ศึกษาเรียนรู้

20.9.63

Holistic Education

การศึกษาแบบองค์รวม(Holistic Education)

          ในการศึกษาเล่าเรียนนั้น แม้ว่าจะมีการแบ่งเป็นวิชาต่าง ๆ แต่ก็ใช่ว่าวิชาต่าง ๆ เหล่านั้นจะแยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง จึงมีแนวคิดทางการศึกษาที่สนใจพัฒนาศักยภาพของมนุษย์โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงกันทั้งด้านร่างกายและจิตใจ   ซึ่งคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ราชบัณฑิตยสถาน ได้อธิบายไว้ดังนี้

          การศึกษาแบบองค์รวม (holistic education) หมายถึงการพัฒนามนุษย์และการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงมิติอันหลากหลายของบุคคล ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา การรู้คิด สุนทรียภาพ และมิติอื่น ๆ แล้วแต่จะกำหนดความหมาย การจัดการศึกษาแบบองค์รวมคิดถึงภาวะทั้งหมดในชีวิตของบุคคล แม้ชีวิตจะมีองค์ประกอบย่อยมากมาย หากแต่ละองค์ประกอบมีบริบทภายในตนและเชื่อมโยงกับองค์ประกอบอื่นอย่างเป็นพลวัต การจัดการศึกษาจึงต้องมีลักษณะบูรณาการสอดคล้องและเกื้อหนุนต่อการพัฒนาชีวิต     แนวคิดการศึกษาแบบองค์รวมมีพื้นฐานมาจากจิตวิทยากลุ่มเกสตอลต์ (Gestalt Psychology) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เน้นความเป็น “ส่วนรวมทั้งหมด (whole)” การศึกษาพฤติกรรมของบุคคลต้องพิจารณาเป็นองค์รวม จะแยกทีละส่วน (part) ไม่ได้ เพราะคุณค่าขององค์รวมมีมากกว่าการนำส่วนย่อย ๆ มาบวกกัน

          การศึกษาแบบองค์รวมเน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลค้นพบตนเอง ซึ่งเกิดจากแรงปลุกเร้าภายใน เข้าใจความหมายและเป้าหมายของชีวิต มุ่งสร้างความตระหนัก ความเข้าใจตนเอง เน้นความสำคัญในการพัฒนากาย จิตใจ อารมณ์ ศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ แนวคิดการศึกษาแบบองค์รวมได้เชื่อมโยงไปสู่หลักการสอนหลายรูปแบบ เช่น ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองซึ่งเป็นองค์รวมเชื่อมโยงไปสู่การสอนภาษาแบบ whole language approach การจัดหลักสูตร กิจกรรม สื่อการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟ (Waldorf Education) เน้นการเรียนด้วยกาย คือ การลงมือทำ การเรียนด้วยใจ ความรู้สึก ความประทับใจ และการฝึกคิด เพื่อพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น