ศึกษาเรียนรู้

21.8.63

การดำเนินการทางวินัย

การดำเนินการทางวินัย
1. ความหมายของการดำเนินการทางวินัย
       วินัย คือ การควบคุมความประพฤติให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนซึ่งวินัยข้าราชการพลเรือน ได้แก่ บทบัญญัติวินัยที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เช่น กำหนดให้ข้าราชการต้องซื่อสัตย์ สุจริต ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ รักษาความลับของทางราชการ ปฏิบัติตามคำสั่ง
ของผู้บังคับบัญชา และรักษาชื่อเสียงของตน เป็นต้น นอกจากนี้วินัยยังหมายถึงลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่าสามารถจะควบคุมตนเอง ให้อยู่ ในกรอบของบทวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ดังกล่าวได้

2. การดำเนินการทางวินัย 
      การดำเนินการทางวินัย หมายถึงการดำเนินการทั้งหลายที่กระทำเป็นพิธีการตามกฎหมายเมื่อข้าราชการพลเรือนมีกรณี ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัย ได้แก่
     1. การตั้งเรื่องกล่าวหา
     2. การสืบสวนหรือการสอบสวน
     3. การพิจารณาความผิดและโทษ
     4. การดำเนินการต่างๆ ระหว่างการสอบสวนพิจารณาความผิด เช่น ให้พักข้าราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน

3. มูลกรณีความผิดวินัย
     3.1 การกล่าวโทษ หมายถึง กรณีมีผู้กล่าวโทษว่า ข้าราชการได้กระทำผิดวินัย โดยผู้กล่าวโทษอาจจะมิใช่ ผู้เสียหายโดยตรง ซึ่งอาจเป็นข้าราชการหรือราษฎรก็ได้ แต่การกล่าวโทษโดยบัตรสนเทห์ไม่รับพิจารณาถ้าไม่ลงลายมือชื่อแท้จริงของ ผู้กล่าวโทษ เว้นแต่บัตรสนเทห์นั้นได้ระบุพยานแวดล้อมที่ ปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนพยานบุคคลชัดเจน
     3.2 การกล่าวหา หมายถึงกรณีผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดวินัยของข้าราชการ กล่าวหาให้ดำเนินการทางวินัยข้าราชการผู้นั้น
     3.3 ผู้บังคับบัญชาพบเห็นหรือตรวจพบในการปฏิบัติหน้าที่
     3.4 ป.ป.ช.หรือ สตง. ชี้มูลความผิดวินัย ในกรณีที่ได้มีการร้องเรียนกล่าวหาว่าข้าราชการได้กระทำ ความผิดวินัยที่เกี่ยวเรื่องการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินของทางราชการ


4. ประเภทและฐานความผิดวินัย
     1.การกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการสอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและ ความยุติธรรมโดยไม่ชักช้า ตามที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรตามมาตรา 102 เพื่อพิจารณาลงโทษตาม
มาตรา 103 โดยผู้บังคับบัญชาสามารถพิจารณาลงโทษได้ 3 สถาน คือ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน แล้วแต่กรณีผู้บังคับบัญชาดำเนินการ ดังนี้
     1.แต่งตั้งคณะกรรมการ
     2.แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
     3.รวบรวมพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
     4.ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาโต้แย้งข้อกล่าวหาและพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
    5. การสอบสวนปากคำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องให้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ผู้ให้ปากคำลงลายมือชื่อพร้อมทั้งผู้บันทึกปากคำและคณะกรรมการที่ร่วมสอบสวนแล้ว
     6. คณะกรรมการพิจารณาพยานหลักฐานและเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาที่แต่งตั้งว่าผลการ
สอบสวนผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด ฐานใด มาตราใด และควรลงโทษสถานใด
     7. การดำเนินการสอบสวนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาอันสมควร

       2. การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการสอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและยุติธรรมอย่างไม่ชักช้า โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน และต้องแจ้งแก้ข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา (ม. 102) ประกอบกับต้องดำเนินการสอบสวนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ฉบับที่ 18(พ.ศ.2528) ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา

5. โทษทางวินัย
การลงโทษทางวินัย เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการรักษาวินัย ซึ่งเป็นวิธีการในทางปราบปรามผู้กระทำผิดวินัย โดยใช้สำหรับลงโทษข้าราชการผู้ที่กระทำผิดวินัย โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดขั้นเงินเดือน
4. ปลดออก
5. ไล่ออก

ข้อควรคำนึงในการลงโทษทางวินัย
1. ความผิดทางวินัยไม่มีอายุความ
2. การลงโทษทางวินัยต้องดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมาย เช่น ต้องมีการสอบสวนทางวินัยกรณีที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงต้องมีการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และให้โอกาสนำพยานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาต้องนำเรื่องเสนอ
อ.ก.พ.จังหวัด อ.ก.พ กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง แล้วแต่กรณี
3. ผู้สั่งลงโทษต้องเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจลงโทษได้
4. สถานภาพการเป็นข้าราชการ กรณีที่เป็นความผิดวินัยจะต้องเป็นการกระทำในขณะที่เป็นข้าราชการแล้ว และขณะลงโทษจะต้องเป็นข้าราชการอยู่ กรณีถึงแก่กรรมไปแล้วจะลงโทษทางวินัยไม่ได้ (ม.106)
5. การดำเนินการระหว่างสอบสวนพิจารณาทางวินัย
- การพักราชการ - การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน

6. การอุทธรณ์
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 124-128 กำหนดให้ข้าราชการผู้ถูกลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ใน กฎก.พ. ฉบับที่ 16 (พ.ศ.2540) ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์การอุทธรณ์เป็นหลักประกันความเป็นธรรมแก่ข้าราชการที่ถูกลงโทษทางวินัย โดยผู้ถูกลงโทษทางวินัยอาจอุทธรณ์เป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ.จังหวัด อ.ก.พ.กรม อ.ก.พ.กระทรวง หรือ ก.พ. ได้ ตาม ม. 125 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 ประกอบด้วย กฎ
ก.พ. ฉบับที่ 16 (พ.ศ.2540) ว่าด้วยอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
กระบวนการดำเนินการทางวินัย
ก่อนการดำเนินการทางวินัย การดำเนินการทางวินัย การวินิจฉัยสั่งการ
การสืบสวนข้อเท็จจริง
กรณีมีมูลกล่าวหาว่าเป็น
ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง (ม.99)
กรณีมีมูลกล่าวหาว่า
เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (ม. 99)
การสอบสวน
ตามวิธีการที่ผู้บังคับบัญชา
เห็นสมควร (ม. 102)
ตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กำหนดเป็น
กฎ ก.พ.ฉบับที่ 18 พ.ศ.2540 (ม.102)
การสั่งลงโทษ
โทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน
ลดขั้นเงินเดือน (ม. 103)
โทษปลดออกจากราชการ
ไล่ออกจากราชการ (ม. 104)

กรณีตัวอย่างการลงโทษข้าราชการและลูกจ้าง
เรื่องอยู่กับหญิงอื่น
นายช่างไฟฟ้าสื่อสาร 6 มีภรรยาโดยชอบด้วยกฏหมายอยู่แล้ว และมีบุตรด้วยกัน 1 คน แต่ได้อยู่กินกับหญิงอื่นโดยไม่จดทะเบียนสมรส จนมีบุตรสาววัยสามขวบด้วยกัน 1 คน มีความผิดฐานวินัยอย่างไม่ร้ายแรงฐานไม่รักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535ม.98 ว.1 ลงโทษภาคทัณฑ์

เรื่อง ดื่มเบียร์
เจ้าหน้าที่บริหารส่งเสริมสหกรณ์ 5 เสพสุราแล้วนำพาผู้หญิงพนักงานบริการจากร้านอาหารเข้าหลับ
นอนในสำนักงาน ฯ และดื่มเบียร์ในระหว่างเวลาปฏิบัติราชการที่สำนักงาน ฯ มีความผิดฐานวินัยอย่างไม่
ร้ายแรง ฐานไม่รักษา ชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อม
เสีย โดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.
2535 ม.98 ว.1 ลงโทษลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น

เรื่อง ไม่รับผิดชอบครอบครัว
3. เจ้าพนักงานการเกษตร 5 ไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่นในขณะที่ตนมีภรรยาโดยถูกต้องตาม
กฎหมายอยู่แล้ว และไม่รับผิดชอบครอบครัวเป็นเหตุให้ครอบครัวเดือดร้อน มีความผิดฐานวินัยอย่างไม่
ร้ายแรง ฐานไม่รักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อม
เสีย โดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. 2535 ม.95 ว.1 ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน

เรื่อง เสพสุรา
4. เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน 4 ได้เสพสุราจนเมา แล้วเข้าห้องสัมมนา และส่งเสียงดังรบกวนผู้เข้าร่วม
สัมมนาและยังสร้างความรำคาญให้แก่ผู้มาใช้บริการของโรงแรมด้วย มีความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ และ ฐานไม่รักษาชื่อเสียง
ของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใด ๆ
อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ม. 83 และ ม.98 ว.1
ลงโทษลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น

เรื่อง ผิดระเบียบการลา
5.เจ้าหน้าที่ธุรการ 2 ได้หยุดราชการบ่อยครั้ง ครั้งละหลายวันโดยอ้างว่าป่วย ไม่ปฏิบัติตามระเบียบว่า
ด้วยการลาของข้าราชการ ซึ่งกำหนดเรื่องลาป่วยว่า “ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตาม
-5-
ลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือจัดส่งใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้” แต่รวมเสนอใบลา
ขออนุญาตลาป่วยหลายๆครั้ง ต่อผู้บังคับบัญชาในคราวเดียวกัน มีความผิดฐานวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ฐานไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ม.91
และระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535 ข้อ 17 ลงโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน

เรื่อง สายเสมอ
6.เจ้าหน้าที่พัสดุ 5 ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตแห่งหนึ่ง มาปฏิบัติราชการสายปล่อยครั้งและได้ลงเวลาไม่ตรงตามเวลาที่มาปฏิบัติราชการจริง และบางครั้งมาปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้ว ก็ไม่อยู่
ปฏิบัติราชการในสำนักงานฯ ผู้บังคับบัญชาจึงไม่อาจมอบหมายงานให้ปฏิบัติได้ผู้บังคับบัญชาได้เรียกมา
ว่ากล่าวตักเตือนและไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้ มาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ก็ไม่ปฏิบัติตัวให้ดีขึ้นโดยยังมาสายและ
มาแล้วก็ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการเช่นเดิม
หมายเหตุ
คำว่า “ละทิ้งหน้าที่” หมายถึง ไม่มาสถานที่ทำงาน หรือมาแล้วหายไปผู้ปฏิบัติงานหาตัวไม่พบ
“ทอดทิ้งหน้าที่” หมายถึง มาอยู่ในสถานที่ราชการแต่ไม่สนใจเป็นธุระไม่ทำงานปล่อยให้งานค้างมี
ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ฐานไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการละทิ้งหน้าที่ราชการ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ม. 92 ว. 1 ลงโทษลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น
กรณีตัวอย่างประพฤติชั่ว
- ข้าราชการมีภริยาน้อยทอดทิ้งภริยาหลวงและลูก โดยไม่ให้ค่าเลี้ยงดูและไม่ให้ค่าเล่าเรียนบุตร ลงโทษตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 2 เดือน
- ข้าราชการหญิงเป็นภริยาน้อยทั้งที่ทราบดีอยู่แล้วว่าเขามีภริยาอยู่แล้ว
- ข้าราชการชายแอบถ้ำมองที่ห้องอาบน้ำขณะที่นางสาว ก กำลังอาบน้ำ ถูกลงโทษตัดเงินเดือน 5 % เป็น เวลา 1 เดือน

กรณีเป็นความผิดฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ดังนี้
1. กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือ ให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือลหุโท
2. กระทำการอื่นใดอันได้เชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เช่น ข้าราชการเป็นชู้กับภริยาผู้อื่นหรือ ข้าราชการหญิงมีสามีเป็นชู้กับชายอื่น
3. กรณีการเบิกค่าเช่าบ้าน / ค่ารักษาพยาบาล / ค่าเบี้ยเลี้ยงในการเดินทาง ฯลฯ เป็นเท็จมิใช่เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ราชการ จึงมิใช่ความผิดฐานทุจริตต่อ หน้าที่ราชการ แต่เป็นการใช้สิทธิเบิกเงินจากทาง ราชการอันเป็นเท็จ เป็นความฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
-5-

1.มติคณะรัฐมนตรีหรือมติ ก.พ. ที่กำหนดโทษเกี่ยวกับความผิดฐานประพฤติชั่ว ดังนี้
1.1 กรณีการพนัน มติคณะรัฐมนตรี(พ.ศ. 2496) ถ้าข้าราชการเล่นการพนันประเภทที่กฎหมายห้ามขาด
(บัญชี ก.) เช่น ไฮโล โปปั่น จับยี่กี เก้าแต้ม ไพ่ป๊อก เป็นต้น ให้ลงโทษสถานหนักแต่ปัจจุบัน ก.พ. วาง
แนวทางการลงโทษให้ลงโทษสถานหนักในกรณีที่ข้าราชการเล่นการพนันประเภทห้ามขาดในบ่อนการ
พนัน ผิดกฎหมายเล่นในสถานที่ราชการ ละทิ้งหน้าที่ราชการไปเล่นการพนัน หรือหมกมุ่นการพนัน
ประเภทห้ามขาด
1.2 ถ้าเล่นการพนันประเภทที่กฎหมายอนุญาตให้เล่นได้ (บัญชี ข.) เช่น ไพ่ผ่อง ผสมสิบ ไพ่คู่ ระดับโทษ
ไม่ถึงขนาดปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
2. กรณีเสพสุราหรือเมาสุรา มติคณะรัฐมนตรี (พ.ศ.2496) กำหนดให้ลงโทษสถานหนัก
ในกรณี ดังนี้
- เสพสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
- เมาสุราเสียราชการ
- เมาสุราในที่ชุมชนจนเกิดเรื่องเสียหาย หรือเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ
3. กรณีเบิกเงินเท็จ ซึ่งได้แก่การเบิกเงินต่าง ๆ เช่น ค่าอาหารทำการนอกเวลา ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ
ค่ารักษาพยาบาล ค่าช่วยเหลือบุตรเป็นเท็จ มติ ก.พ. (พ.ศ.2536) ให้ลงโทษสถานหนัก
4. กรณีทุจริตในการสอบเลื่อนตำแหน่ง ให้ลงโทษสถานหนักแม้แต่เพียงพยายามทำความผิด

ที่มา : การดำเนินการทางวินัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น