ศึกษาเรียนรู้

29.8.62

ยอดกตัญญูเกิดเป็นจากฝึก


ยอดกตัญญูเกิดเป็นจากฝึก
 
ที่มาภาพ : www.dhammajak.net

            ข้าพเจ้าเข้าไปอ่านประวัติเจ้าคุณนรฯ(พระยานรรัตนราชมานิต) เห็นว่าเป็นประโยชน์โดยเฉพาะเยาวชนที่ควรเอาเป็นแบบอย่างในเรื่องความกตัญญูรู้คุณคน   พระยานรรัตนราชมานิตเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว    ได้ทำงานด้วยความอุตสาหะ                 ตั้งใจรับราชการสนองพระเดชพระคุณอย่างสุดกำลัง ไม่ว่าทั้งด้านกายใจ ได้ทุ่มเทอุทิศถวายให้ทั้งหมด แม้กระทั่งชีวิตและความสุขของตนเอง   ด้วยความซาบซึ้ง ตระหนักชัดในความจงรักภักดี    จึงเป็นเหตุให้ท่านตัดสินใจบวชหน้าไฟ อุทิศถวายเป็นพระราชกุศล ในวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ แล้วก็กลายเป็นบวชจนชั่วชีวิต

            ท่านได้อธิบายเรื่องความสุขในพุทธสุภาษิต.... “นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ”“   สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี         ท่านบอกว่าความสุขอื่นมีเช่นกัน   ความสุขในการดูละคร ดูหนัง  การเข้าสังคม  การมีคู่รักคู่ครองหรือ ในการมีลาภยศ   ได้รับความสุขจากการสรรเสริญ  แต่ความสุขจากสิ่งเหล่านี้มีทุกข์ซ้อนอยู่ทุกอย่าง    ต้องคอยแก้ไขปรับปรุงกันอยู่เสมอไม่เหมือนกับความสุขที่เกิดจากสันติ ความสงบ ซึ่งเป็นความสุขที่เยือกเย็นและไม่ซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงตกแต่งมาก       เป็นความสุขที่ทำได้ง่าย ๆเกิดกับกายใจของเรานี่เอง     อยู่ในที่เงียบ ๆ คนเดียวก็ทำได้หรือ อยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้    ถ้าเรารู้จักแยกใจหาสันติสุข กายนี้ก็เพียงสักแต่ว่า     อยู่ในยุ่งยาก สิ่งแวดล้อมที่ลำบาก  สิ่งเหล่านั้นไม่ยุ่งมาถึงใจ  แม้เวลาเจ็บหนัก            มีทุกขเวทนาปวดร้าวไปทั่วกายแต่เรารู้จักทำใจให้เป็นสันติสุขได้   ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ใจเดือดร้อนตามไปด้วย    เมื่อใจสงบแล้วกลับจะทำให้กายนั้นสงบ หายทุกขเวทนาได้ด้วยและประสบสันติสุข    ซึ่งไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้น
ที่มาภาพ : www.vstarproject.com
พระพุทธเจ้าสอนให้ฝึกเป็น 3 ทาง คือ
1. สอนให้สงบกาย วาจา ด้วย ศีล   ไม่ทำโทษทุจริตอย่างหยาบ ที่เกิดทางกาย วาจา เป็นเหตุให้ เกิดสันติสุข ทางกาย วาจา เป็นประการต้น
2. สอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจด้วยสมาธิ   หัดใจไม่ให้คิดถึงเรื่อง ความกำหนัด ความโกรธความโลภ ความหลง  ความกลัว ความฟุ้งซ่านรำคาญ ความลังเลใจ สิ่งเหล่านี้ทำให้ใจไม่เด็ดเดี่ยว ไม่เด็ดขาด   เมื่อละสิ่งเหล่านี้ได้   เป็นเหตุให้ใจสงบ เป็น สันติสุขทางจิตใจอีกประการหนึ่ง
3. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางทิฏฐิ     ความเห็นด้วยปัญญาพิจารณาให้เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายไม่แน่นอน เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมสิ้น แปรปรวนดับไป เรียกว่าเป็นทุกข์     ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา อ้อนวอนขอร้องเร่งรัดให้เป็นไป ตามความประสงค์     ท่านเรียกว่า อนัตตา เมื่อเรารู้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้จิตใจของเราเข้มแข็งมั่นคงเด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ทั้งหลาย   เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาว่า สิ่งเหล่านั้นมันไม่แน่นอน   มันคงอยู่ไม่ได้   ต้องเปลี่ยนแปลง เสื่อมสิ้นดับไป ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาฝ่าฝืนของเรา   อย่าไปเร่งรัดให้เสียกำลังใจ   คงรักษาใจให้เป็นอิสระมั่นคงอยู่เสมอ ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้น    เป็นเหตุให้ใจตั้งอยู่ในสันติสุข    เป็นอิสระเกิดอำนาจทางจิต   ที่จะใช้ทำกิจอันเป็นหน้าที่ของตนได้สำเร็จสมประสงค์
ด้วยความเป็นคนที่จงรักภักดี   ยอดตัญญูรู้คุณคนของท่านเจ้าคุณนรฯ      จนท่านได้ค้นสัจธรรมพบธรรมะ ค้นพบความสุขจากการปฏิบัติของท่านด้วยตัวท่านเอง      เราเป็นผู้มาที่หลัง ผู้เป็นลูกเป็นหลาน เป็นเยาวชนจึงต้องฝึกให้มากๆโดยเฉพาะในด้านความดี                เราต้องการเป็นคนดี ก็จำต้องฝึก ฝึกบ่อยๆ ฝึกจนดี ทุกอย่างจะพ้นการฝึกไปไม่ได้  งานอะไรก็ต้องฝึกทั้งนั้น               ฝึกคิด ฝึกอ่าน ฝึกเขียน ฝึกทน ฝึกคน  ฝึกทำ  และฝึกจิตฝึกใจ ...................  ขอให้ผู้มาที่หลังสวมร่างเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยการฝึกอย่างแท้จริงเทอญ.

เรียบเรียงและจัดทำโดย....นายวีระชัย  จันทร์สุข
หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น