ศึกษาเรียนรู้

21.8.63

การทำงานเป็นทีม

การทำงานเป็นทีม

การสร้างทีมในสถานศึกษา

        การทำงานเป็นทีมมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ เพราะลักษณะการทำงานในองค์การนั้น เป็นลักษณะการทำงานร่วมกัน มีการทำงานเป็นทีมไม่ใช่เป็นการทำงานโดยลำพัง เพราะปัจจุบันระบบบริหารภายในหน่อยงานมีความยุ่งยาก ซับซ้อน นักบริหารแต่ผู้เดียวไม่สามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ มีอยู่ภายในขอบเขตความรับผิดชอบให้ปรากฏผลดีเท่าที่ควร งานส่วนใหญ่จำเป็นต้องอาศัยสติปัญญา ความรู้ความเชี่ยวชาญจากคนหลายๆคน จึงจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน และทำงานเป็นทีม(Team) เป็นลักษณะของบุคคลที่ทำงานร่วมกันอย่างประสานงานภายในกลุ่ม กล่าวคือ เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กัน ค่อนข้างจะใกล้ชิดและคงความสัมพันธ์ อยู่ค่อนข้างจะถาวร ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน โดยร่วมกันทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของทีมงาน การสร้างทีมงาน (Team Building) เป็นลักษณะของกระบวนการพัฒนากลุ่มบุคคลที่ทำงานด้วยกัน เพื่อที่จะให้บุคคลเหล่านั้นได้เรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายของทั้งตนเอง ของกลุ่มหรือของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล จากการศึกษาได้มีนักวิชาการกล่าวถึงการทำงานเป็นทีมดังรายละเอียดคือ



ความหมายของการทำงานเป็นทีม

       Woodock (1989 : 23) การทำงานเป็นทีมหมายถึง การทำงานที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการโดยที่แต่ละบุคคลมาร่วมกันทำงานเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

       Tappen (1995 : 13) ได้กล่าวถึงความหมายการทำงานเป็นทีมว่า การที่บุคคลมาร่วมกันทำงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน

       บุตรี จารุโรจน์ (2549 : 109) ได้กล่าวถึงความหมายของการทำงานเป็นทีมว่า การที่บุคคลมาร่วมกันทำงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

       อัฉรา อาศิรพจน์มนตรี (2541 : 6) ได้ให้ความหมายว่า การที่กลุ่มบุคคลร่วมกันปฏิบัติงานตามที่และความรับผิดชอบ โดยมีวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพื่อให้งานที่รับผิดชอบบรรลุตามวัตถุประสงค์

       มาลัยพร บุตรดี (2550 : 32) ได้สรุปว่า การที่บุคคลมาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน


ความสำคัญในการสร้างทีมงาน

    การสร้างทีมงานเป้นกระบวนการสร้างความสัมพันธภาพในกลุ่ม มุ่งปรับปรุงคุณภาพความสัมพันธ์ที่มีอยู่ต่อกันระหว่างสมาชิก ให้มีประสิทธิผลของกลุ่มสูงขึ้นได้ เพื่อมีการวางแผนที่มีจุดมุ่งหมายในการปรับปรุงหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ผ่านการวิเคราะห์อย่างมีระบบ และได้การยอมรับในหน่วยงาน ในการสร้างทีมงาน มีวัตถุประสงค์พื้นฐานในการปรับปรุงความสามารถในการแก้ปัญหาระหว่างสมาชิกของกลุ่ม ด้วยการทำงานร่วมกันตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ วัตถุประสงค์ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ (สุนันทา เสาหนันท์. 2551 : 64)

        1.สมาชิกทุกคนมีความเข้าใจบทบาทของตนดีขึ้นในการทำงานเป็นกลุ่ม

        2. มีความเข้าใจดีขึ้นเกี่ยวกับ “ธรรมนูญ” หรือกฎข้อบังคับของกลุ่ม นั้นคือวัตถุประสงค์และบทบาทในการทำงานทั้งหมดในองค์การ

        3. เพิ่มพูนการสื่อสารในระหว่างสมาชิกของกลุ่ม เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อประสิทิภาพของกลุ่ม

        4. ความสนับสนุนซึ่งกันและกันเพิ่มขึ้นในระหว่างสมาชิกของกลุ่ม

        5. ความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม เช่น พฤติกรรม และความสัมพันธ์ของกลุ่ม ที่มีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด

        6. วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เกี่ยวกับปัญหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่ม ทั้งระดับที่เกี่ยวกับการทำงานโดยตรง และระดับที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในระหว่างบุคคล

        7. ความสามารถที่จะใช้ความขัดแย้งไปในทางสร้างสรรค์มากกว่าทางทำลาย

        8. การร่วมมือร่วมใจมากขึ้นระหว่างสมาชิกของกลุ่มและลดการแข่งขันลง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างมากต่อบุคคล ต่อกลุ่มและต่อองค์การ

        9. การเพิ่มพุนความสามารถของกลุ่มที่จะทำงานร่วมกับกลุ่มอื่นๆ ในองค์การ

        10. มีความรู้สึกของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในระหว่างสมาชิกของกลุ่ม



อ้างอิง

จรุณี เก้าเอี้ยน.(2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. หน้า68-69

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น