"UBUNTU-อบันตู"
นักมนุษยวิทยาคนหนึ่งไปศึกษาขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม ของชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในอัฟริกา
ขณะที่รายล้อมไปด้วยเด็กกลุ่มหนึ่ง เขาเล่นเกมด้วยการเอาตะกร้าผลไม้ซึ่งมีผลไม้วางอยู่เต็มตะกร้าแล้วเอาตะกร้านั้นวางใต้ต้นไม้ ห่างจากกลุ่มเด็กราว 50 เมตร เขาวางกติกาโดยบอกกับเด็กทั้งหมดว่า ใครก็ตามที่วิ่งเร็วสุดถึงตะกร้าเป็นคนแรกเป็นผู้ชนะ จะได้ตะกร้าผลไม้นั้นเป็นรางวัล
ก่อนจะให้สัญญาณเด็กวิ่ง ปรากฏว่าโดยไม่ต้องพูดอะไรกัน เด็กทั้งหมดพากันคล้องแขนกันและกันทั้งสองข้างเป็นหน้ากระดานเรียงหนึ่ง หลังจากได้รับสัญญาณให้เริ่มได้ พวกเขาวิ่งไปพร้อมๆกัน และพวกเขาถึงตะกร้าผลไม้พร้อมกันทั้งหมด
ทุกคนเอาผลไม้ในตะกร้ามาแบ่งปันกันทั่วหน้า ไม่มีใครได้มากน้อยไปกว่าใคร แล้วต่างก็แกะผลไม้กินกันอย่างเบิกบาน
“ทำไมหนูถึงใช้วิธีวิ่งไปถึงพร้อมๆกัน แทนที่จะแข่งขันเอาชนะเพื่อน เพื่อจะได้ผลไม้ทั้งตะกร้าไว้กินคนเดียว” นักมานุษยวิทยาถาม
เด็กๆ ส่งเสียงตอบพร้อมกันว่า “อูบันตู”(UBUNTU) ความหมายก็คือ “ฉันจะสุขได้อย่างไรถ้าคนอื่นเศร้า” หรือหมายความได้ว่า “ฉันเป็นอะไร เพราะเราเป็นอะไร” (“ I AM BECAUSE WE ARE”)
เรื่องที่ไม่คาดคิด เกิดขึ้นได้เสมอใช่ไหม ว่าเราจะมีภาพในใจของเราเองว่า เด็กชนเผ่าในอัฟริกานั้น ไร้การศึกษา อดอยาก แร้นแค้น จนแม้แต่เสื้อผ้าไม่มีจะสวมใส่
ดังนั้นต่อหน้าผลไม้เต็มตะกร้าที่ยั่วยวนใจอย่างนี้ เด็กแต่ละคนคงจะวิ่งสุดแรงเกิด เพื่อไปถึงเป็นคนแรกจะได้คว้าตะกร้าผลไม้มาเป็นของตนเพียงคนเดียวให้ได้ แต่ที่ไหนได้ แม้แต่นักมานุษยวิทยาเองก็ยังงุนงง จึงตั้งคำถามและได้รับคำตอบเช่นนั้น
ความอดอยากยากจน จึงไม่ใช่บทสรุปว่า จะเป็นเหตุให้พวกเขาเห็นแก่ตัว
ความแร้นแค้น ก็ใช่ว่าจะแล้งน้ำใจที่พึงมีต่อกันและกัน
การขาดการศึกษา ไม่ได้หมายถึงว่าจะทำความดีไม่ได้
ขณะที่รายล้อมไปด้วยเด็กกลุ่มหนึ่ง เขาเล่นเกมด้วยการเอาตะกร้าผลไม้ซึ่งมีผลไม้วางอยู่เต็มตะกร้าแล้วเอาตะกร้านั้นวางใต้ต้นไม้ ห่างจากกลุ่มเด็กราว 50 เมตร เขาวางกติกาโดยบอกกับเด็กทั้งหมดว่า ใครก็ตามที่วิ่งเร็วสุดถึงตะกร้าเป็นคนแรกเป็นผู้ชนะ จะได้ตะกร้าผลไม้นั้นเป็นรางวัล
ก่อนจะให้สัญญาณเด็กวิ่ง ปรากฏว่าโดยไม่ต้องพูดอะไรกัน เด็กทั้งหมดพากันคล้องแขนกันและกันทั้งสองข้างเป็นหน้ากระดานเรียงหนึ่ง หลังจากได้รับสัญญาณให้เริ่มได้ พวกเขาวิ่งไปพร้อมๆกัน และพวกเขาถึงตะกร้าผลไม้พร้อมกันทั้งหมด
ทุกคนเอาผลไม้ในตะกร้ามาแบ่งปันกันทั่วหน้า ไม่มีใครได้มากน้อยไปกว่าใคร แล้วต่างก็แกะผลไม้กินกันอย่างเบิกบาน
“ทำไมหนูถึงใช้วิธีวิ่งไปถึงพร้อมๆกัน แทนที่จะแข่งขันเอาชนะเพื่อน เพื่อจะได้ผลไม้ทั้งตะกร้าไว้กินคนเดียว” นักมานุษยวิทยาถาม
เด็กๆ ส่งเสียงตอบพร้อมกันว่า “อูบันตู”(UBUNTU) ความหมายก็คือ “ฉันจะสุขได้อย่างไรถ้าคนอื่นเศร้า” หรือหมายความได้ว่า “ฉันเป็นอะไร เพราะเราเป็นอะไร” (“ I AM BECAUSE WE ARE”)
เรื่องที่ไม่คาดคิด เกิดขึ้นได้เสมอใช่ไหม ว่าเราจะมีภาพในใจของเราเองว่า เด็กชนเผ่าในอัฟริกานั้น ไร้การศึกษา อดอยาก แร้นแค้น จนแม้แต่เสื้อผ้าไม่มีจะสวมใส่
ดังนั้นต่อหน้าผลไม้เต็มตะกร้าที่ยั่วยวนใจอย่างนี้ เด็กแต่ละคนคงจะวิ่งสุดแรงเกิด เพื่อไปถึงเป็นคนแรกจะได้คว้าตะกร้าผลไม้มาเป็นของตนเพียงคนเดียวให้ได้ แต่ที่ไหนได้ แม้แต่นักมานุษยวิทยาเองก็ยังงุนงง จึงตั้งคำถามและได้รับคำตอบเช่นนั้น
ความอดอยากยากจน จึงไม่ใช่บทสรุปว่า จะเป็นเหตุให้พวกเขาเห็นแก่ตัว
ความแร้นแค้น ก็ใช่ว่าจะแล้งน้ำใจที่พึงมีต่อกันและกัน
การขาดการศึกษา ไม่ได้หมายถึงว่าจะทำความดีไม่ได้
อูบันตู (UBUNTU) เป็นคำโบราณในทวีปอัฟริกา แปลตรงตัวว่า “ความเป็นมนุษย์ในคน” ก็คือความเมตตาในตัวคนนั่นเอง ในความหมายที่กว้าง “เราเป็นมนุษย์ได้ทุกวันนี้ ก็เพราะเราทุกคนมีความเมตตาต่อกัน
ใช่ไหมว่าเมตตาธรรมในตัวคนนั่นเอง คือแก่นแกนและความยิ่งใหญ่
ของมนุษยชาติ
ใช่ไหมว่าเมตตาธรรมในตัวคนนั่นเอง คือแก่นแกนและความยิ่งใหญ่
ของมนุษยชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น