ศึกษาเรียนรู้

30.9.61

มะเกว๋น

ต้นมะเกว๋น ต้นเกว๋น ภาษาเหนือ ทางอีสานเรียก บักเบ็น 
ตะขบ 


ตะขบยักษ์ไร้หนาม
เป็นต้นเดียวกับต้น ตะขบป่าไร้หนาม หรือไม่ ขอยืนยันว่า เป็นต้นเดียวกัน ซึ่งตะขบป่าที่พบตามป่าธรรมชาติในบ้านเรามี 2 สายพันธุ์คือ ตะขบป่าไร้หนาม หรือ "ตะขบยักษ์ไร้หนาม" กับ ตะขบป่าลำต้นมีหนาม ทั้ง 2 ชนิด จะมีผลโตเหมือนกัน มีรสหวานหอม คนเดินป่าสมัยโบราณนิยมเก็บเอาผลไปวางขายในตลาดตัวเมืองได้รับความนิยมรับ ประทานอย่างแพร่หลาย ตะขบ ยักษ์ไร้หนาม หรือ ตะขบป่าไร้หนาม มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ FLACOURTIA INDICA (BURMF) MERR PLACHNELLA SIAMENSIS อยู่ในวงศ์ FLACOURTIACEAE เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 2-10 เมตร กิ่งก้านมีข้อ ซึ่งชนิดที่แนะนำในคอลัมน์วันนี้เป็นชนิดไม่มีหนาม พบตามป่าธรรมชาติน้อยมาก น้อยกว่าชนิดที่ต้นมีหนาม เวลาติดผลคนเดินป่าเก็บผลไปขายประจำ จนทำให้ชนิดที่มีหนาม หนามทู่ไม่แหลมคมอีก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ รูปไข่กลับ ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ซอกใบและปลายกิ่ง มีดอกย่อยไม่มากนัก เป็นดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก มีเกสรสีเหลืองปนขาวจำนวนมาก "ผล" ของ "ตะขบยักษ์ไร้หนาม" หรือ ตะขบป่าไร้หนาม เป็นรูปทรงกลม ผลโตเต็มที่เกือบเท่าผลมะนาว หรือลูกปิงปอง ผลดิบสีเขียว สุกเป็นสีแดงคล้ำ หรือ สีม่วงดำ เนื้อรสหวานหอม มีเมล็ด 5-8 เมล็ด คนโบราณก่อนกินเอาผลสุกไปคลึงให้ผลพอน่วมจะเพิ่มรสชาติให้หวานหอมอร่อยยิ่ง ขึ้น ติดผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ ตาลเสี้ยน, มะเกว๋นนก, มะเกว๋นป่า 


สรรพคุณทางยา ที่เด่นๆ ราก 1 กำมือ ต้มน้ำพอท่วมดื่ม 3-5 ครั้ง แก้ไตพิการ ทั้งต้น หรือราก ต้มน้ำอาบ แก้โรคผิวหนัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น