อย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยเครื่องมือการทํางานที่ชัดเจนในการทำงาน อาศัยการมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำของครูที่ปรึกษาประจำชั้นเรียน ที่ทำหน้าที่ดูแลนักเรียน ได้รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล คัดกรอง ป้องกันแก้ไข ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนได้อย่างเหมาะสม
- แบบอย่างที่ดี ครูเป็นต้นแบบ แบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจของผู้เรียน
- จัดบรรยากาศ ครูได้บรรยากาศชั้นเรียนทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและจิตใจให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
- การดูแล ครูได้ดูแลผู้เรียนตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- ติดตาม ครูได้ติดตามพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตร
- การให้คำแนะนำ ครูให้แนะนำปรึกษาและช่วยเหลือผู้เรียนในชั้นเรียน
- รายงาน ครูรายงานผลในชั้นเรียนให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับรู้ร่วมกัน
- ประสานงาน ครูทำหน้าที่ประสานสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียน
อย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยเครื่องมือการทํางานที่ชัดเจนในการทำงาน
เครื่องมือประกอบในการทํางานในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ประกอบด้วย
- ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (โปรแกรมเข้ามาช่วย)
- บันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน (โปรแกรมเข้ามาช่วย)
- บันทึกการสังเกต
- บันทึกการสอบสัมภาษณ์
- SDQ แบบประเมินตนเอง ฉบับนักเรียน (โปรแกรมเข้ามาช่วย)
- SDQ แบบประเมินตนเอง ฉบับครูประเมิน (โปรแกรมเข้ามาช่วย)
- SDQ แบบประเมินตนเอง ฉบับผู้ปกครอง (โปรแกรมเข้ามาช่วย)
- บันทึกการคัดกรองรายบุคคล
- สรุปผลการคัดกรองนักเรียนรายบุคคล
- เกณฑ์การคัดกรองนักเรียน
- แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (โปรแกรมเข้ามาช่วย)
- การจัดกิจกรรมโฮมรูม
- การแก้ไขพฤติกรรมและส่งเสริมนักเรียน
- การจัดประชุมผูปกครองชั้นเรียน
- งานส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
- การติดตามดูแลนักเรียน (โปรแกรมเข้ามาช่วย)
- การติดต่อผู้ปกครอง (โปรแกรมเข้ามาช่วย)
- พฤติกรรมการเฝ้าระวังดูแลช่วยเหลือนักเรียน (นำโปรแกรมเข้ามาช่วย)
- การให้คำปรึกษา
- การประชุมให้คำปรึกษา
- การดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล
- สรุปผลการดำเนินงานการป้องกันและการแก้ไขปัญานักเรียน
- การส่งต่อนักเรียน (ภายใน)
- การขอความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ (เพื่อส่งต่อหน่วยงานภายนอก)
- ผลการช่วยเหลือนักเรียน
- สรุปผลการส่งต่อนักเรียน
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
การรู้ข้อมูลที่จําเป็นเกี่ยวกับตัวนักเรียนเป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้ครูเข้าใจนักเรียนมากยิ่งขึ้น ซึงข้อมูล ที่ได้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายตามหลักวิชาการ ซึ่งจะทําให้ไม่เกิดข้อมูลที่ผิดพลาดต่อการ ช่วยเหลือนักเรียน
2. การคัดกรองนักเรียน
แบ่งเป็น4 กลุ่ม นิยามได้ดังนี้
2.1 กลุ่มปกติ ควรได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและการส่งเสริมพัฒนา
2.2 กลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มเสียงตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนต้องให้การป้องกันและแก้ไขตามกรณี
2.3 กลุ่มมีปัญหา คือ กลุ่มมีปัญหาตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนต้องช่วยเหลือและแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน
2.4 กลุ่มพิเศษ คือ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ มีความเป็นอัจฉริยะ มีความสามารถโดดเด่นซึ่งโรงเรียนต้องให้ การส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาศักยภาพความสามารถพิเศษถึงขั้นสูงสุด
3. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
สิ่งทีครูที่ปรึกษาจําเป็นต้องดําเนินการมีอย่างน้อย 2 ประการ คือ
3.1 การให้คําปรึกษาเบื้องต้น
3.2 การจัดกิจกรรมเพือป้องกันและแก้ไขปัญหา
4. การส่งเสริมพัฒนานักเรียน กิจกรรมหลักสําคัญที่โรงเรียนต้องดําเนินการ คือ
4.1 การจัดกิจกรรมโฮมรูม
4.2 การเยี่ยมบ้าน
4.3 การจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน(Classroom Meeting)
4.4 การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการดํารงชีวิตและกิจกรรมพัฒนา
5. การส่งต่อ
แบ่งออกเป็น 2 แบบ
5.1 การส่งต่อภายใน ครูที่ปรึกษาส่งต่อครูแนะแนว ครูพยาบาล ครูประจําวิชา และฝ่ายปกครอง
5.2 การส่งต่อภายนอก เป็นกรณีปัญหาที่มีความยากเกินกว่าศักยภาพของโรงเรียนจะดูแลช่วยเหลือ
เรียบเรียงโดย...วีระชัย จันทร์สุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น