คุณธรรมสำหรับนักเรียน เป็นสิ่งที่สถาบันการศึกษา โรงเรียน ครูอาจารย์และตัวนักเรียนเองได้ตระหนักให้ความสำคัญ ในการฝึก ได้รู้และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอให้กับนักเรียน
คุณธรรมนักเรียน 9 ประการ
๑. ขยัน คือ ผู้ที่มีความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องใน เรื่องที่ถูกที่ควร สู้งานมีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
๒. ประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ
๓. ซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจปลอดจากความรู้สึกสำเอียง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง
๔. มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร และประเทศ โดยที่ตนยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อ บังคับและข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม
๕. สุภาพ คือ ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อยไม่ก้าวร้าว รุนแรง หรือวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทางเป็นผู้มีมารยาทดีงามวางตนเหมาะ สมกับวัฒนธรรมไทย
๖. สะอาด คือ ผู้ที่รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตไม่ให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจและสภาพแวดล้อมมีความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบ เห็น
๗. สามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุมีผล ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิดและความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมานฉันท์
๘. มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น เห็นอก เห็นใจ และเห็นคุณค่าในเพื่อมนุษย์และผู้ที่มีความเดียดร้อน มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญาลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน
๙.ความกตัญญู คือ ความรู้คุณ หมายถึงความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติ มีปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตาม น้อยก็ตามแล้วก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย
ศีล 5
ศีล 5 ฝึกให้นักเรียนจดจำและปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพื่อรักษาความประพฤติให้สุจริต ดีงาม ปราศจากโทษภัย
ข้อที่ ๑ ข้าพเจ้าจะไม่ฆ่าสัตว์หรือทรมานสัตว์ให้ลำบาก
ข้าพเจ้าขอถือความเมตตากรุณาเป็นหลักชีวิต
ข้อที่ ๒ ข้าพเจ้าจะไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ จะไม่ฉ้อโกง หรือหลอกลวง
ข้าพเจ้าขอถือความซื่อสัตย์เป็นหลักชีวิต
ข้อที่ ๓ ข้าพเจ้าจะไม่ทำผิดเพราะความอยากได้
ข้าพเจ้าขอถือความถูกต้องและความพอดีเป็นหลักชีวิต
ข้อที่ ๔ ข้าพเจ้าจะไม่พูดสิ่งที่ไม่จริง จะไม่พูดคำหยาบ จะไม่พูดให้เกิดความแตกแยก
ข้าพเจ้าขอถือความรักความจริง ความรักความสามัคคี
เป็นหลักชีวิต
ข้อที่ ๕ ข้าพเจ้าจะไม่เสพสิ่งเสพติด จะไม่เสพสิ่งที่มีผลไม่ดีต่อร่างกายหรือจิตใจ
ข้าพเจ้าขอถือการพัฒนาสติและปัญญาเป็นหลักชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น