ศึกษาเรียนรู้

3.12.63

ลูกจ้างประจำ

ลูกจ้างประจำ



ลูกจ้างประจำ

  เป็นบุคลากรภาครัฐประเภทหนึ่ง ที่มีบทบาทหน้าที่หลักในการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการนั้นๆ ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง .. ได้จัดตำแหน่งลูกจ้างประจำตามลักษณะงานออกเป็น 4 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานบริการพื้นฐาน (งานให้บริการเป็นหลัก) กลุ่มงานสนับสนุน(งานช่วยปฏิบัติหรือสนับสนุนผู้ปฏิบัติภารกิจหลัก) กลุ่มงานช่าง (การปฏิบัติงานช่าง) และกลุ่มงานเทคนิคพิเศษ (ใช้ความสามารถทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะตัว)

  ลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา หรือส่วนราชการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเดิมเราจะคุ้นเคยกับคำว่านักการภารโรงนั้น ปัจจุบันตำแหน่งนี้ไม่มีแล้ว เพราะตั้งแต่ปี 2553 ได้ปรับก็มีประเภทตำแหน่ง ตามที่ .. กำหนด แต่จะกำหนดให้มีตำแหน่งใดขึ้นอยู่กับลักษณะงานของส่วนราชการนั้นๆ หากเป็นสถานศึกษา หรือหน่วยงานจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ มีการกำหนดตำแหน่งลูกจ้างประจำ               ใน 3 กลุ่มงาน คือ 

  กลุ่มงานบริการพื้นฐาน ได้แก่ พนักงานรักษาความปลอดภัย(ยาม) แม่บ้าน พนักงานบริการ พนักงานโสตทัศนศึกษา เป็นต้น 

กลุ่มงานสนับสนุน ได้แก่ พนักงานพิมพ์ดีด พนักงานห้องสมุด ครูช่วยสอน พนักงานขับรถยนต์ เป็นต้น  กลุ่มงานช่าง ได้แก่ ช่างไฟฟ้า ช่างไม้ ช่างปูน ช่างครุภัณฑ์ พนักงานขับเครื่องกลขนาดกลาง เป็นต้น 


กฎหมายที่กำหนดการเกษียณอายุราชการของลูกจ้างประจำ

เจ้าหน้าที่ภาครัฐทุกประเภทตำแหน่ง มีกฎหมายกำหนดการเกษียณอายุราชการไว้เป็นการเฉพาะลูกจ้างประจำก็ทำนองเดียวกัน การเกษียณอายุราชการ กำหนดไว้ในข้อ 57(2) แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ .. 2537 โดยมีสาระสำคัญว่าลูกจ้างประจำออกจากราชการเมื่อพ้นจากราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบําเหน็จลูกจ้างฯ..” ซึ่ง ตามข้อ 6 แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง .. 2519 กำหนดว่าลูกจ้างประจำซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้วเป็นอันพ้นจากงานเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์นั้นจึงสรุปได้ว่า ลูกจ้างประจำเกษียณอายุราชการในปีที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และในวันที่ 1 ตุลาคม ของปีนั้น (ผู้เกษียณอายุราชการปีงบประมาณ 2559 คือ ผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2489- วันที่ 1 ตุลาคม 2499 หรือผู้เกษียณอายุราชการปีงบประมาณ 2560 คือ ผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2499- วันที่ 1 ตุลาคม 2500)


เงินตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างประจำจะได้จากราชการเมื่อเกษียณอายุราชการ

  การเกษียณอายุราชการด้วยความเรียบร้อย ถือว่าเป็นเรื่องดีที่คนในวงการราชการพึงปรารถนา เพราะเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้ได้รับเงินตอบแทน และสิทธิประโยชน์ที่ทางราชการจะมอบให้ เพื่อเป็นการตอบแทนที่ทำคุณประโยชน์ให้กับราชการตลอดรับราชการมา สำหรับลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการ จะได้รับเงินตอบแทนและสิทธิประโยชน์จากทางราชการ ดังนี้

1. สิทธิประโยชน์ขณะที่ลูกจ้างประจำมีชีวิตอยู่

  1.1 เงินบำเหน็จลูกจ้าง ลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการมีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จปกติ หรือ เงินบำเหน็จรายเดือน (หากเป็นข้าราชการเรียกเงินบำนาญ) โดยให้สิทธิ์เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง .. 2519 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กล่าวคือ

      1) บำเหน็จปกติ คือ เงินตอบแทนของลูกจ้างประจำที่ออกจากงานเนื่องจากทำงานมานาน โดยจ่ายก้อนเดียว ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างประจำ เงินเดือนสุดท้าย 18,000 บาท มีเวลาราชการ 38 ปี 7 เดือน

วิธีคำนวณ 18,000 X (38X 12) + 7 หาร 12 = 694,500 บาท (จ่ายเงินเป็นก้อนเดียว)

    2) บำเหน็จรายเดือน คือ เงินตอบแทนของลูกจ้างประจำที่ออกจากงานเนื่องจากทำงานมานาน และต้องมีเวลาทำงานตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป จ่ายเป็นรายเดือนไปจนกว่าผู้รับบำเหน็จรายเดือนจะถึงแก่กรรม (แก้ไขโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ 8) ..2552 เดิมจะได้รับเฉพาะบำเหน็จปกติ)

การคำนวณบำเหน็จรายเดือน ให้คำนวณจากค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนเดือนที่ทำงาน หารด้วยสิบสอง แล้วหารด้วยห้าสิบอีกครั้ง ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง (บำเหน็จรายเดือน คือ บำเหน็จปกติหารด้วย 50 นั่นเอง) ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างประจำเงินเดือนสุดท้าย 18,000 บาท เวลาราชการ 38 ปี 7 เดือน

วิธีคำนวณ 18,000 X (38X 12) + 7 หาร 12 = 694,500 = 694,500 หาร 50 = 13,890 (จ่ายเป็นรายเดือน ละ 13,890 บาท)

  1.2 เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างประจำ (กสจ.)

พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งจดทะเบียน (กสจ.) เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมให้แก่ลูกจ้างประจำ ได้มีเงินไว้ใช้เมื่อยามออกจากราชการ หรือ เมื่อพ้นวัยทำงาน และเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันให้แก่ครอบครัวหากสมาชิกเสียชีวิต ลูกจ้างประจำที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างประจำ และนายจ้าง (ส่วนราชการ)จะต้องส่งเงินสะสม(หักจากค่าจ้าง) และเงินสมทบ(นายจ้างจ่ายสมทบ) เข้ากองทุนฯ และเมื่อลาออกหรือเกษียณอายุราชการ ถือว่าสิ้นสมาชิกภาพการเป็นสมาชิก กสจ. มีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์ตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ประกอบด้วย เงินสะสม เงินสมทบ ผลประโยชน์สะสม และผลประโยชน์สมทบ ซึ่งผลตอบแทนที่สมาชิกแต่ละคนจะได้รับมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง เช่น ยอดเงินต้นที่นำส่งเข้ากองทุนฯ ซึ่งคำนวณตามอัตราค่าจ้างของสมาชิก และระยะเวลาการเป็นสมาชิก กสจ. ที่เริ่มต้นการสมัครเป็นสมาชิก กสจ.ไม่พร้อมกัน ในปีที่ลูกจ้างประจำเกษียณอายุราชการ เมื่อได้รับประกาศหรือคำสั่งเกษียณอายุราชการแล้ว สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างประจำ (กสจ.) มายัง สำนักงานฯ กสจ. ได้ (กรณีลูกจ้างประจำของสถานศึกษา หน่วยราชการผู้เบิกจะนัดหมายมาทำเรื่องพร้อมกับการขอรับบำเหน็จรายเดือน)

นอกจากนั้นกฎหมายยังกำหนดให้ผู้รับบำเหน็จรายเดือนสามารถนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ 10) .. 2557 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับลูกจ้างประจำ จึงได้ดูแลให้ได้รับค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ อย่างเหมาะสมและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด

แต่การปรับจำนวนเงินบำเหน็จรายเดือนเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการปรับเงินเดือน หรือเงินค่าครองชีพให้แก่ข้าราชการหรือผู้รับบำนาญเพิ่มขึ้น เมื่อมีการปรับเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรีนั้น ผู้รับบำเหน็จรายเดือนยังไม่ได้สิทธิ์นี้ เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวจะมีผลกระทบกับภาระงบประมาณในระยะยาว จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้โดยละเอียดก่อน ในอนาคตอาจมีการแก้ไขให้ปรับเพิ่มได้

 2. บำเหน็จตกทอด; สิทธิประโยชน์กรณีลูกจ้างประจำเสียชีวิต

ลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการและรับบำเหน็จรายเดือน ต่อมาถึงแก่ความตาย กฎหมายกำหนดให้ทายาทเป็นผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดจำนวน 15 เท่าของบำเหน็จรายเดือนที่ได้รับอยู่ได้ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ 9) .. 2554 ดังนี้

  2.1) จำนวนเงินบำเหน็จตกทอด มีสูตรการคำนวณ คือ บำเหน็จตกทอด = บำเหน็จรายเดือน X 15 ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างประจำรับบำเหน็จรายเดือนๆ ละ 13,890 บาท

บำเหน็จตกทอด = 13,890 X 15 ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จตกทอด = 208,350 บาท

2.2) ทายาทผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จตกทอด ดังนี้

1) บุตร ให้ได้รับ 2 ส่วน (ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ให้ได้รับ 3 ส่วน)

2) สามีหรือภริยาให้ได้รับ 1 ส่วน

3) บิดามารดาให้ได้รับ 1 ส่วน

หากไม่มีบุคคลในลำดับข้อใด ก็ให้แบ่งตามส่วนของบุคคลในลำดับที่เหลือ ถ้าไม่มีบุคคลในลำดับข้อต่าง ให้จ่ายแก่บุคคลที่ผู้ตายได้แสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินไว้ต่อส่วนราชการก่อนตาย ถ้าไม่มีบุคคลตาม 1) -3) และผู้ตายไม่ได้แสดงเจตนาระบุตัวผู้รับสิทธิ์ไว้ ให้บำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติ(ตกไป) 

3. สิทธิ์ที่เสียไปเมื่อพันจากราชการเป็นผู้รับบำเหน็จรายเดือน

สวัสดิการและสิทธิประโยชน์บางอย่างที่เคยได้รับจากราชการขณะเป็นลูกจ้างประจำจะเสียไปเมื่อเกษียณอายุราชการเป็นที่ผู้รับบำเหน็จรายเดือน ทั้งนี้เพราะเงื่อนไขของกฎหมาย แต่ในขณะที่ผู้เกษียณอายุราชการที่เคยเป็นข้าราชการ(ผู้รับบำนาญ) ยังคงมีสิทธิ์ สิทธิ์ที่ที่ผู้รับบำเหน็จรายเดือนเสียไป มีดังนี้

  3.1) สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เป็นเงินที่ทางราชการช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสำหรับตัวผู้มีสิทธิ์เอง(ลูกจ้างประจำ) และบุคคลในครอบครัว ได้แก่ บุตร คู่สมรส บิดา มารดา เมื่อพ้นจากราชการไป กฎหมายให้สิทธิ์เฉพาะผู้ได้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเท่านั้น (เฉพาะข้าราชการ)ที่เกิดสิทธิ์ตามระเบียบและหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่หากเป็นลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการ(บำเหน็จรายเดือนมิใช่รับบำนาญ) ไม่จัดว่าเป็นผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยสวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ดังนั้นจึงทำให้ลูกจ้างประจำซึ่งเดิมทีเป็นผู้มีสิทธิ์เบิกสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ เมื่อเป็นผู้เกษียณอายุราชการและเป็นผู้รับบำเหน็จรายเดือนจึงทำให้สิทธิ์นี้เสียไป

แต่ก็สามารถใช้สิทธิ์เข้ารักษาพยาบาล ของสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สป.สช.) ในฐานะเหมือนประชาชนทั่วไปได้ แต่หากมีคู่สมรสเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้รับบำนาญ ก็เปลี่ยนไปใช้สิทธิ์ในฐานะบุคคลในครอบครัวของคู่สมรสได้ โดยไปติดต่อขอเปลี่ยนแปลงผู้ใช้สิทธิ์ที่ส่วนราชการผู้เบิกนั้น

  3.2) สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เป็นเงินที่ทางราชการช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาสำหรับบุตรข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้ได้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเท่านั้น จึงจะเกิดสิทธิ์ตามระเบียบและหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร แต่หากเป็นลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการ(รับบำเหน็จรายเดือนมิใช่รับบำนาญ) ไม่จัดว่าเป็นผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร ดังนั้นจึงทำให้ลูกจ้างประจำซึ่งเดิมทีเป็นผู้มีสิทธิ์เบิกสวัสดิการการศึกษาบุตรได้ เมื่อเป็นผู้เกษียณอายุราชการและเป็นผู้รับบำเหน็จรายเดือนจึงทำให้สิทธิ์นี้เสียไป

แต่หากมีคู่สมรสเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือเป็นผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ก็สามารถเปลี่ยนสิทธิ์การเบิกค่าการศึกษาบุตรให้กับคู่สมรสได้ โดยไปติดต่อขอเปลี่ยนแปลงผู้ใช้สิทธิ์ที่ส่วนราชการผู้เบิกนั้น

จะเห็นว่า ลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการไป หากรับราชการมาครบ 25 ปี ก็จะได้รับเงินบำเหน็จรายเดือนทุกเดือนเลี้ยงชีพไปจนวันตาย แต่สิทธิ์ประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลและการศึกษาบุตรของผู้รับบำเหน็จรายเดือนจะเสียไป ซึ่งเป็นสิทธิที่สำคัญมีผลกระทบต่อกับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ รวมทั้งอนาคตของบุตรหลานด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญ สร้างความมั่นคง เหมือนกับข้าราชการทุกด้าน อันจะส่งผลให้ผู้รับบำเหน็จรายเดือนเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพของสังคม โดยทบทวน พิจารณาหาทางออกกฎหมายคืนสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณ สิทธิเบิกค่าเล่าเรียนบุตรหลังเกษียณ สิทธิที่จะได้รับการปรับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มตามมติ คณะรัฐมนตรี ซึ่งเชื่อว่านี่คือความหวังของลูกจ้างประจำและผู้รับบำเหน็จรายเดือนตั้งตารอ














ชมรมลูกจ้างประจำภาครัฐ


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น