บันทึกหนึ่งวันที่โรงเรียนรุ่งอรุณ เขตบางขุนเทียน กทม.
(7 ตุลาคม 2559)
-----------------------------------------------------------------
เวลา 8.00 น.
การจัดบรรยากาศเริ่มตั้งแต่เข้าโรงเรียน ต้นไม้ร่มรื่น จุดจอดรถผู้ปกครอง ได้รับการต้อนรับจากครูโม...ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นอย่างดี
ครูโมชวนคุย มาช่วยการจัดการศึกษาในแนวนี้ การจัดการศึกษาที่เป็นองค์รวมตามใดที่ระบบการศึกษาเราเป็นแบบเดิม เมื่อหน่วยงานส่วนกลางส่งกิจกรรมใดมา เราก็จะปฏิบัติก็จะเป็นระบบเดิม
นั่งห้องประชุมต้อนรับ สอบถามจุดประสงค์การมาศึกษาของแต่ละคนที่มาจากครูต้อย...มีความรู้สึกอย่างไรหรือถูกบังคับมา แต่ละคนได้สะท้อนความคิดของตนเองเป็นอย่างไร ความรู้สึกของแต่ละคน………………….
เคล็ดลับโรงเรียนอย่างแรกต้องลงมือทำ ทำแล้วจะได้ทาง ช่องทาง แนวคิด แล้วจะเจอปัญหา เจอช่องทางแก้ปัญหา ถ้ามัวแต่คิดๆๆ แล้วไม่ลงมือทำ เราก็บริโภคปัญหาเป็นอาหาร(งานประชาสัมพันธ์ผ่านYoutube)
สอบถามเจตนาของผู้ที่มาศึกษาดูงานต้องการอะไร ต้องการสิ่งใดตามที่ร้องขอขึ้นมา วิธีการตราบที่เราไปอยู่ไหนก็จะติดตัวเราไป ทุกอย่างเริ่มที่ลงมือทำ ทำไปอย่างมีความหมายทำไปเพราะอะไร ทุกอย่างมีเหตุผลที่ต้องทำ สิ่งที่ทำมีความหมายสำหรับเด็ก เมื่อลงมือทำเกิดความรู้สึกการเป็นเจ้าของในสิ่งที่ทำ ทำจะแล้วเจอทาง ไม่เอาแต่ทฤษฎีมาก่อน โรงเรียนเราทำการศึกษาจริงๆ เราเก็บข้อมูลมาเป็นระยะ เราสอนแบบเรา เราทำทุกอย่างชัดเจน เราสร้างเด็กให้เป็นคนดี สอนให้เก่ง สอนให้ถึงปัญญา ไม่ได้สอนให้ดีอย่างเดียว เรื่องสอนให้เป็นคนดีเป็นจุดของโรงเรียนอยู่แล้ว เด็กที่นี้เขาทำด้วยความซื่อสัตย์ ทำอย่างไรพูดอย่างนั้นตามที่เขาทำ เด็กของเราไม่ได้โกหก โรงเรียนจัดห้องเรียนละ 25 คน ความดีปรากฏในของตัวเด็ก สิ่งที่เด็กต้องทำ เด็กของเราทำเขาทำแบบสุดๆไม่ยอมแพ้
โรงเรียนทำอะไรเยอะมาก จนเป็นระบบ บทเรียนเรื่องวินัย การเก็บของ การไหว้ แทนที่จะมาพูดๆ ทำแทนการพูด เด็กเรียนรู้อย่างนี้ทุกๆวัน
ให้ดู VDO One fine Day ระดับอนุบาล ประถม มัธยม หนึ่งวันที่รุ่งอรุณเด็กทำอะไรบ้าง นักเรียนเข้าแถว นำเสนอ หน้าชั้นเรียน ทำอาหารด้วยตนเอง เลือกรับทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ หลังพักนักเรียนทำความสะอาด เด็กทำโครงงานจากปัญหา ปัญหาจากชุมชนสังคม เด็กได้ลงมือทำปฎิบัติด้วยตนเอง
สอบถาม…...สรุปแล้วท่านเห็นอะไรจาก(อนุบาล-ประถม-มัธยม) ท่านเห็นอะไรบ้าง เห็นเรื่องวินัย การเก็บของ การทำความสะอาด การดูแลรักษาของ การไหว้ การทำอาหาร การสบตา ความสัมพันธ์ทางกาย จิตใจ สอนให้ช่วยเหลือตนเอง บำเพ็ญประโยชน์ เข้าแถว สวดมนต์ ออกกำลังกาย การเรียนรู้เฉพาะทักษะส่วนที่จำเป็น มองเห็นความจำเป็นเชื่อมโยงในชีวิตประจำวัน
ภาคเช้า เรียนสายวิชาการ….วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ บูรณาการ
ภาคบ่ายเรียน…. สุขภาวะจิต ศิลปะ งานวาด งานไม้ กีฬา ดนตรี กิจกรรม พัฒนาทักษะ สุนทรียภาพ ก่อนกลับบ้าน ครูสนทนา สวดมนต์ แผ่เมตตา ก่อนกลับบ้าน
อนุบาล สอนให้ช่วยเหลือตนเอง วินัย ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ประถม การฝึกร่างกายให้มีความแข็งแรงมากขึ้น กล้าพูดทำ เสนอความคิด เรียนรู้สัมพันธ์กัน ครูต้องทำงานหนัก ที่นี้เราฝึกครูหนักมาก
มัธยม เรียนรู้จากโครงงาน ครูเป็นผู้นำทาง นักเรียนเจอปัญหาด้วยตนเอง
เวลา 10.30 น.
เดินสำรวจรอบๆโรงเรียน อาคารเรียน บรรยากาศ การจัดวางรองเท้าก่อนเข้าห้องเรียน การทิ้งขยะแยกขยะ การตั้งโจทย์ปัญหาที่ดีของครู โจทย์ปัญหามาเป็นบทเรียน ใบความรู้เพิ่มเติม กิจกรรมการเรียนการสอนเชิงบูรณาการในรายวิชาให้เข้ากัน ห้องเรียนเครื่องคอมฯ โปรเจคเตอร์ กระดานติดแถบแม่เหล็ก นำวิถีชีวิตประจำวันมากำหนดปัญหาบูรณาการกับการเรียนการสอน การตั้งคำถามที่ดีของครูสำคัญ วิชาคณิตตั้งเป็นโจทย์ปัญหาในห้องเรียนให้นักเรียน นักเรียนศึกษานอกสถานที่ สอนอนุบาล แปลงผัก เลือกเมล็ดพันธ์ การเจริญเติบโต………..เด็กมีตารางและแบ่งเวลามาทำอาหาร แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในโรงเรียนชัดเจน ตั้งแต่อนุบาล-มัธยม
เวลา 13.00 น.
กลับมาสะท้อนสิ่งที่ได้รับจากก การเดินดูในโรงเรียน เทคนิคการใช้กระดานของครูมีความสำคัญ แยกประเด็นที่เด็กนำเสนอ…...
วิธีเรียนรู้
- การแสวงหาคววามรู้
- เรียบเรียงความรู้ วิเคราะห์
- นำเสนอเป็นเรื่องราว มีความรู้ บทบาทสมมุติ
- นักเรียนมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ครูมีบทบาทเชื่อมโยง
ความสัมพันธ์ ครู -นักเรีย เข้าใจใกล้ชิด ให้โอกาสพื้นที่ นักเรียน นำเสนอ ให้อิสระในความคิดของนักเรียน
สื่อการเรียนรู้
- สมุดไม่มีเส้น
- ไม่มีหน้งสือเฉพาะ แต่มีใบงาน
- โต๊ะไม่มีสิ้นชัก
- มีการแยกขยะเป็นระบบ
- จัดระเบียบ
- มีกระบวนการวัดผล
- การดูแลสวนผักเป็นกิจวัตร
- เรียนรู้ด้วยการปฎิบัติ
- นักเรียนออกแบบแล้งลงมือทำจริงๆ
ครูมัธยมต้องแม่นในเนื้อหา ออกแบบให้เป็นเพื่อไปสู่วิธีคิด
Road Map - กระบวนการสำคัญ
- การตั้งโจทย์ปัญหาที่ดี
- ครูเป็นคนตั้งคำถามเก่ง (คำถามคิดวิเคราะห์ Inputเป็นระบบ)
- คาดเดาคำตอบจากเด็ก (ตามมาตรฐานหรือสูงกว่า)
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ (ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้)
- ครูเขียนกระดานเป็น จัดหมวดหมู่จากคำตอบของนักเรียน
- นักเรียนสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง
- ครูตั้งโจทย์ให้เด็กได้ทำงาน (การแสวงหาความรู้)
- นักเรียนนำเสนอผลการทำงานตนเอง
(โรงเรียนเน้นเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ Active Learn 70 % )
คุณค่าความหมายที่เรียน
จุดประสงค์ - มีทักษะการเรียนในศตวรรษ 21
(ทักษะการคิดวิเคราะห์, สื่อสาร, ความร่วมมือ, คิดสร้างสรรค์)
- คุณค่าความหมายเรื่องที่เรียน
(ประโยชน์ตน, ประโยชน์คนอื่น, ประโยชน์ชาวโลก)
ประเมินผล - จากการสอบ การนำเสนอผลงานเช่นเดียวกัน
ผู้บันทึก…....วีระชัย จันทร์สุข
หัวหน้างานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น