ศึกษาเรียนรู้

22.2.64

เด็กอายุ 17 ปี

Timeline สิทธิที่ได้ตามวัย

·       แรกเกิด >> ได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือบัตรทอง (ยกเว้นเด็กที่ได้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ)

·       อายุ 7 ปี >> ทำบัตรประชาชน

·       อายุ 15 ปี >> ทำพินัยกรรมได้ , ทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวได้, ทำงานพิเศษได้

·       อายุต่ำกว่า 18 ปี >> ได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ทำผิดไม่ต้องเข้าคุก แต่ต้องไปอยู่ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนแทน

·       อายุ 17-19 ปี >> แต่งงานได้ แต่ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง เมื่อแต่งงานแล้วจะเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ  การสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย 

·       อายุ 18 >> มีสิทธิเลือกตั้ง, ทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์และรถยนต์ได้, ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ได้ , ทำงานพิเศษได้หลากหลายขึ้น, แปลงเพศได้ แต่ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง

·       อายุ 20 ปี >> เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ, แต่งงานและจดทะเบียนได้ด้วยตัวเอง, ทำนิติกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง เช่น สัญญาซื้อขายบ้าน กู้ยืมเงิน เป็นต้น

·        เด็ก หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์

·       เยาวชน หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์

·       (คนที่อายุไม่ถึง 20 ปี บริบูรณ์ ตามกฎหมายมักเรียกว่า เป็นผู้เยาว์ )

·       นักเรียน ผู้เรียน นิสิต หรือ นักศึกษา ในความหมายโดยรวมคือผู้ที่เข้าเรียนในสถานศึกษา โดยแบ่งเป็นฃ

·       นักเรียน หมายถึง ผู้เรียนในโรงเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา (บางครั้งอาจใช้ในความหมายกว้าง หมายถึง ผู้ศึกษาในสถานศึกษาทั้งหมดก็ได้)

·       นิสิต และ นักศึกษา หมายถึง ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา (นิสิตเป็นคำที่ใช้เฉพาะในสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งเท่านั้น)

·       ผู้เรียน (อังกฤษ: learner) เป็นคำที่มีความหมายกว้างรวม นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้รับการศึกษาอบรมนอกระบบสถานศึกษาตามปกติ มักใช้ในบริบทของการเรียนรู้

 

อ้างอิง :    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

    สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น