ศึกษาเรียนรู้

29.9.61

ผักเชียงดา

ผักเชียงดา 





ผักเชียงดา
 เป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในโครงการ “อนุรักษ์พันธุกรรมพืช” ในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี มีชื่อเรียกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เช่น ผักเจียงดา จินดา ผักเซ็ง ม้วนไก่ ผักวัน ผักฮ่อนไก่ เครือจันปา หรือผักอีฮ่วน เป็นต้น  ผักเชียงดาเป็นไม้เลื้อยที่พบทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เถาแก่มีสีน้ำตาล ใบสีเขียวแก่ รูปร่างใบแตกต่างกันใบตามสามพันธุ์ เช่น รียาว  รีสั้น หรือเป็นรูปหัวใจ  เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดีสามารถแตกยอดได้ตลอดปี ชาวเหนือนิยมนำมาทานสดเคียงกับน้ำพริก ผัด หรือแกง เป็นผักที่มีรสชาติขมและหวานกำลังดี  

สำหรับชาวต่างชาตินั้นรู้จักผักเชียงดาเป็นอย่างดีในชื่อ Gymnema หรือ Gurma ในภาษาฮินดิที่เป็นว่านักฆ่าเบาหวาน(diabetes killer) จัดเป็นสมุนไพรท้องถิ่นในป่าเขตร้อนของประเทศอินเดียตอนกลางและตอนใต้ รวมถึงประเทศศรีลังกา ใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานและโรคอ้วนมานานกว่าสองพันปี ด้วยเหตุนี้เองผักเชียงดาจึงมีงานวิจัยมากมายในต่างประเทศ แม้กระทั่งญี่ปุ่นเองที่ได้นำผักเชียงดาไปจดสิทธิบัตรชาเบาหวาน

ในวงการหมอยาพื้นบ้านของเชียงใหม่ ใช้ลดไข้ แก้ท้องผูก แก้แพ้ ช่วยให้ผ่อนคลายจากความเมื่อยล้า ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี หรือใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ขณะที่กลุ่มหมอกลางบ้านไทยใหญ่มีตำราระบุถึงผักเชียงดาว่าเป็น “ยาแก้หลวง ใช้เป็นยาแก้ได้หลายอาการมีสรรพคุณคล้ายฟ้าทะลายโจร คือแก้ไข้ แก้แพ้ แก้เบาหวาน หน้าแล้งจะขุดรากมาทายา หน้าฝนจะใช้เถาและใบ โดยสับตากแห้งบดชงเป็นชาดื่ม ใชแ้ก้แ้พ้ กินของผิด ฉีดยาผิด เวียนศีรษะ แก้ไขสันนิบาต หรือเมื่อเกิดอาการคิดมาก มีอาการจิตฟั่นเฟือน”

ผลงานวิจัยทางเภสัชวิทยาพบว่าผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด โดยให้ผู้ที่มีสุขภาพดีทดลองดื่มชาผักเชียงดาภายใน 15นาทีหลังจากได้รับสารละลายกลูโคส พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจากตอนที่ยังไม่ได้ดื่มชาผักเชียงดา ขณะที่การวิเคราะห์พฤกษเคมีของสารออกฤทธิ๋พบเป็นในกลุ่ม triterpenoid saponins  และที่น่าสนใจคือผักเชียงดามีวิตามินซีสูงและมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดในจำนวนผักพื้นบ้านของเชียงใหม่จำนวน 43 ชนิด เช่นเบต้าแคโรทีน


ผักเชียงดาต่างจากสมุนไพรอื่นอย่างไร
ผลิตภัณฑ์ผักเชียงดาตรากาทอง ผลิตจากผักเชียงดาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานออร์แกนิคสากล ไม่มีคาเฟอีน ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล ไม่มีผลข้างเคียง ไม่มีสารตกค้าง สามารถทานต่อเนื่องกันได้โดยไม่ต้องพักเว้นระยะ และที่สำคัญสามารถทานควบคู่กับยาปฏิชีวนะได้


>>ผักเชียงดากับงานวิจัย<<

ป้องกันการดูดซึมน้ำตาลของเซลล์
เมื่อทดลองวางใบผักเชียงดาลงบนลิ้นจะทำให้การรับรู้ถึงความหวานจากน้ำตาลลดลงจากเดิมเป็นเวลานานกว่าสองชั่วโมง สาเหตุมาจากในใบผักเชียงดาประกอบด้วยโมเลกุลไกลโคไซด์ที่มีชื่อเรียกว่า “จิมนิมิก แอซิด” ที่ไปขัดขวางตัวรับน้ำตาลบนลิ้น   นอกจากนั้นยังพบว่าทำงานได้ดีร่วมกับยาลดการดูดซึมอาหาร Acarbose ช่วยลดการเคลื่อนย้ายโมเลกุลน้ำตาลมอลโทสในลำไส้

ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับสารสเตียรอยด์ชนิดคอร์ติโคจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและควบคุมไม่ได้ อันเนื่องมาจากสารสเตียรอยด์ดังกล่าวไปกระตุ้นการสร้างกลูโคสในกระแสเลือด  อย่างไรก็ดีผลงานวิจัยชี้ว่าสารสกัดของใบผักเชียงดาส่งผลให้มีการปรับปรุงภาวะระดับน้ำตาลในเลือด โดยไปยับยั้งฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างโมเลกุลกลูโคสในตับ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และยังระบุว่าผักเชียงดาจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากทำงานร่วมกับรากของพืชพื้นเมืองของอินเดียที่ชื่อ Inula racemosa

เพื่อเป็นการสนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับการปรับลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภทที่สอง จึงให้สารสกัดจากใบผักเชียงดาแก่ผู้ป่วยอาสาสมัครอย่างต่อเนื่อง 18-20 เดือนร่วมกับยาปฏิชีวนะ พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสและฮีโมโกลบินและพลาสม่าโปรตีนที่จับกับกลูโคส (glycosylated haemoglobin and glycosylated plasma proteins) ในผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และยังสามารถลดระดับยาปฏิชีวนะที่ให้ผู้ป่วยลงได้อีกด้วย ทั้งนี้ผู้ป่วย 5 ใน 22 คน สามารถหยุดทานยาปฏิชีวนะได้และคงระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยสารสกัดจากใบผักเชียงดา

นักวิจัยประจำมหาวิทยาลัย Nippon Veterinary and Animal Science ของประเทศญี่ปุ่นได้ใช้เทคโนโลยีจำลองสูตรโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติในใบผักเชียงดา และทดลองใช้สารดังกล่าวกับสัตว์ทดลอง พบว่าสามารถลดปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดลงได้ ในท้ายที่สุดประเทศญี่ปุ่นนำผักพื้นบ้านชนิดนี้ของเราไปจดสิทธิบัตรในการผลิตชาผักเชียงดาเพื่อใช้ดื่มบำรุงสุขภาพและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน

ฟื้นฟูเบต้าเซลล์ในตับอ่อน
ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าสารสกัดจากใบผักเชียงดากระตุ้นปริมาณแคลเซียมในเซลล์และการหลั่งอินซูลินในเบต้าเซลล์ของมนุษย์ ทั้งยังเป็นตัวกลางในการกระตุ้นการหลั่งสารอินซูลินสำหรับโรคเบาหวานประเภทที่สอง งานวิจัยอีกชิ้นตั้งข้อสังเกตว่าอาจเกิดจากการสร้างเบต้าเซลล์ขึ้นมาใหม่ในตับอ่อน เนื่องจากการทดลองให้สารพิษทำลายเบต้าเซลล์ในสัตว์ทดลองและพบว่าสัตว์ที่ได้รับผักเชียงดามีระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ นอกจากนี้ยังมีจำนวนเบต้าเซลล์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย จึงมีความน่าเชื่อมั่นที่ว่าสารออกฤทธิ์ในผักเชียงดามีประสิทธิภาพช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งประเภทที่หนึ่งและสอง

ควบคุมการดูดซึมกรดไขมัน ควบคุมน้ำหนัก
เมื่อผลการทดลองมากมายเกี่ยวกับการปรับลดระดับน้ำตาลด้วยสารออกฤทธิ์ในใบผักเชียงดาเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายแล้ว จึงมีการทดลองประสิทธิภาพของกรดจิมนิมิกกับกรดไขมันโอเลอิกได้ผลว่าได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจเช่นกัน ผักเชียงดาช่วยยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลทำให้น้ำตาลส่วนเกินไม่เปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย จึงมีผู้ควบคุมน้ำหนักหลายท่านบริโภคผักเชียงดาแปรรูปอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนักและสุขภาพที่ดี

สารต้านอนุมูลอิสระสูง ต้านมะเร็ง ปรับสมดุลร่างกาย
Screen Shot 2556-11-24 at 12.17.12 AM
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าในใบผักเชียงดาให้สารเบต้าแคโรทีนในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งสารดังกล่าวช่วยบำรุงสายตา ควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นสารต้านปฏิกิริยา
ออกซิเดชั่น กำจัดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งตับ มะเร็งในกระเพาะอาหาร โรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน
  
การศึกษาเภสัชวิทยาระบุว่าสารซาโปนินที่พบในใบผักเชียงดานอกจากจะมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมและลดระดับน้ำตาลในลำไส้แล้วยังสามารถป้องกันการทำลายดีเอ็นเอในเซลล์เลือดขาวมนุษย์ชนิด lymphoblastoids ได้อีกด้วย
  
กลุ่มสันมหาพนสมุนไพรอินทรีย์ผลิตและจัดจำหน่ายชาผักเชียงดาเชียงดาแคปซูลที่ผลิตในสถานที่ผลิตอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัย ได้รับการรับรองมาตรฐานอย. ฮาลาล GMP และออร์แกนิคสำหรับการแปรรูปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น