ความไม่รู้(Ignorance)
ความไม่รู้มี 5 ระดับดังต่อไปนี้
Lack
of Ignorance (0OI)
เราจะอยู่ในระดับนี้เมื่อเรารู้อะไรบางอย่าง เช่น เรารู้ความต้องการของลูกค้า
เรารู้ว่าเราจะออกแบบ User Interface, Database, รู้ Programming, Test จนกระทั่งส่งงานให้ลูกค้า ความรู้คือพลัง ทำให้เราทำงานได้สำเร็จ
Lack
of Knowledge (1OI) เราจะอยู่ในระดับนี้เมื่อเราไม่รู้อะไรบางอย่าง
แต่เรารู้ตัวว่าเราไม่รู้สิ่งนั้น และเราก็รู้ว่าทำยังไงถึงจะรู้ เช่น
เราไม่รู้ขั้นตอนการออกแบบ Database เราก็ไปเรียนเพิ่มหรืออ่านหนังสือเอาก็ได้
Lack
of Awareness (2OI)
เราจะอยู่ในระดับนี้เมื่อเราไม่รู้ว่ามีบางอย่างที่เราไม่รู้ ไม่ใช่แค่ไม่รู้
แต่เรายังไม่รู้ตัวว่าเราไม่รู้
Lack
of Process (3OI) เราจะอยู่ในระดับนี้เมื่อเราไม่รู้วิธีที่จะทำให้เรารู้ว่ามีบางอย่างที่เราไม่รู้
ซึ่งทำให้เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาในระดับ Lack
of Knowledge ได้
Meta
Ignorance (4OI) เราไม่รู้ว่าความไม่รู้มันมี
5 ระดับ ซึ่งตอนนี้เราก็รู้กันแล้ว
หลายครั้งที่เราเห็นคนที่ทำงานเป็นที่ปรึกษา
Project
หยิบเอา (3OI) มาใช้ เช่น
ลูกค้าไม่รู้ว่าจะปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน ทางที่ปรึกษาก็แนะนำ Agile
Process ซึ่งลูกค้าก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร
บริษัทที่ปรึกษาเค้าก็แค่ให้พนักงานแต่ละคนมานั่งในที่ประชุม
ให้แต่ละคนเล่าว่าอาทิตย์ที่แล้วทำอะไรบ้าง เจอปัญหาอะไรบ้าง ได้เงินง่ายแท้
อีกรูปแบบที่เราเจอคือบริษัทผู้นำด้าน Technology ทั้งหลาย
ที่นำเสนอ Solution ล้ำๆ ให้ลูกค้า ก็หากินกับความไม่รู้กันไปเรื่อยๆ
สิ่งที่เรามองว่าดี
และเป็นเหตุผลที่เราเลือกทำงานด้าน Software ก็คือ มันสามารถทำไปได้ต่อเนื่อง ยิ่งเราทำงาน
เราก็ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เราแก้ไขปัญหาความไม่รู้ได้เร็วขึ้น
ธุรกิจจะไปได้ดีถ้าเราใช้เวลาไปกับการแก้ไขปัญหาธุรกิจ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการแก้ปัญหา
IT มันก็คงไม่ใช่ละ เค้าให้ใช้ IT มาช่วยแก้ปัญหา
ไม่ใช่วันๆ เอาแต่แก้ปัญหาเรื่อง IT
ความโง่เขลา
Fool
ฟูล ที่หมายถึง “โง่” มาจากภาษาละติน follisที่แปลว่า “ถุงบรรจุลม” ต่อมาคำนี้ใช้เปรียบกับคนที่ “สมองเหมือนถุงลม”เป็นที่มาของความหมายว่า
“สมองกลวง” บางทีก็สื่อถึง “คนพูดมาก ไร้สาระ” “คนโง่”
“คนที่ตัดสินใจอย่างไม่ฉลาด” หรือ “คนที่ถูกหลอกง่าย”
อีกคำหนึ่งคือ
silly
ดั้งเดิมหมายถึง “มีความสุข” หรือ “โชคดี” ต่อมากลายมีความหมายว่า
“ศักดิ์สิทธิ์” “ได้รับพร” “บริสุทธิ์ไร้เดียงสา” หรือ “ไร้พิษสง” จากนั้น
พัฒนาการของคำนี้เปลี่ยนไปเชิงลบเป็น “น่าเห็นใจ” “น่าสงสาร” หรือ “เคราะห์ร้าย”
พอถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 คำนี้ถูกใช้ในความหมาย
“อ่อนแอทางร่างกาย” “กระปลกกระเปลี้ย” “ขาดเหตุผล” หรือ “ขาดสามัญสำนึก”
พอปลายคริสต์ศตวรรษที่16 คำนี้สื่อถึง “อ่อนแอทางสติปัญญา”
“ไม่ได้รับการศึกษา” หรือ “โง่เขลา” ปัจจุบันความหมายของคำนี้คือ “โง่เขลา”
“เหลวไหล” หรือ “ไร้สาระ”
Obtuse
มาจากภาษาละตินหมายถึง “ทู่” “ทื่อ” หรือ “ไม่แหลมคม”
เมื่อภาษาอังกฤษรับมา คำนี้ถูกใช้ในวิชาเรขาคณิต obtuse angle หมายถึง “มุมป้าน” คนชอบนำมาใช้เปรียบเทียบกับสติปัญญาที่ “ไม่หลักแหลม” “ไม่มีไหวพริบ”
หรือ “โง่” นั่นเอง
ข้อมูลจาก
นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย
pasalok1998@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น