ศึกษาเรียนรู้

24.11.63

school1

 การบริหารงานวิชาการ

     การบริหารงานวิชาการเป็นงานหลักหรือเป็นภารกิจหลักของสถานศึกษาที่พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 มุ่งให้กระจายอำนาจในการบริหารจัดการไปให้สถานศึกษามากที่สุด ด้วยเจตนารมณ์ที่จะให้สถานศึกษาดำเนินการได้โดยอิสระ คล่องตัว รวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการของผู้ เรียน สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารและการจัดการสามารถพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดผล ประเมินผล รวมทั้งการวัดปัจจัยเกื้อหนุน การพัฒนาคุณภาพนักเรียน ชุมชน ท้องถิ่นได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ


วัตถุปุระสงค์ของการบริหารงานวิชาการ
   - เพื่อให้สถานศึกษาบริหารงานด้านวิชาการได้โดยอิสระคล่องตัว รวดเร็วและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน สถานศึกษา ชุมชนและท้องถิ่น
   - เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้มาตรฐานและมีคุณภาพสอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพภายใน เพื่อพัฒนาตนเองและการประเมินคุณภาพจากหน่วยงานภายนอก
   - เพื่อให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนจัดปัจจัยเกื้อหนนุการพัฒนาการเรียนรู้ที่สนองตามความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่น โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
   - เพื่อให้สถานศึกษาได้ประสานความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและของบุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นๆอย่างกว้างขวาง


ขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการ
  • การพัฒนาหลักสตูรสถานศึกษา
  • การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
  • การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน
  • การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  • การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
  • การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
  • การนิเทศการศึกษา
  • การแนะแนวการศึกษา
  • การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
  • การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน
  • การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น
  • การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์การ หน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
 n-picture" allowfullscreen>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น