หลักการจัดการศึกษาที่เป็นฐานคิดสากล และฐานคิดวิถีไทย
ระบบการจัดการศึกษา
ระบบการจัดการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กําหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสําเร็จการศึกษาที่แน่นอน
2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกําหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญของการสําเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
การจัดการศึกษาในฐานคิดสากล
เป็นการศึกษาที่นําเอาเนื้อหาที่มีการจัดระเบียบ ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของบริบททางการศึกษา และมีการศึกษาแบบไม่ลําเอียง ทุกคนสามารถศึกษาได้เท่าเทียมกัน โดยการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจริงจากการศึกษาและได้กระทําด้วยการลงมือทําด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นเพียงแค่ผู้ให้คําปรึกษา และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเกิดจากการเรียนรู้ของนักเรียนเอง ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของสังคมที่จําเป็น ซึ่งจะทําให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เสาหลักการศึกษาในฐานสากล
เสาหลักการศึกษาในฐานสากลแบ่งออกเป็น 4 เสาหลัก คือ
1) การเรียนเพื่อรู้ ( learning to know ) เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้และวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต กระบวนการเรียนรู้เน้นการฝึกสติ สมาธิ ความจํา ความคิด ผสมผสานกับสภาพจริงและประสบการณ์ในการปฏิบัติ
2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง ( learning to do ) เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาความสามารถและความชํานาญ รวมทั้งสมรรถนะทางด้านวิชาชีพ สามารถปฏิบัติงานเป็นหมู่คณะ ปรับประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติงาน และอาชีพได้อย่างเหมาะสม กระบวนการเรียนการสอนบูรณาการระหว่างความรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติงานที่เน้นประสบการณ์ต่างๆ ทางสังคม
3. การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันและการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น ( learning to live together ) เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถดํารงชีวิต อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข มีความตระหนักในการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การแก้ปัญหา การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี มีความเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเข้าใจความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของแต่ละบุคคลในสังคม
4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต ( learning to be )เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน ทั้งจิตใจ ร่างกาย และสติปัญญา ให้ความสำคัญกับจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ภาษา และวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ศีลธรรม สามารถปรับตัวและปรับปรุงบุคลิกภาพของตน เข้าใจตนเองและผู้อื่น
การจัดการศึกษาในฐานคิดวิถีไทย
หลัก 3R
1) ความเคร่งครัด ความถูกต้องแม่นยํา ( Rigor ) เช่น ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills)
2) ความสัมพันธ์ ( Relevance ) เช่น ทักษะชีวิตและอาชีพ (life and career skills)
3) สัมพันธภาพ ( Relationships ) เช่น ทักษะเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อ (life and career skills)
หลัก 7C
1) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา (Critical thinking & problem solving)
2) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity & innovation)
3) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural understanding)
4) ทักษะด้านความร่วมมือ การทํางานเป็นทีม และภาวะผู้นํา (Collaboration, teamwork & leadership)
5) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ (Communications, information & media literacy)
6) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (Computing & ICT literacy)
7) ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career & learning skills)
กิจกรรมมุ่งเน้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 ห่วง และ 2 เงื่อนไข โดย 3 ห่วง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ส่วน 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม
กรอบทิศทางแผนการศึกษา ในปัจจุบันและอนาคต
แนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Design) ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ยึดหลักสําคัญใน การจัดการศึกษา ประกอบด้วยหลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม (All for Education)
อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ประเด็นภายในประเทศ(Local Issues) อาทิ คุณภาพของคนทุกช่วงวัย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ และวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม โดยนํายุทธศาสตร์ชาติ (National Strategy) มาเป็นกรอบความคิดสำคัญในการจัดทําแผนการศึกษาแห่งชาติ
การจัดการหลักการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
แผนการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการศึกษา 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1) การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
2) การผลิตและพัฒนากําลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
4) การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา
5) การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6) การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น