ศึกษาเรียนรู้

3.6.64

เด็กออกกลางคัน

เด็กออกกลางคัน


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีบทบัญญัติสิทธิของบุคคลในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเด็กทุกคน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งเด็กปกติ เด็กยากไร้หรืออยู่ในภาวะยากลำบาก เด็กพิการหรือทุพพลภาพ จะได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพและได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง แต่ในภาพความเป็นจริง ยังมีเด็กจำนวนมากที่ไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง โดยต้องออกจากโรงเรียนกลางคันและไม่จบการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งปัญหาดังกล่าว ส่งผลลบทั้งต่อตัวเด็กเอง และกระทบกับสังคมในระยะยาวด้วย

นิยามปัญหาและสาเหตุ: เด็กออกกลางคัน (Dropout)

หมายถึง นักเรียนที่เคยเข้าเรียนในสถานศึกษา แต่ออกจากสถานศึกษาโดยไม่กลับเข้ามาเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี (ป.1-ม.3) 
แบ่งออกเป็น 3 สถานการณ์ที่ทำให้เป็นปัญหา ได้แก่

1. เด็กมี “ความจำเป็น”
มีเงื่อนไขส่วนตัวที่ไม่สามารถเรียนต่อได้จนจบ ทำให้คิดว่าการเรียนเป็นการเสียเวลา หรือ เสียประโยชน์ เป็นสถานการณ์ที่มักจะเกิดขึ้นในครอบครัวยากจน ที่มีหนี้สิน ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ ต้องการคนเยอะที่สุดมาช่วยหาเงิน ซึ่งผู้ปกครองของเด็กกลุ่มนี้ก็ไม่ได้รับการศึกษาสูงนักทำให้มองไม่เห็นประโยชน์ที่ลูกหลานจะได้รับจากการศึกษา ได้แก่
• เด็กที่ครอบครัวมีหนี้สิน ต้องดูแลครอบครัวเพราะสมาชิกเกิด/แก่/เจ็บป่วย/เสียชีวิต/แยกทาง ในหลายกรณี มักจะเป็นเด็กผู้หญิงที่ออกมาช่วยผู้ปกครองเพื่อให้น้อง (ผู้ชาย) ได้เรียน
• เด็กอพยพย้ายถิ่นตามผู้ปกครอง เพราะไม่มีญาติให้ฝากเด็ก และไม่ได้วางแผนการย้ายให้เด็กได้เรียน
• เด็กแต่งงาน-ตั้งครรภ์ มีครอบครัวที่ต้องดูแล

2. เด็ก (ถูกมองว่า) มีปัญหาพฤติกรรม
แม้จะมีพรบ.ให้สิทธิคุ้มครองเด็กทุกคนให้เรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับฯ แต่เด็กกลุ่มนี้ถูกมองว่าเป็นปัญหา เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับผู้อื่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถช่วยเหลือได้โดยการให้การสนับสนุนหรือให้โอกาส แต่ในความเป็นจริง วิธีแก้ไขปัญหาของสังคมยังเป็นไปในเชิงลงโทษ พักการเรียนหรือ “ขอให้ออก” จากสถานศึกษา เด็กกลุ่มนี้จึงมักจะรู้สึกแปลกแยกจากสังคม ไม่คู่ควรกับการศึกษา การลงทุน และไม่มีอนาคตที่ก้าวหน้า เช่นใน
• เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ใช้ความรุนแรง เกเร ขาดเรียน ขาดสอบบ่อยครั้ง
• เด็กมีประวัติ: ต้องคดี ติดยา ลักขโมย ตั้งครรภ์ไม่ตั้งใจ/ตั้งครรภ์ก่อนพร้อม
• เด็กไม่เรียนไม่เก่ง: เด็กไม่เก่งวิชาการโดยเฉพาะวิชา STEM เด็กพิการทางปัญญา เด็กที่มีความต้องการพิเศษ

3. เด็กไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาที่เหมาะสม
การเรียนการสอนส่วนใหญ่เป็นแบบ one size fits all ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับรองเด็ก “ทั่วไป” ไม่ครอบคลุมปัญหาที่มีความหลากหลายและเฉพาะตัวของเด็กกลุ่มอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่ไม่มีทรัพยากร และไม่มีคนคอยสนับสนุน เมื่อมีปัญหา ก็ไม่มี​การสื่อสารและหาทางออกร่วมกันระหว่างเด็ก ครู ผู้ปกครอง ทำให้ไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไรให้เด็กได้เรียนจนจบ เช่น
• เด็กกำพร้า เด็กยากจน เด็กที่บ้านห่างไกล เด็กในเขตสามจังหวัดชายแดนใต้​ ไม่มีผู้ดูแล-สนับสนุนให้เรียน ไม่มีทุนทรัพย์ไปเรียนอย่างปลอดภัย (ค่ารถ ค่าอาหาร ค่าชุด ค่าหนังสืออุปกรณ์การเรียน)
• เด็กที่ได้รับผลกระทบจากการเรียนการสอนที่ไม่เป็นมาตรฐาน เด็ก ในโรงเรียนที่มีครูจำนวนน้อยกว่าชั้นเรียนและต้องเรียนผ่านช่องการศึกษาทางไกลทางโทรทัศน์ เด็กที่เริ่มเรียนชั้นที่สูงขึ้นหรือย้ายโรงเรียนแล้วเรียนไม่ทันเพื่อน เรียนไม่ไหว
• เด็กพิการ ความต้องการพิเศษ แม่วัยรุ่น ที่ต้องออกจากระบบเพราะโครงสร้างทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย (การเดินทาง ขึ้นลงตึกเรียน ห้องฝากเด็กอ่อน)
• เด็กชาติพันธุ์ ข้ามชาติ เด็กพิการ ความต้องการพิเศษ ที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร-ภาษา (สื่อการเรียนการสอนที่เสริมพัฒนาการ การสื่อสารด้วยภาษาที่บ้านเป็นอีกภาษาที่ใช้คุยกับครูและเพื่อนที่โรงเรียน)
• เด็กที่รู้สึกเบื่อครู เบื่อเรียน รู้สึกว่าการเรียนไม่สอดคล้องกับชีวิต เด็กที่กดดันจากการเรียนการแข่งขันที่โรงเรียน ถูกบูลลี่ รู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งกับสังคม

สถานการณ์: ปัญหาเด็กออกกลางคันรุนแรงแค่ไหน

ในแต่ละปี ประเทศไทยมีเด็กออกกลางคันมากถึง 2% จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 1 เมื่อนำมารวมกับจำนวนเด็กวัยเดียวกันที่ไม่ได้เรียนตั้งแต่เกิด และที่หลุดออกก่อนหน้านี้ เรียกรวม ๆ กันว่าเด็กนอกระบบ ซึ่งมีอยู่ไม่น้อยกว่า 1.2 ล้านคนแล้ว จะพบว่าในเด็กไทยทุกๆ 100 คน จะมี 16 คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ2

ในขณะที่เด็กที่มีทรัพยากรและผู้สนับสนุนมากกว่าเติบโตไปมีคุณภาพชีวิตที่ดี เด็กที่ไม่ได้รับการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมีภาระทางการเงิน มีหนี้สิน3อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ 40% และ 20% ล่างสุด มีรายได้เพียง 3,000 และ 1,500 บาทต่อคนต่อเดือนเท่านั้น  คิดเป็นรายได้ที่ต่ำกว่ากลุ่มรายได้สูง 10% บนสุด ถึง 10 เท่า4

นอกจากนี้ เด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อทางเลือกในการดำเนินชีวิต การงาน ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว อนาคต จนถึงรุ่นลูกหลาน กลายเป็นวงจรโง่-จน-เจ็บ  เด็กที่ออกกลางนั้นจะไม่ได้รับประโยชน์จากงบที่รัฐจัดสรรสำหรับการศึกษากว่าปีละ 5 แสนล้านบาท ไม่ได้รับความรู้ เครื่องมือ การสนับสนุน และสังคมสนับสนุน ตลอดจนขาดโอกาสในการจัดการปัญหาที่ตนเอง ครอบครัวและชุมชนเผชิญ  

  • ในปี 2561 รัฐบาลได้จัดสรรเงินประมาณสำหรับดำเนินงานด้านการศึกษา กว่า 5 แสนล้านบาท หรือ 18.1% ของงบประมาณทั้งหมด ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะไม่ได้รับประโยชน์จากเงินจัดสรรเหล่านี้เลย5
  • มีเด็กไทยมากกว่า  2,000,000 คน ที่เสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาเพราะความยากจน6
  • ครอบครัวในกลุ่มยากจนที่สุด มีรายได้เพียง 15 บาทเท่าวันต่อคนต่อวันเท่านั้น7
  • เด็กที่ไม่ได้รับการศึกษา เสี่ยงก่อเกิดปัญหาสังคมได้มากกว่านักเรียนร่วมวัยถึง 7 เท่า และยังมีชีวิตสั้นลง 9 ปีเมื่อเทียบกับเด็กในสังคมเดียวกัน8

ผลกระทบ: เด็กนอกระบบส่งผลกระทบอะไรบ้าง 

ประชากรไทยอายุ 15-59 ปี (กลุ่มกำลังแรงงาน) มีปีการศึกษาเฉลี่ย เท่ากับ 9.57 ปี หรือเทียบเท่าชั้นม.1 เท่านั้น9 สะท้อนถึงคุณภาพแรงงานที่ไม่มีความรู้เชิงลึก ไม่มีทักษะเฉพาะ ประกอบอาชีพที่ให้รายได้ต่ำ ถูกแทนที่ได้ง่าย ยากที่จะเพิ่มทักษะเฉพาะหรือเติบโตในเส้นทางการทำงาน (Career Path)  และด้วยรายได้ที่น้อยกว่าจะอยู่ในฐานภาษี ประเทศไทยจึงมีสัดส่วนผู้เสียภาษีน้อย เมื่อเทียบกับผู้ได้รับผลประโยชน์จากเงินภาษี จึงไม่มีงบประมาณมากพอที่จะใช้พัฒนาประเทศให้ทัดเทียมและเท่าทันการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลง 

  • คนหนุ่มสาว (อายุ 25-30 ปี) ที่มีการศึกษาระดับอนุปริญญาหรืออุดมศึกษาจะสามารถมีรายได้มากกว่าคนรุ่นเดียวกันที่มีการศึกษาระดับประถมถึง 2 เท่า และเมื่อถึงวัยก่อนเกษียณ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ก็จะถ่างกว้างออกไปเป็นกว่า 5 เท่า10
  • กลุ่มประชากรรายได้ต่ำ 40% ล่างสุดไม่มีการขยับขึ้นทางสังคมมานานกว่า 4 รุ่นแล้ว
  • ในระดับประเทศ คุณภาพแรงงานไทยต่ำกว่ามาเลเซียถึง 3 เท่า เหตุนี้ทำให้ประเทศไทยสูญเสียเงิน 3 แสนกว่าล้านบาทต่อปี คิดเป็น 3% ของ GDP11 

ปัญหาเด็กออกกลางคันจึงเป็นปัญหาจำเป็น เร่งด่วนและรอไม่ได้  เพื่อให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาส ทักษะ ความรู้ บ่มเพาะความคิด เติบโตไปเป็นแรงงานคุณภาพ มีคุณภาพชีวิต และมีความสุขมากขึ้น คิดค้นและแก้ไขปัญหาให้กับประเทศ  เป็นผู้เสียภาษี สังคมเหลื่อมล้ำเหลื่อมล้ำน้อยลงและไว้ใจกันมากขึ้น ประเทศพ้นความเสี่ยงด้านวิกฤติเศรษฐกิจ พร้อมทั้งพ้นกับดักการเป็นประเทศกำลังพัฒนา เปลี่ยนสถานะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว

ตอนนี้มีใครแก้ไขปัญหานี้อยู่ และมีช่องว่างตรงไหนให้เราทำบ้าง



เด็กออกเพราะมีความจำเป็น
เด็ก(ถูกมองว่า)มีปัญหาพฤติกรรม ถูกออกจากการศึกษาเด็กไม่ได้รับการเรียนรู้
และการสนับสนุนที่เหมาะสม

ทุนการศึกษา
กสศ. (โครงการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข Conditional Cash Transfer)
กยศ. (ให้ทุนกู้เรียน)
กองทุน 10 บาท จ.เชียงใหม่

กสศ. (โครงการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข Conditional Cash Transfer)
กยศ. (ให้ทุนกู้เรียน)
กองทุน 10 บาท จ.เชียงใหม่
พัฒนาระบบคัดกรองเด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษากสศ. (iSEE Big Data)
EdWINGS (Data)
กลุ่มลูกเหรียง (ทุน คนดูแล ที่พัก)
Inskru (ครูเข้าถึงเครื่องมือเข้าถึง-สนับสนุนเด็กรายคน)
โรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก จันทบุรี และโรงเรียนวัดสังเวช กทม. (เด็กตั้งครรภ์เรียนจนจบ)
กสศ. (Big Data)
EdWINGS (Data)
Inskru (ครูเข้าถึงเครื่องมือเข้าถึง-สนับสนุนเด็กรายคน)
ทำงานกับครอบครัวให้เด็กได้เรียน เน้นการสร้างคุณค่าให้กับการศึกษาUnicef (ลงพื้นที่พูดคุยกับครอบครัว)
PLAN International (ลงพื้นที่พูดคุยกับครอบครัว)
P2H (โครงการพ่อแม่คุยกับลูกเรื่องเพศ)
Heartist (ทำงานกับพ่อแม่เด็กค.ต้องการพิเศษ)
บ้านทอฝัน (พื้นที่เรียนรู้ของครอบครัวเด็กพิการ)
Heartist (ทำงานกับพ่อแม่เด็กค.ต้องการพิเศษ)


สร้างเครือข่ายสังคมดูแลและช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงและเด็กนอกระบบ
คลองเตยดีจัง (สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กได้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ชุมชนไว้ใจกัน)
มูลนิธิสติ (รวมกลุ่มอาสามาเสริมทักษะความชอบ)
ก่อการครู (พื้นที่เรียนรู้ครูรุ่นใหม่)
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (เด็กเกเร ใช้สื่อเป็นเครื่องมือทำงานชุมชน และเปลี่ยนมุมมองที่ชุมชนมีต่อเด็ก)
a-chieve (ชุมชนพี่ต้นแบบที่ช่วยให้แนวทางด้านอาชีพ และการศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้น)
กองทุน 10 บาท จ.เชียงใหม่
The Guidelight (เครื่องมือช่วยเรียนจอง-ฝึกทักษะอาชีพของเด็กตาบอด)
วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล (พิการ เรียนรวม-ฝึกงาน)
ก่อการครู (ขบวนการของครูที่สร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา)
พัฒนาระบบ feedback เพื่อพัฒนาการเรียนรู้โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา (ระบบ PLC ของครู)
Inskru (เครื่องมือสนับสนุนเด็ก)
ก่อการครู (ขบวนการครูเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก)โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา (PLC ของครู)
ก่อการครู (พื้นที่เรียนรู้พัฒนาครูรุ่นใหม่)

สร้างทางเลือกทางการศึกษาที่ตอบโจทย์ชีวิตส่วนตัวและการศึกษา
สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย (จัดการเรียนตามความชอบ ความถนัดและวิถีชีวิต)
คลองเตยดีจัง (เข้าใจและให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้ตามโจทย์ของตัวเอง)
กศน.
สมาคมส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและส่งเสริมอาชีพ (เทียบโอน เรียนออนไลน์)
โรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก จ.จันทบุรี และโรงเรียนวัดสังเวช กทม. (พัฒนาระบบสนับสนุนเด็กตั้งครรภ์ให้เรียนจนจบ)
สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย (จัดการเรียนตามความชอบ ความถนัดและวิถีชีวิต)
บ้านทอฝัน (พิการ การเรียนรู้สำหรับเด็กพิการ)
Learn Education (ระบบเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ตามจังหวะของผู้เรียน)
Empower เด็กกลุ่มเสี่ยงและเด็กนอกระบบคลองเตยดีจัง
Saturday School
Summer School (โครงการ 1 โรงเรียน 1 บริษัทจำลอง)
บ้านกาญจนาภิเษก (เด็กต้องคดี)
มูลนิธิสติ สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ เรียนรู้ (เด็กนอกระบบ เด็กเร่ร่อน ค้าบริการ)
The Guidelight (หูหนวก เครื่องมือช่วยเรียน-ฝึกทักษะอาชีพ-กลุ่มอาสา)
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา (จิตตศึกษา)
ให้เด็กเข้าใจความเสี่ยงและวางแผนชีวิตBase Playhouse – สร้างเด็กรุ่นใหม่ให้เข้าสู่ศตวรรษที่ 21บ้านกาญจนาภิเษก (เด็กต้องคดี ติดยา)มูลนิธิสติ สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ ให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย (เด็กในพื้นที่ยากไร้)
ปรับเปลี่ยนการศึกษาในยุค COVID 19

Learn Education (ระบบเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ตามจังหวะของผู้เรียน)

มีโอกาสและช่องว่างอะไรบ้างในการแก้ไขปัญหา

  1. พัฒนาระบบคัดกรองเด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา
    ก่อนที่เด็กจะเลิกเรียน พวกเขามักจะแสดงพฤติกรรมความเสี่ยงออกมา เช่น ขาดเรียน ขาดสอบ ต้องช่วยผู้ปกครองทำงานตามฤดูกาล   ดูหิวโหย ใจลอย อิดโรย ดูเครียดและกังวล จากการช่วยทำงานก่อนมาโรงเรียน หรือผอมแห้ง หิวโหยจากบ้านเพราะไม่ได้ทานอาหาร หรือทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์  หวาดกลัวไม่เข้าสังคม ดูเบื่อหน่าย ไม่มีความสุขกับการไปโรงเรียน
    อาการเหล่านี้แม้จะไปโรงเรียนก็จริง แต่ไม่พร้อมที่จะเรียน ซึ่งมีแบบแผน (pattern) ที่สามารถคัดกรองได้ตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนเพื่อวางแผนการดูแลรายบุคคล  แต่ในหลาย ๆ กรณี ครูก็มักจะมีภาระงานเยอะ ทั้งงานเอกสาร งานสอน โดยเฉพาะในโรงเรียนเล็กๆ ที่ครูคนเดียวต้องดูแลหลายห้องหลายชั้น ทำให้ยากที่จะสังเกตเห็น เยี่ยมบ้าน ตลอดจนคิดแผนแก้ไขปัญหากับครอบครัวและเด็กไม่ให้ออกจากระบบ
  2. ทำงานกับครอบครัวให้เด็กได้เรียนต่อ เน้นการสร้างคุณค่าให้กับการศึกษา
    ความยากจนทำให้เด็กออกกลางคัน แต่ทุนการศึกษาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาทั้งหมด เพราะหลายครอบครัวที่ยากจนนั้นไม่ได้ให้คุณค่ากับการศึกษา มองว่าการเรียนเสียโอกาส เสียเวลาในการหาเงิน  ส่วนหนึ่งเนื่องจากไม่มีใครในครอบครัวได้เรียนหนังสือ
    นอกจากนี้ ยังมีอีกในหลาย ๆ กรณี ที่นักเรียนต้องออกจากระบบเพราะครอบครัวและโรงเรียนจัดการปัญหาในเชิงลงโทษมากกว่าช่วยเหลือ เห็นได้บ่อยในเด็กตั้งครรภ์ เด็กเกเร ก้าวพลาด พิการ ความต้องการพิเศษ  
    ความเข้าใจในประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่เด็กจะได้รับการลงทุนและการใส่ใจในด้านการศึกษา เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ พัฒนาตัวเอง และไม่ตัดโอกาสตัวเองเสียก่อน
  3. สร้างเครือข่ายสังคมดูแลและช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงและเด็กนอกระบบ
    เด็กหลายคนไม่มีโอกาสทางการศึกษาเพราะไม่มีคนดูแล จากสถิติพบว่าเด็กยากจน กว่า 36%12 ‘กำพร้าเทียม’ ถูกพ่อแม่ฝากไว้กับญาติผู้ใหญ่ในบ้าน ซึ่งก็ไม่มทรัพยากรที่จะส่งเสียเด็กให้เรียนเช่นกัน  นอกจากนี้ยังมี เด็กที่ต้องดูแลตัวเองเพราะพ่อแม่ทำงานจนไม่มีเวลา เด็กกลุ่มนี้จึงมีความเปราะบางทางสังคม ไม่มีใครดูคอยกระตุ้น ชี้แนะ ให้กำลังใจให้เรียนดีขึ้น 
    เมื่อเกิดปัญหาก็ไม่มีใครเข้าใจหรือให้คำปรึกษา ครูก็ไม่รู้ว่าต้องพูดคุยกับใครที่จะช่วยดูแลเด็กนอกโรงเรียน สุดท้ายเด็กก็หลุดออกจากระบบไปโดยง่าย
  4. ใช้ระบบ feedback ในรร.เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
    เด็กออกจากโรงเรียนเพราะ ไม่อยากเรียน/เบื่อเรียน/เบื่อครู และ เรียนไม่ไหว/เรียนไม่ทันเพื่อน สูงเป็นอันดับ 1 และ 3 จากปัญหาที่พบมากที่สุด 5 อันดับ13 
  5. สร้างทางเลือกทางการศึกษาที่ตอบโจทย์ชีวิตเด็ก
    กศน.เป็นอีกทางเลือกของการศึกษา อย่างไรก็ตาม กศน. ถูกออกแบบมาสำหรับผู้เรียนอายุ 15 ปีขึ้นไป และสามารถรับรองผู้เรียนได้ 200,000 คนเท่านั้น ทำให้เด็กที่ออกกลางคันก่อนอายุ 15 ปีต้องหลุดหายไปจากระบบ
  6. Empower เด็กกลุ่มเสี่ยงและนอกระบบให้มีมุมมองบวกต่อตัวเองและอนาคต
    เด็กจำนวนมากประสบปัญหาความจนภายใน เพราะไม่เชื่อมั่นในตัวเอง เติบโตมาในสังคมที่กดทับความคิด ตัวตน เห็นเพียงข้อจำกัดของตัวเอง  ไม่เคยได้รับโอกาสในการเรียนรู้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้ง ในสังคมที่อยู่ก็ไม่มีผลสำเร็จจากการศึกษาให้เห็นเท่าไหร่ ทำให้ไม่มีตัวอย่าง (Role Model)  เด็กจึงไม่เคยคิดไปไกลกว่าที่เห็นและเป็นอยู่ และน่าเสียดายที่สุด คือ เด็กหลายคนนั้นไม่มีความฝัน  
  7. ให้เด็กยากจนออกแบบแผนการเงิน
    ครอบครัวมีหนี้สินเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ลูกหลานต้องออกจากระบบมาช่วยหาเงิน โดยที่ไม่รู้เลยว่าแท้จริงแล้วเป็นหนี้อยู่เท่าไหร่ ต้องหาเงินใช้หนี้อย่างไร สุดท้ายเด็กก็ออกจากระบบโดยไม่สามารถปลดหนี้ได้เลย  หากเด็กได้เห็นปัญหา และเห็นว่าการเรียนสามารถแก้ไขปัญหาให้เขาได้อย่างไรในระยะยาว เช่น เรียนจนจบและเรียนต่อสาขาวิชาอาชีพที่ให้รายได้ดี แล้วสามารถจะปลดหนี้ได้ภายใน 5-10 ปี เป็นต้น
  8. การเข้าถึงเทคโนโลยี
    ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ภาคการศึกษาจึงต้องปรับตัวด้วยการเปลี่ยนสู่ระบบการเรียนออนไลน์มากขึ้น ทำให้ คอมพิวเตอร์ แท็ปแลต สมาร์ทโฟน และอินเตอร์เน็ต กลายเป็นอีกสิ่งจำเป็นต่อการเรียนหนังสือ ซึ่งเด็กยากจน อพยพ และพิการยังไม่สามารถเข้าถึงได้ สุดท้าย ไม่สามารถเข้าเรียนและออกจากระบบไปในที่สุด
    อีกทั้งยังมีผลกระทบอื่น 14 ๆ เช่น ไม่มีอาหารรับประทาน (ไม่สามารถไปทานที่โรงเรียน เพิ่มรายจ่ายด้านอาหารที่บ้าน) รายได้ (เนื่องจากผู้ปกครองถูกพักงานหรือถูกเลิกจ้าง) ไม่มีของใช้จำเป็นในครอบครัว (ไม่มีเงินซื้อและไม่สามารถออกไปซื้ออย่างปลอดภัยได้) และปัญหาสุขภาพ

ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจ

อ้างอิง
  1. กสศ.ช่วยเด็กทุนเสมอภาคกว่า 7 แสน กสศ. (1 กันยายน 2562) 
  2. สถานการณ์เด็กนอกระบบ ปีการศึกษา 2561, ระบบ iSEE, กสศ. (ข้อมูล ณ วันที่ 4 เมษายน 2563) 
  3. การสำรวจโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 
  4. เปิดผลศึกษาศูนย์วิจัยศก.แบงก์ออมสิน “น่าน-แม่ฮ่องสอน” รวยกระจุก-จนกระจายหนักสุด
  5. รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561 (Education in Thailand 2018)
  6. “ล้านพลังคนไทย มอบโอกาสทางการศึกษาเป็นของขวัญ”
  7. “ล้านพลังคนไทย มอบโอกาสทางการศึกษาเป็นของขวัญ”
  8.  เด็กนอกระบบการศึกษา 1.7 ล้านคน. (สืบค้นวันที่ 8 พฤษภาคม 2562) 
  9. รายงานเรื่องปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรไทย ปี 2561 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (กันยายน 2562) 
  10. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์, 2560. (สืบค้นวันที่ 8 พฤษภาคม 2562) 
  11. ข้อมูลจากรายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 2550-2551 กสศ. (2558) 
  12. TCIJ ‘กำพร้าเทียม’สะท้อนชนบทเปลี่ยนแปลง สายสัมพันธ์ครอบครัวเปลี่ยนไป
  13. กสศ. สถานการณ์เด็กนอกระบบ
  14. Bangkok Biz – ‘กสศ.’ ชี้ ‘โควิด-19’ กระทบครอบครัวยากจน หนักสุดไม่มีข้าวกิน (15 เมษายน 2563) 

สถานการณ์เด็กออกกลางคัน

https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/25937/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น