บทเรียนที่ 1 (ของผู้บริหาร)
เข้าใจคนดั่งบัวสี่เหล่า
ในทางพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าได้เปรียบเทียบคนเหมือนดังบัวสี่เหล่า
คนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน คนประเภทใดสามารถรับรู้ฟังเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว
ประเภทใดต้องใช้เวลาในการรับรู้ ประเภทใดต้องเพียรพยายามถึงจะเข้าใจในไม่ช้าและสุดท้ายประเภทใดไร้ความเพียร ขาดความอดทนต้องคนประเภทนี้ไป พระพุทธองค์ทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบเหมือนบัวสี่เหล่าดังนี้
บัวเหล่าที่หนึ่งดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว
เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
(อุคฆฏิตัญญู)
บัวเหล่าที่สองดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง
เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม
จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า ซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู)
บัวเหล่าที่สามดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ พวกที่มีสติปัญญาน้อย
แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ
มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ
ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า ซึ่งจะค่อยๆ
โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)
บัวเหล่าที่สี่ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ
แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ
ไร้ซึ่งความเพียร ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน
(ปทปรมะ)
เมื่อเราเข้าใจเปรียบเทียบคนเหมือนดังบัวสี่เหล่านี้แล้ว
เราต้องเลือกคนในการเป็นเพื่อน คนคนไหนสอนได้
คนไหนสอนไม่ได้ คนไหนไม่ควรให้คำแนะนำ คนไหนควรเว้นและห่างไกล
ถ้าไม่เข้าใจคนดังบัวสี่เหล่านี้จะมีภัยในภายหลังได้ ให้เลือกสอนได้เฉพาะสอนได้เท่านั้น ธรรมชาติคนในระดับเดียวกันไม่มีใครให้คนอื่นมาเก่งกว่าเสมอตนได้เป็นเช่นนี้
ความอดทนอดกลั้น การใช้สติ สมาธิและปัญญาในการดำเนินชีวิตและแก้ไขปัญหา
ไม่ลดละความเพียรพยายามในการเรียนรู้ รับรู้ฟังและนำประสบการณ์มาเป็นบทเรียนในครั้งต่อไป.......
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น