อารมณ์กับการรับรู้ของร่างกาย
นักวิทยาศาสตร์จากฟินแลนด์ค้นพบว่า
อารมณ์ในชีวิตประจำวันนั้นทำให้การรับรู้ตามส่วนต่างๆร่างกายของเราเพิ่มขึ้นหรือลดน้อยลงอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าอารมณ์นั้นมีผลต่อระบบรับรู้ของร่างกายอย่างไร
และยังพบด้วยว่า
อารมณ์ที่แตกต่างกันนั้นเมื่อแปลงเป็นภาพของการรับรู้ของร่างกายแล้ว ก็ให้ภาพที่แตกต่างกันด้วย แต่อย่างไรก็ตาม
แผนภาพการแปลงอารมณ์สู่ภาพการรับรู้ของร่างกายดังกล่าวนั้นก็มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกและกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก
และนักวิจัยก็เชื่อว่า
อารมณ์กับรูปแบบของการรับรู้ความรู้สึกของร่างกายก็มีความเกี่ยวข้องกันตามกลไกชีววิทยา
ภาพจาก : http://www.vcharkarn.com/vnews/447963
"อารมณ์ไม่ได้ปรับแค่สภาวะจิตใจ แต่ปรับสภาวะร่างกายของเราด้วย
เป็นการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับอันตรายต่างๆ รวมถึงโอกาส เช่น
เหตุการณ์ที่น่ายินดี ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราอีกด้วย "
รองศาสตราจารย์ ลอรี นูมเมนมา แห่งมหาวิทยาลัยอัลโต ประเทศฟินแลนด์เผย "การรับรู้การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เปลี่ยนไปตามอารมณ์นี้ อาจจะบ่งบอกอารมณ์ที่อยู่ในจิตรู้สำนึก เช่น รู้สึกมีความสุข"" การค้นพบนี้มีผลอย่างมากต่อความเข้าใจของเราต่อการทำงานของอารมณ์และร่างกาย
ผลการศึกษานี้ก็ยังช่วยให้เราเข้าใจคนที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์ในแบบต่างๆได้ด้วย
ในงานวิจัยนี้ นักวิจัยให้อาสาสมัครกว่า 700 คนจากฟินแลนด์ สวีเดน และไต้หวันเข้าร่วมการทดลอง โดยนักวิจัยกระตุ้นอารมณ์ของอาสาสมัคร
โดยการแสดงรูปภาพในคอมพิวเตอร์ให้ชม
และถามผู้เข้าร่วมการทดลองให้ให้สีตามส่วนของร่างกายที่รู้สึกว่าตนเองรู้สึกเพิ่มขึ้นหรือลดลง
โดยงานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Proceedings of The
National Academy of Sciences แล้ว โดยในภาพนั้น สีเหลืองคือบริเวณที่มีความรู้สึกเพิ่มขึ้น
สีดำคือไม่เปลี่ยนแปลง และสีน้ำเงินหรือฟ้าคือบริเวณของร่างกายที่มีความรู้สึกลดลง
และตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ความรู้สึกมีความสุขนั้น
จะทำให้ร่างกายทั้งหมดมีความรู้สึกเพิ่มมากขึ้น และความรู้สึกโกรธจะทำให้ร่างกายครึ่งบนมีความรู้สึกมากขึ้น
อ้างอิง: Aalto
University (2013, December 31). How emotions are mapped in the body. ScienceDaily.
Retrieved January 5, 2014, from http://www.sciencedaily.com/releases/2013/12/131231094353.htmงานวิจัย: L. Nummenmaa, E. Glerean, R. Hari, J. K.
Hietanen. Bodily maps of emotions. Proceedings of the National
Academy of Sciences, 2013; DOI: 10.1073/pnas.1321664111
โดย.....นายวีระชัย จันทร์สุข
หัวหน้างานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น