ศึกษาเรียนรู้

2.7.66

การบริหารเจ้านาย

 การบริหารเจ้านาย (Managing your boss) 

ในระยะหลัง ๆ เราไม่ค่อยได้ยินคำว่าการบริหารเจ้านาย (Managing your boss) กันมากนัก เพราะด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทำให้เราต้องหันไปสนใจเรื่องของการทำอย่างไรให้องค์กรอยู่รอดให้ได้ในสถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ดี ถ้าเราต้องการที่จะทำงานอย่างได้ผล และมีประสิทธิภาพมาก นอกจากผู้จัดการที่ต้องทำหน้าที่บริการจัดการลูกน้องของตนเองแล้ว ตัวลูกน้องเอง ก็ต้องทำหน้าที่ในการบริหารเจ้านายของตนเองด้วยเช่นกัน

หลายคนที่ไม่เคยได้ยินคำนี้ก็อาจจะไม่เข้าใจว่า ลูกน้องจะไปบริหารเจ้านายได้อย่างไร คำตอบก็คือ บริหารได้ครับ การบริหารเจ้านายไม่ได้แปลว่า เราจะไปสั่งการหัวหน้าของเราให้ทำนั่น นี่ โน่น นะครับ แต่เป็นการบริหารจัดการความเข้าใจระหว่างกัน การบริหารความสัมพันธ์ในการทำงานระหว่างกันมากกว่า

ปกติแล้วลูกน้องที่บริหารเจ้านายได้ดี จะมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันในการทำงาน ทำงานเข้าขากันได้ดี สามารถดึงเอาจุดแข็งของนายมาใช้ และอุดจุดอ่อนของนายได้ด้วยการใช้จุดแข็งของเรา และความสามารถในการทำงานของเราเข้าไปช่วยได้

แนวทางในการบริหารเจ้านาย

  • ทำความเข้าใจบริบทในการทำงานของนายให้ชัดเจน ต้องเข้าใจให้ได้ว่า นายของเรามีภาระหน้าที่อะไร และได้รับมอบหมายงานอะไร เป้าหมายคืออะไรจากนายของนาย และที่สำคัญก็คือ นายของเรามีความกดดันในการทำงานในเรื่องอะไรบ้าง ตรงนี้เราสามารถสังเกตได้จากบรรยากาศในการทำงานกับนาย รวมทั้งเวลาที่มีประชุมงานร่วมกัน ก็สามารถบอกได้ว่า นายของเรามีแรงกดดันจากเรื่องอะไร
  • ทำความเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของนาย สิ่งถัดไปในการบริหารเจ้านายก็คือ จะต้องทำความเข้าใจจุดแข็ง และจุดอ่อนของเจ้านายให้ได้ อะไรคือสิ่งที่นายของเราเก่งมาก และทำได้ดี อะไรที่นายของเรามีจุดอ่อน คนเราไม่ได้เก่งไปหมดทุกเรื่องแน่นอน ทุกคนต้องมีจุดแข็งและจุดอ่อนเสมอ
  • ทำความเข้าใจสไตล์การทำงานของนาย ต่อไปก็คือ ต้องเข้าใจวิธีคิด และวิธีการทำงานของนาย รวมทั้งสไตล์การทำงานของเจ้านายของเราให้ได้ นายบางคนเป็นประเภทลงรายละเอียดเยอะมาก บางคนเป็นประเภทบอกแค่เป้าหมาย จากนั้น ลูกน้องต้องไปลงรายละเอียดให้ บางคนเป็นพวกชอบติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด บางคนก็นานๆ ตามที ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เราจะต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ เพื่อที่จะได้บริหารเจ้านายได้อย่างดี
  • ประเมินตนเอง สิ่งต่อไปก็คือ เราต้องประเมินตนเองว่า เราเองมีจุดแข็ง จุดอ่อนในเรื่องใดบ้างในการทำงาน โดยอาศัย แบบทดสอบก็ได้ หรืออาศัย Feedback ที่เคยได้รับจากเจ้านาย หรือจากเพื่อนร่วมงาน ฯลฯ มาพิจารณา
  • หาจุดร่วมที่ดีที่สุด จากนั้นก็ให้พิจารณาหาจุดร่วมในการทำงานที่ดีที่สุด ระหว่างเรากับเจ้านายของเรา เมื่อเราเข้าใจจุดแข็งของนาย ถ้าเราสามารถส่งเสริมให้นายทำงานโดยใช้จุดแข็งของเขาได้อย่างดีแล้ว ผลงานของนายก็จะดี แล้วนายก็จะมองเราว่ามีผลงานที่ดีเช่นกัน นอกจากนั้น ช่วยอุดจุดอ่อนของนาย เช่น นายเราไม่ค่อยลงรายละเอียด ซึ่งอาจจะเกิดความผิดพลาดได้ข้อปลีกย่อย เราก็สามารถที่จะลงรายละเอียดเหล่านั้นแทนนายเราได้ เพื่อเป็นการอุดช่องว่างระหว่างกันตรงนี้

ถ้าเราทำได้อย่างที่กล่าวมาข้างต้น เราก็จะสามารถบริหารเจ้านายของเราได้อย่างดี ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรา กับเจ้านายก็จะดีขึ้นตามลำดับ ทั้งในด้านการทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างกัน

จะเห็นได้ว่า การบริหารเจ้านายนั้น ก็คือ การบริหารความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดี ในการทำงานร่วมกัน ถ้าลูกน้อง และพนักงานคนไหนที่เข้าใจวิธีการบริหารเจ้านายในลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น รับรองได้ว่า เราจะกลายเป็นมือขวาคนสำคัญของเจ้านาย และไม่ว่าเราจะไปทำงานกับเจ้านายคนไหน ก็จะกลายเป็นคนสำคัญของนายทุกคน

15.6.66

พิธีไหว้ครู

 พิธีไหว้ครู

ในพานพิธีวันไหว้ครู   มักจะประกอบไปด้วย ธูป เทียน และดอกไม้ ซึ่งดอกไม้ ที่ขาดไม่ได้ในพานไหว้ครู คือ ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ข้าวตอก และดอกเข็ม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีความหมายเป็นปริศนาธรรมทั้งสิ้น

ดอกมะเขือ เป็นดอกที่โน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือนี้ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อมตน พร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่างๆ  นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่   เช่นเดียวกับหญ้าแพรก

หญ้าแพรก เป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม  แพร่กระจายพันธ์ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก หญ้าแพรกและดอกมะเขือในวันไหว้ครูจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่ คนโบราณจึงถือเอาเป็นเคล็ดว่า ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขือไหว้ครูแล้ว  สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรกและ ดอกมะเขือนั่นเอง

ดอกเข็ม   เพราะดอกเข็มนั้นมีปลายแหลม สติปัญญาจะได้แหลมคมเหมือนดอกเข็ม และก็อาจเป็นได้ว่า เกสรดอกเข็มมีรสหวาน การใช้ดอกเข็มไหว้ครู วิชาความรู้จะให้ประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสดชื่นเหมือนรสหวานของดอกเข็ม

ข้าวตอก   เป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้วคนเรามักจะมีความซุกซน ความเกียจคร้าน เป็นสมบัติมากบ้าง น้อยบ้างก็ตาม เมื่อมีความต้องการศึกษาหาความรู้ เขาก็ต้องรู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบ ในระเบียบหรือในกฎเกณฑ์ที่สถาบันได้กำหนดไว้   ใครก็ตามหากตามใจตนเอง  ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บุคคลนั้นก็จะเป็นเหมือนข้าวเปลือกที่ถูกคั่ว แต่ไม่มีโอกาสได้เป็นข้าวตอก

          เรื่องราวของวันไหว้ครูอย่าลืมแวะกลับไปเยี่ยมครูเก่าๆ ที่เคยสั่งสอนเราก็ได้ กลับไปเยี่ยม ถามไถ่สารทุกข์ดิบกันเล็กน้อย อย่างน้อยท่านก็เป็นคนหนึ่งที่พาเราเดินไปสู่ทางแห่งความสำเร็จ

9.5.66

พระครูโพธาภิรัตบุญมาก

ดูสิ่งใดไม่เห็นสิ่งนั้น ๒๕๔๓ 1

ดูสิ่งใดไม่เห็นสิ่งนั้น ๒๕๔๓ 2

กำหนดปัจจุบัน เท่าทันผัสสะ1

กำหนดปัจจุบัน เท่าทันผัสสะ2

กำหนดปัจจุบัน เท่าทันผัสสะ3

กง กำ ดุม ธรรมจักร1

กง กำ ดุม ธรรมจักร2

ความรู้ที่บริสุทธิ์1

ความรู้ที่บริสุทธิ์2

ของจริงที่ควรรู้๒๕๔๓1

ของจริงที่ควรรู้๒๕๔๓ 2



30.4.66

เรียนรู้จากการทำงาน

เรียนรู้จากการทำงาน

 หนังสือ Driving Performance Through Learning : Using L&D to Improve Performance, Productivity and Profits (2019)  บอกว่าพนักงานเรียนจากการทำงานได้มากกว่าการไปเข้ารับการฝึกอบรม    โดยที่การเรียนรู้จะเกิดอย่างมีพลัง ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน 

เป็นหนังสือที่เน้นให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วย L&D (Learning and Development) ขององค์กร    โปรดสังเกตนะครับ ว่าองค์กรสมัยใหม่เขามีหน่วย L&D   เพื่อเน้นหนุนให้การปฏิบัติงานเป็นการเรียนรู้ไปในตัว    และหนังสือเล่มนี้แนะนำว่า ให้ใช้หลักการ 70:20:10 ในเรื่องการพัฒนาบุคลากร

ผมตีความว่า เขาเรียกหน่วย L&D ในชื่อที่โก้หรูว่า Academy  เช่น SCB Academy   

ร้อยละ ๗๐ ของการเรียนรู้ มาจากการปฏิบัติงานของตนเอง   ร้อยละ ๒๐ มาจากการได้รับโค้ชชิ่ง   เพียงร้อยละ ๑๐ เท่านั้นที่ได้จากการไปเข้ารับการอบรมในหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ     เขาบอกว่าธุรกิจจะก้าวหน้าได้ในยุคปัจจุบันต้องมุ่งพัฒนาบุคลากรโดยใช้หลักการนี้    หรือกล่าวใหม่ว่า องค์กรต้องมี ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ (learning strategy)   

 หน่วย L&D จึงต้องมีสมรรถนะในการหนุนให้การทำงานประจำเกิดการเรียนรู้    โดยจัดให้มี ทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ (learning resource) ให้บริการแก่ผู้ปฏิบัติงาน     เน้นให้เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน    เป็นการเรียนรู้ที่ก่อผลดีต่อทั้งตัวบุคคล และต่อหน่วยงานหรือต่อการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของผลงาน   

เขาแนะนำว่า หน่วย L&D ต้องทำตัวหรือมีวิธีทำงานคล้าย Start-up   คือกล้าทำต่างจากแนวทางเดิมๆ  กล้าเสี่ยงต่อความล้มเหลว    หรือกล่าวใหม่ว่า พร้อมที่จะเรียนรู้จากความล้มเหลว    และทำหน้าที่สร้างวัฒนธรรมนี้ขึ้นในองค์กร    เพื่อให้องค์กรเป็นที่รวมของพนักงานที่เป็น “ผู้เรียนรู้เร็วที่สุด” (the fastest learner)    เพราะนี่คือปัจจัยแห่งความสำเร็จในยุคปัจจุบัน

จุดเริ่มต้นของกิจกรรม L&D คือหาประเด็น หรือปัญหาที่ต้องแก้ให้พบ โดยทำ learning need analysis    แล้วกำหนดกลยุทธ    เพื่อจัดตั้ง agile team ใช้ design thinking, lean process และอื่นๆ ในการแก้ปัญหาในระดับปรับ working platform ใหม่    ในรูปแบบของการปรับไปเรียนรู้ไป    ทำไปวัดผลไปปรับไป เป็นวงจร    และต้องมีการวัดผลกระทบจากระบบ L&D ว่าก่อประโยชน์ต่อองค์กรอย่างคุ้มค่าหรือไม่    การวัดผลกระทบนี้ทำไม่ง่าย แต่ต้องทำ   

เขาแนะนำเครื่องมือ Learning canvas สำหรับใช้กำหนดแผนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่มองเห็นด้วยสายตา   

เป้าหมายของระบบ L&D คือ    จัดการเรียนรู้ให้ ถูกคน  ถูกเรื่อง ถูกเวลา    คือไม่ทำอย่างเปะปะ   แต่ทำอย่างมีเป้าหมาย    และรู้จักใช้ของฟรี ที่เรียกว่า open learning resource ที่อยู่บนพื้นที่ไซเบอร์    โดยทีม L&D ขององค์กรคอยค้นหา และคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน   เอามาจัดไว้ในระบบ organization learning resource ให้พนักงานค้นหาได้สะดวก   

ทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้สำคัญอีกอย่างหนึ่งขององค์กร คือ พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (sharing resource)    ทำโดยสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นในองค์กร   ที่เขาไม่เอ่ยคำว่า KM แต่จริงๆ แล้วก็คือการประยุกต์ใช้ KM นั่นเอง 

เครื่องมือสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ โค้ชชิ่ง    ที่เขาแนะนำว่า ต้องบูรณาการอยู่ในการปฏิบัติงานนั้นเอง   และทำกันจนเป็นนิสัย หรือเป็นวัฒนธรรมองค์กร    ทำกันในทุกระดับ เริ่มตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุด เป็นโค้ชของผู้บริหารระดับต่อๆ ลงมา    และต้องไม่ลืมใช้ประโยชน์จากความผิดพลาด เพื่อการเรียนรู้           

เขาเตือนว่า ต้องสะท้อนคิดเรื่องบริบทหรือระบบนิเวศที่กำลังเผชิญ   และนำมาประยุกต์ใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางระบบ L&D ขององค์กร 

ผมสะท้อนคิดว่า    เขาลืมเรื่องสำคัญ สำหรับใช้ในการเรียนรู้ส่วนร้อยละ ๗๐ หรือการเรียนรู้จากการทำงาน    คือเรื่อง Kolb’s Experiential Learning Cycle และ Double-Loop Learning    ซึ่งเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้กลับทาง   คือใช้การปฏิบัติงานเป็นตัวช่วยให้ได้เรียนรู้หลักการ (concept)   ที่เป็นเส้นทางแห่งปัญญา 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ธ.ค. ๖๕

2.6.65

กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนลองวิทยา

 กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ  โรงเรียนลองวิทยา อำเภอลอง จังหวัดแพร่

*****************************

         โรงเรียนวิถีพุทธ คือ  กระบวนการพัฒนาผู้เรียน ด้านการเรียนรู้ทั้งในด้านความประพฤติ (ศีล)  จิตใจ ( สมาธิ)  และปัญญา ( ปัญญา)   เพื่อความเจริญงอกงามในทุกขั้นตอนของชีวิต    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกิน อยู่ ดู ฟัง ในชีวิตประจำวันที่มีสติสัมปชัญญะคอยกำกับ   เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตนจนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคม ประเทศชาติ และสิ่งแวดล้อมให้เจริญสืบต่อไป  

         มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะฝึกฝนและพัฒนาได้  ประกอบกับวิเคราะห์ผู้เรียนว่ามีสติปัญญา อุปนิสัย ความพร้อมและภูมิหลังที่แตกต่างกัน  การพัฒนาจึงเน้นที่ตัวผู้เรียนแต่ละคนเป็นสำคัญ   "การศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์"

กิจกรรมในโรงเรียนวิถีพุทธ

Google

- กิจกรรมหน้าเสาธงภาคเช้า

- กิจกรรมหนึ่งนาทีชีวีมีสุข *เริ่มต้นทุกคาบเรียนในแต่ละวัน 1 นาที

- ฐานเรียนรู้ในแนววิถีพุทธสู่ความพอเพียง *วันอังคารคาบเรียนที่ 1 ทุกสัปดาห์

- เก็บได้คืนเจ้าของ

- อบรมนักเรียนแกนนำวิถีพุทธ

- ฐานสวดมนต์ทำวัตร

- ฐานมหาศาสดาโลก

- ฐานโยคะ

- ฐานตักบาตรฟังธรรม

- ฐานเรียนรู้สติมาปัญญาเกิด

- ห้องเรียนไตรสิกขามาบูรณาการในรายวิชา

- ส่งเสริมเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น

- เทศน์มหาชาติ

- มาฆบูชารำลึก

- วิสาขบูชา

- ถวายเทียนจำนำพรรษา

- ตักบาตรเข้าพรรษาและแสดงตนแป็นพุทธมามกะ

ค่ายพาน้องพบธรรม

- อบรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน หลักชาวพุทธ

- อบรมเชิงปฏิบัติการและวิปัสสนากรรมฐานบุคลากรในโรงเรียนปีละ 1 ครั้ง

- ศึกษาดูงานโรงเรียนรุ่งอรุณ

- ประเมินผลกิจกรรมวิถีพุทธและเทศนา

- หลักไตรสิกขา

- แนวการสอนแบบวิถีพุทธ



ภาพประกอบ : https://photos.app.goo.gl/f1fF3kpjG7XNJDB9A

https://docs.google.com/document/d/1qxNykMz


23.3.65

พสน.

 หลักสูตรการฝึกอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสวามประพฤตินักเรียนและนักศึกษา(พสน.)

(จำนวน ๓ วัน)

วันที่หนึ่ง 

  • Pre-test

  • ลงทะเบียน

  • พิธีเปิด/บรรยายพิเศษ

  • พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๓๖

  • บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการในการส่งเสริมความประพฤติการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความนักเรียนและนักศึกษาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

วันที่สอง

  • ความรู้เบื้องตันเกี่ยวกับการใช้วิทยุสื่อสาร

  • การฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน

  • การฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (ต่อ)

วันที่สาม

  • รายงานผลการฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา

  • การบูรณาการองค์กรเครือข่ายในการส่งเสริมการจัดตั้งองค์กรเครือข่ายความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา

  • อภิปรายผล สรุปข้อเสนอแนะ 

  • Post-test

  • มอบวุฒิบัตรและพิธีปิด

* กำหนดการนี้อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


2.3.65

ค้นหาตนเอง

 ค้นหาตนเอง

********************************

ค้นหาตนเอง เส้นทางสู่อนาคต  http://ez.eduzones.com/test/

แบบทดสอบความถนัดทางอาชีพ  https://www.dek-d.com/quiz/funnyquiz/333477/

C:\Users\Sungmen\My Drive\000WorkWeerachai\images.png