ศึกษาเรียนรู้

แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา กาแฟ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา กาแฟ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด

3.10.63

บทเรียนที่ 4 กาแฟในถ้วยกระดาษ

บทเรียนที่ 4 กาแฟในถ้วยกระดาษ

“จำไว้คุณ คือ ใคร”

  มีข้าราชการเกษียณอายุท่านหนึ่ง ได้มายืนอยู่

ณ. ที่แห่งนี้  ท่ามกลางผู้เข้าฟังหลายร้อยคน

เขาเป็นอดีตผู้บังคับบัญชาข้าราชการแห่งหนึ่ง

เขายืนอยู่หน้าเวที    ในขณะที่เขาเริ่มการพูดของเขา

โดยยกกาแฟในถ้วยกระดาษขึ้นมาจิบ

เขาได้ขัดจังหวะในการพูดของเขาว่า

รู้มั้ยเมื่อปีที่แล้ว   ผมเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีข้าราชการ

ลูกจ้าง หลายหมื่นคน ผมได้มาพูดอยู่บนเวทีนี้

ณ. ที่แห่งนี้ เค้าเชิญผมมา โดยบินมาด้วยชั้นธุรกิจ

มีรถไปรับที่สนามบินมาที่โรงแรม

มีคนเช็คอินโรงแรมรอไว้ให้แล้วและพาผมขึ้นไปบนห้องพัก

ตอนเช้ามีคนมารอรับที่ล็อบบี้โรงแรม และพาผมมาที่นี่

ที่ด้านหลังเวทีพาไปห้องพักรอ และเสริฟกาแฟผมด้วยถ้วยกระเบื้องหรูหราสวยงาม

แต่ตอนนี้ ผมไม่ได้เป็น ผู้บังคับบัญชาหน่วยงานนั้นแล้ว

ผมบินมาด้วยชั้นประหยัด นั่งแท็กซี่มาที่โรงแรมและเช็คอินด้วยตัวเอง

ตอนเช้าผมนั่งแท็กซี่มาที่นี่เอง  เดินเข้าทางด้านหน้า

ถามหาทางเข้ามาหลังเวที ผมขอกาแฟ มีใครคนหนึ่งชี้นิ้วไปที่เครื่องทำกาแฟที่มุมห้อง

และผมก็รินกาแฟใส่ถ้วยกระดาษตรงนั้นด้วยตัวเอง

บทเรียนนี้สอนผมว่า “ถ้วยกระเบื้อง”  ไม่ได้มีไว้สำหรับผม

แต่….มันมีไว้สำหรับ "ตำแหน่ง”   ที่ผมเป็นต่างหาก

ส่วนตัวผมมีค่าเหมาะแค่…  “ถ้วยกระดาษ”

เราทั้งหลายมีค่าแค่ “ถ้วยกระดาษ” เมื่อคุณเริ่มประสบความสำเร็จในชีวิต…คุณจะได้รับความสะดวกสบาย…ผู้คนจะเรียกว่า “ท่านครับ..ท่านค่ะ” เค้าจะช่วยคุณ..ถือกระเป๋า ..เปิดประตูให้คุณ ..ชงชา/กาแฟให้คุณดื่ม…ทั้งๆที่คุณไม่ได้ร้องขอ..…แต่จงจำไว้ว่า…

จริงๆแล้ว.. นั่นเขาไม่ได้ทำให้คุณ   แต่เขาทำให้ "ตำแหน่ง” ที่คุณเป็นต่างหาก

…เมื่อคุณก้าวออกไป...เขาจะเอาทุกอย่างไปให้กับ คนที่มาแทนที่ในตำแหน่งของคุณทันที

…อย่าลืมเป็นอันขาดว่า…เรามีค่าเหมาะแค่ “ถ้วยกระดาษ” เท่านั้น

และต้องปลงให้ได้ สำหรับคนส่วนใหญ่ที่คบกันด้วยหน้ากากและตำแหน่งหน้าที่

สุดท้ายแล้ว ที่เหลือคือพี่น้อง และญาติของเรานี่เอง   รักษากันไว้ให้ดี!


27.2.63

สารเสพติด

 งานสารเสพติด

การสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา เน้นมาตรการที่เหมาะสมกับช่วงวัยและเป็นระบบต่อเนื่องตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย - อุดมศึกษา ภายใต้กรอบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา





        
             การที่เด็กลองหรือติดยาเสพติดนั้นเกิดจากหลายๆ ปัจจัยปัญหา เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเรียน หรือปัญหาเรื่องเพื่อน เป็นต้น เพราะฉะนั้นวิธีการคือ เน้นที่การรับฟังปัญหาและทำความเข้าใจ ไม่ด่วนตัดสินใจหรือลงโทษว่าผิด เข้าไปคุยกับลูก ด้วยท่าทีที่ผ่อนคลาย คุยกับลูกว่าเกิดอะไรขึ้น พ่อแม่ทราบว่าลูกกำลังทุกข์ใจ อยากจะบอกอะไรกับพ่อแม่ทราบไหม ให้พ่อแม่ช่วยอย่างไรบ้าง เป็นต้น ลูกจะอยากคุยและพร้อมจะร่วมแก้ไข ตลอดจนปรึกษาผู้รู้ หรือผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาสารเสพติด ตามโรงพยาบาลทุกแห่ง หรือสายด่วนสุขภาพจิต 1323 และถ้าหากลูกหลานติดสารเสพติดมานาน จนทำให้สภาพร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมและบุคลิกภาพเบี่ยงเบนไปจากเดิม ครอบครัวไม่สามารถควบคุมได้ ควรส่งลูกเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านจิตใจ ในสถานบำบัดรักษาต่างๆ ทั่วประเทศ



ประเภทของยาเสพติด

  1. ออกฤทธิ์กดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟิ่น เฮโรอีน เซโคบาร์ทิบาท (บาร์บิทูเรต) เหล้าแห้ง หรือโซโคบาล ทำให้ประสาทมึนชา สมอง อารมณ์ จิตใจ เฉื่อยชา
  2. ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน กระท่อม โคเคน พวกยาม้า ยาขยัน กระตุ้นเร่งประสาททำให้เกิดนิ่ว ตื่นตัว กระวนกระวาย ประสาทไหวตัวอยู่เสมอ
  3. ออกฤทธิ์หลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ทำให้เกิดประสาทหลอนเห็นภาพผิดไปจากปกติ
  4. ออกฤทธิ์ผสมผสานกัน ทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาท และหลอนประสาท เช่น กัญชา

อาการ

  1. เด็กที่ติดยาเสพติดมีลักษณะอาการที่สังเกตเห็นได้หลายชนิด ทั้งทางด้านร่างกายและพฤติกรรมแสดงออกดังนี้
  2. หน้าตาเฉยเมยแบบคนที่มีความทุกข์
  3. ผอมซีด สุขภาพทรุดโทรม
  4. ความประพฤติเปลี่ยนไป ละเลยกิจวัตรประจำวัน ระเบียบวินัยลดหย่อน
  5. กลายเป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิด ฉุนเฉียว ผิดปกติ โมโหง่า
  6. มีลับลมคมใน ชอบแยกตัวอยู่คนเดียวเงียบๆ
  7. เบื่อหน่ายการงานและการเรียน ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
  8. มักมียา อุปกรณ์แปลกๆเก็บไว้ในห้องส่วนตัว
  9. อาจมีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น กระดาษ ตะกั่ว หลอดกาแฟ ไม้ขีด หลอดฉีดยา เป็นต้น
  10. ใช้เงินเปลืองผิดปกติ มีหนี้สิน บางครั้งขโมย
  11. สวมแว่นกันแดดตลอดเวลา เพื่อซ่อนแก้วตาที่วาว เบิกกว้างหรือริบหรี่
  12. ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยา
  13. มักชอบอยู่ในห้องเก็บของ ซ่อนตัวอยู่ในห้อง อยู่หลังส้วมเพื่อแอบสูบบุหรี่ เสพยา
  14. ถ้าอยู่ในห้องเรียน เด็กจะเกียจคร้าน ง่วงหงาวหาวนอน ตาหรี่ เพราะสู้แสงไม่ได้ เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง

สาเหตุของการติดยาเสพติด

ทางด้านร่างกาย

  • การจัดหาหรือซื้อสารเสพติดด้วยตนเองเนื่องจากมีอาการเจ็บปวดทางร่างกาย
  • พวกรักษาตนเอง เช่นประสบอุบัติเหตุแพทย์ให้ยาระงับปวดอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ภายหลังได้ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยตนเอง เลยทำให้ติดยาโดยไม่ตั้งใจ

ทางด้านจิตใจ

  • พวกบุคลิกภาพผิดปกติ เช่น ต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ชอบพึ่งพาผู้อื่น แยกตัวเองหรือซึมเศร้า
  • พวกที่มีความกังวลใจ หวาดกลัว หรือป่วยเป็นโรคประสาทหรือโรคจิตมีอาการนอนไม่หลับ มักใช้ยาเสพติดระงับความรู้สึกจึงทำให้ติดได้
  • สภาพครอบครัวแตกแยก พ่อแม่ไม่เข้าใจกัน เด็กขาดความอบอุ่น หรืออบรมเลี้ยงดูลูก ไม่ถูกต้อง หรือมีคนในครอบครัวติดสารเสพติด

ทางด้านสังคม

  • ถูกเพื่อนชวน อยากลอง
  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับพวกติดสารเสพติด
  • ความกดดันทางสังคม เช่น มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ไม่มีงานทำ

โทษของการติดยาเสพติด

โทษต่อร่างกายและจิตใจ

  • ทำลายประสาทสมอง จิตใจเสื่อม ซึมเศร้า กังวล เลื่อนลอย และเป็นโรคจิตจากพิษยานั้นๆ
  • เสียบุคลิกภาพ ขาดความสนใจตนเอง ขาดสติสัมปชัญญะ
  • ร่างกายซูบซีด อ่อนเพลีย
  • พิษยาทำลายอวัยวะต่างๆให้เสื่อมลง มีโรคแทรกได้ง่าย
  • ประสบอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะการควบคุมทางกล้ามเนื้อและระบบประสาทบกพร่อง

โทษต่อครอบครัว

  • ขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัวและญาติพี่น้อง
  • เสียทรัพย์ที่จะต้องซื้อยามาเสพ และรักษาตัว
  • ขาดหลักประกันของครอบครัว ทำงานไม่ได้ ไม่เป็นที่วางใจ ของคนทั่วไป นำภัยมาสู่บุตร ภรรยา ญาติพี่น้อง

โทษต่อสังคม

  • เป็นภัยต่อสังคม
  • มีโอกาสเป็นอาชญากรประเภทลักขโมยได้ง่ายเนื่องจากมีรายจ่ายสูง

โทษต่อส่วนรวมและประเทศชาติ

  • เป็นภัยอันตรายต่อผู้อื่น ชุมชนและประเทศชาติ เพิ่มงบประมาณของประเทศในการป้องกันปราบปรามและบำบัดรักษา
  • ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศ

วิธีการแก้ไข

  1. การแก้ไขเด็กติดยาเสพติด ต้องการกำลังใจจาก ผู้ปกครองและครูเป็นอย่างมาก ฉะนั้น ผู้ปกครองและครูจึงมีส่วนสำคัญในการช่วยเด็กของตนให้หายจากการติดยาเสพติดซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
  2. สร้างบรรยากาศในครอบครัวให้มีความสุข พ่อแม่ควรปรองดองกัน จะทำให้เด็ก มีความมั่นคงทางจิตใจ รู้สึกอบอุ่น
  3. พ่อแม่และครูต้องให้ความเป็นกันเองกับเด็ก จะทำให้เด็กแน่ใจว่าผู้ใหญ่พยายาม ที่จะเข้าใจเขาพร้อมที่จะช่วยเหลือเขาเด็กจะรู้สึกเป็นกันเองที่จะพูดคุยถึงปัญหา ของตนโดยไม่มีการซ่อนเร้นและควรพูดจาซักถามสาเหตุ เวลาที่เสพติดนานแค่ไหน อย่าประนามดุด่าเด็กและควรหาทางช่วยเหลืออย่างรีบด่วน
  4. อธิบายให้เด็กเข้าใจและรู้โทษตามกฎหมายที่จะได้รับจากการใช้ยาเสพติด
  5. ให้เด็กได้รู้โทษของยาเสพติด
  6. ร่วมมือกับครูประจำชั้นเพื่อหาทางแก้ไข เช่นจัดกลุ่มอภิปรายกับเด็กนักเรียน ถึงพิษภัยและโทษของยาเสพติด ครูที่สนใจปัญหาต่างๆเหล่านี้และรับฟังเด็กด้วยท่าทีที่เห็นใจ จะช่วยเด็กได้อย่างมาก
  7. จัดกิจกรรมที่เสริมสร้างพลังใจ อารมณ์ ความนึกคิดไปในทางที่มีความหมาย เช่น ชมรมกีฬา ชมรมดนตรี
  8. พาเด็กไปพบแพทย์ตามสถานที่รับรักษาผู้ติดยาเสพติด หรือสถานที่บางแห่งรักษาด้วยสมุนไพรเช่น ที่ถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี
  9. ควรแยกเด็กจากสิ่งแวดล้อมเดิมหรือให้ห่างจากเพื่อนที่ติดยาเสพติดด้วยกัน เพื่อป้องกันไม่ให้กลับไปเสพอีก
  10. อธิบายให้เด็กเข้าใจว่าการเลิกยาเสพติดนั้นอยู่ที่การตัดสินใจของเขาเอง เขาต้องรับผิดชอบชีวิตของเขาเอง เขาต้องรับผิดชอบชีวิตของเขาเอง การที่เขาเลิกยาเสพติดได้จะทำให้อนาคตของเขาดีขึ้น

 

การติดยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน มักจะเนื่องมาจากครอบครัว ไม่เป็นสุขมีความขัดแย้ง หรือปล่อยปละละเลยจนถูกชักจูงไปเสพได้ง่าย หรือใช้ยาเสพติดเป็นทางออกของชีวิต การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ในครอบครัว การให้ความรักความเข้าใจ แก่เด็กและเยาวชนบุตรหลานของท่าน อย่างมีเหตุผลที่ถูกต้องเหมาะสมก็จะเป็นการป้องกันปัญหาการติดยาเสพติดได้

 

นอกจากนั้นครูก็มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือเด็ก ถ้าครูให้ความสนใจต่อเด็กบ้างทักทาย ถามปัญหา ถึงแม้บางครั้งจะช่วยได้ไม่มาก แต่ครูก็สามารถที่จะแนะนำเด็กในทิศทางที่ถูกต้องและควร จะหาใครให้ช่วยเหลือ

 

ครูที่เข้าใจและเห็นใจเด็กจะเปรียบเสมือนผู้ใหญ่ในแบบฉบับที่เป็นจริง ที่เด็กจะได้พึ่งพิงและเอาเยี่ยงอย่าง ไม่ใช่เป็นผู้ใหญ่ในโลกสมมุติเหมือนที่เด็กใช้ยาเสพติด เพื่อสร้างภาพเงานั้นขึ้นมา

 

ผู้รวบรวมและเรียบเรียงอัญชลี จุมพฎจามีกร

ผู้ให้คำปรึกษา: ผศ.นพ.สเปญ อุ่นอนงค์ 


ทำไมผู้ติดยาเสพติดถึงเป็นผู้ป่วย เพราะ

- ผู้ติดยาเสพติดจะมีภาวะสมองติดยาเกิดแรงกระตุ้นจนนำพาไปสู่ความอยากยา มีความจำเป็น ต้องหายาเสพติดเพื่อนำมาเสพ เมื่อเสพแล้วจะมีความสุข

- ภาวะสมองติดยา มีระยะเวลาในการป่วยของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับชนิดของสารเสพติดแต่ละตัวและปริมาณการใช้ รวมถึงปัจจัยแทรกซ้อนมากมาย

- ภาวะการติดยาเสพติด สามารถรักษาได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลา และความเข้าใจของครอบครัว ชุมชน

- ปัญหาการกลับไปเสพติดซ้ำเกิดจากผลกระทบทางด้านจิตใจ ครอบครัวขาดความอบอุ่น ร่างกายและจิตใจไม่เข้มแข็งพอ

 นโยบายผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

รัฐถือว่า ผู้เสพทุกคน เป็นผู้ป่วย และจะให้โอกาสในการบำบัดรักษา รวมถึงดูแลช่วยเหลือให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข การเสพยาเสพติดเป็นความผิดตามกฎหมายมีโทษถึงจำคุก โดยรัฐบาลได้ให้โอกาสผู้เสพยาเสพติด  ทุกคนเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ โดยไม่ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย หากพบผู้ใกล้ชิด ใช้ยาเสพติดขอให้ทำความเข้าใจ และแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาได้ที่โรงพยาบาลรัฐทุกแห่งตามสิทธิหลักประกันสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) รวมถึง โรงพยาบาลเฉพาะทาง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ 7 แห่ง และโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต 16 แห่ง

ขั้นตอนการบำบัดรักษา มี 4 ขั้นตอนง่าย ดังนี้

1. ขั้นเตรียมการ (Pre-Admission) ได้แก่ ขั้นตอนการสอบถามอาการ การตรวจร่างกายการประเมินคัดกรอง และการนัดหมายให้เข้ารับการบำบัด

2. ขั้นถอนพิษยา (Detoxification) เป็นการบำบัดอาการทางกายที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด และภาวะแทรกซ้อนต่าง มีทั้งแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ขึ้นอยู่กับสภาพการเสพการติด

3. ขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) เป็นการปรับสภาพร่างกายจิตใจ และสังคมของผู้เลิกยาให้มีความเข้มแข็ง ปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพและพฤติกรรม ให้สามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติสุข

4. การติดตามดูแล (Aftercare) เป็นการติดตามดูแลผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษา ทั้ง ขั้นตอนแล้ว  เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด

รูปแบบการบำบัดรักษา

เน้นนโยบายผู้เสพคือผู้ป่วย โน้มน้าว/ชักชวน/จูงใจให้ผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ โดยสถานพยาบาลในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สังกัดกรมการแพทย์ และโรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต ในพื้นที่ ดำเนินการคัดกรองโดยใช้แบบคัดกรองผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติด กระทรวงสาธารณสุข (V2) เพื่อจำแนกผู้ป่วยยาเสพติดเป็นกลุ่มผู้ใช้ ผู้เสพ และผู้ติด และดำเนินการบำบัดฟื้นฟูหรือส่งต่อตามสภาพการเสพติด ภายใต้มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ดังนี้

1) กรณีผู้ใช้ : ให้การบำบัดฟื้นฟูในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สังกัดกรมการแพทย์ และโรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต ด้วยการให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพ (Health Education & Promotion) การให้คำแนะนำแบบสั้น (Brief Advice : BA) หรือการบำบัดแบบสั้น (Brief Intervention : BI) อย่างน้อย 1 ครั้ง และการช่วยเหลือของครอบครัว โรงเรียน และชุมชน รวมถึงการบำบัดโรคร่วมทางจิตเวช (ถ้ามี)

2) กรณีผู้เสพ : ให้การบำบัดฟื้นฟูในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สังกัดกรมการแพทย์ โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต การบำบัดในรูปแบบ ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

3) กรณีผู้ติด : ให้การบำบัดฟื้นฟูในโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สังกัดกรมการแพทย์ และโรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต

สถานที่ในการบำบัดรักษา

         ผู้ที่ใช้ยาเสพติดหรือผู้ปกครองหรือครอบครัวนำผู้เสพซึ่งรัฐบาลถือว่าเป็นผู้ป่วยเข้ามารับการบำบัดรักษา   ได้ที่โรงพยาบาลรัฐทุกแห่งตามสิทธิหลักประกันสุขภาพ ซึ่งอาจจะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล   หรือโรงพยาบาลชุมชนที่เป็นโรงพยาบาลระดับอำเภอที่มีอยู่กว่า หนึ่งหมื่นแห่งทั่วประเทศ รวมไปถึงโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลเฉพาะทาง ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ที่มีอยู่ แห่งทั่วประเทศ  ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น อุดรธานี สงขลา และปัตตานี และโรงพยาบาล  ในสังกัดกรมสุขภาพจิตจำนวน 16 แห่ง   

เตรียมตัวอย่างไร

          ขั้นตอนในการเตรียมตัว สำหรับผู้ป่วยที่สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาล ดังนี้ 

1) เตรียมความพร้อมผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล ซึ่งทั้งผู้ป่วยและญาติต้องเข้าใจขั้นตอนการบำบัดรักษา  ว่ามีแนวทางอย่างไร ใช้เวลาเท่าไร

2) เตรียมเอกสารที่แสดงตัวตนของผู้ป่วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้และมีรูปถ่ายของผู้ป่วยติดไว้

3) การบำบัดรักษายาเสพติดไม่มีค่าใช้จ่ายใด ทั้งสิ้น ยกเว้นถ้าหากมีโรคร่วมโรคแทรก เช่น วัณโรค ท้องเสีย ไวรัสตับอักเสบ ฯลฯ ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพหรือบัตรทอง บัตรประกันสังคม ร่วมได้ในสถานพยาบาลตามที่ระบุในบัตร

ผู้เสพยาเสพติดและญาติที่สนใจจะส่งบุตรหลานเข้ารับการรักษา สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1165 ตลอด 24 ชั่วโมง 

กรณีพบผู้เสพที่มีอาการคลุ้มคลั่งอาละวาด สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง

กรณีพบเบาะแสยาเสพติด สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน 1386 ตลอด 24 ชั่วโมง