั้งต่อตนเอง และสังคม

      2.วิริยะ | ความเพียร ความมุ่งมั่นทุ่มเท 
หมายถึงความเพียรพยายามอย่างสูง ที่จะทำตามฉันทะหรือศรัทธาของตัวเอง หากเราไม่มีความเพียร อาจอนุมานได้ว่าเรามีฉันทะหลอกๆ หรือศรัทธาหลอกๆ ทั้งโกหกตัวเองและหลอกผู้อื่น
วิริยะนี้มาคู่กับความอดทนอดกลั้น เป็นความรู้สึกไม่ย่อท้อต่อปัญหาและมีความหวังที่จะเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง โดยมีศรัทธาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ นำใจ และเตือนใจ ความวิริยะอุสาหะ จึงเป็นวิถีทางของบุคคลที่กล้าท้าทายต่ออุปสรรคทั้งปวง เพื่อเป้าหมายคือ ความสำเร็จนั่นเอง

     3.จิตตะ | ใจที่จดจ่อและรับผิดชอบ
เมื่อมีใจที่จดจ่อแล้วก็จะเกิดความรอบคอบตาม คำนี้สำคัญมากในปัจจุบัน เพราะสังคมซับซ้อน มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทำให้บางคนไม่รู้จะทำอะไรก่อน ไม่สามารถมีจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ผลคือ ทำอะไรก็ไม่ดีสักอย่าง ทำผิดๆ ถูกๆ อยู่อย่างนั้น
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ความรับผิดชอบ เมื่อกระทำการสิ่งใดด้วยจิตจดจ่อแล้ว ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำด้วย จึงเรียกว่าเป็นผลสำเร็จดีงามตามแบบอย่างของคุณธรรม ตามหลักศาสนาและจริยธรรมของสังคม

      4.วิมังสา | การทบทวนในสิ่งที่ได้คิดได้ทำมา
สิ่งที่ทำอันเกิดจากการมีใจรัก (ฉันทะ) แล้วทำด้วยความมุ่งมั่น (วิริยะ) อย่างใจจดใจจ่อและรับผิดชอบ (จิตตะ) โดยใช้วิจารณญาณอย่างรอบรู้และรอบคอบ จะต้องมีกระบวนการสุดท้ายคือ การทบทวนตัวเอง และองค์กร ว่าสิ่งที่ได้คิดได้ทำเกิดผลดีผลเสียอย่างไร ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเราเองและเป็นเรื่องที่ร่วมคิดร่วมทำกับคนอื่น เพื่อปรับปรุงปรับแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

โดยนายวีระชัย   จันทร์สุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น