ศึกษาเรียนรู้

22.9.62

reseach

การวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน

    การวิจัยและพัฒนาเป็นกระบวนการวิจัยรูปแบบหนึ่งที่มีผู้นาไปใช้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะ
ในวงการอุตสาหกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การพัฒนาวิธีการและแนวทางในการดาเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีขึ้นกว่าเดิม ต่อมาได้มีการนากระบวนการวิจัยและพัฒนานี้ไปใช้อย่างกว้างขวางในทุกวงการ ในทางการศึกษาได้มีการนากระบวนการวิจัยและพัฒนาไปใช้ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การพัฒนาชุดการเรียนการสอน การพัฒนารูปแบบและกลวิธีการเรียนการสอนต่าง ๆ เป็นต้น ในบทนี้จะได้กล่าวถึงการวิจัยและพัฒนากับการพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนากับการออกแบบการเรียนการสอน นวัตกรรมที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนา การเขียนโครงการวิจัยและพัฒนาสาหรับนักศึกษาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน และการประเมินงานวิจัย

การวิจัยและพัฒนากับการพัฒนาการเรียนการสอน

    ความตื่นตัวของครูผู้สอนในโรงเรียนในการทาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนนั้นมีผลมาจาก
กระแสการปฏิรูปการศึกษาตั้งแต่ทศวรรษแรกซึ่งเริ่มในปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา อีกทั้งเมื่อได้มีการระบุถึงความสาคัญของการทาวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนไว้ในมาตรา 30 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545) ไว้ดังนี้ “ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา” นอกจากนี้หน่วยงานที่ใช้ครูทั้งในระดับรัฐและการปกครองส่วนท้องถิ่นก็ขานรับการพัฒนาครูให้ประสบความสาเร็จในวิชาชีพด้วยการเลื่อนชั้น เลื่อนตาแหน่งครู ให้สูงขึ้นโดยพิจารณาจากผลงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนจึงเป็นแรงจูงใจให้ครูผู้สอนสนใจการทาวิจัยมากขึ้น คาถามก็คือการทาวิจัยทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนที่นักศึกษาทาเพื่อสาเร็จการศึกษาและการทาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นเพื่อให้มีความเข้าใจประเด็นนี้ให้ชัดเจนจึงต้องทาความเข้าใจกับการวิจัยสองลักษณะ คือการวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็นการวิจัยทางวิชาการที่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาดาเนินการเพื่อสาเร็จการศึกษาตามมาตรฐานของหลักสูตรในสถาบันการศึกษาและการทาวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งเป็นการวิจัย
ปฏิบัติการในห้องเรียน ซึ่งครูในสถานศึกษาดาเนินการตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

การวิจัยและพัฒนา

    การวิจัยและพัฒนา (research and development) หรืออาร์แอนด์ดี (R & D) คือการวิจัย
แบบหนึ่งที่ใช้กระบวนการวิจัยหรืออาร์ (research-R) และกระบวนการพัฒนาหรือดี (development-D) ในการพัฒนางานหรือผลิตนวัตกรรม เป็นวงจรต่อเนื่องจนกระทั่งได้ผลงานหรือนวัตกรรมที่มีคุณภาพตามต้องการ โดยอาจเริ่มต้นวงจรจากกระบวนการวิจัย R1D1 R2D2 ......... หรือกระบวนการพัฒนา D1R1 D2R2 ......... ก็ได้ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 458) โดยทั่วไปการวิจัยและพัฒนาทางอุตสาหกรรมมีขั้นตอนดาเนินงาน 4 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนการวิจัยตอน 1 (R1) เพื่อแสวงหาความรู้และแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์นามาจัดทาแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนการพัฒนาตอน 1 (D1) ซึ่งนักวิจัยปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแผนพัฒนาที่กาหนดไว้ ขั้นตอนที่ 3เป็นขั้นตอนการวิจัยตอน 2 (R2) เพื่อตรวจสอบและประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น หาข้อบกพร่องและวิธีการปรับปรุงแก้ไข ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนการพัฒนาตอน 2 (D2) เพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งนี้นักวิจัยอาจดาเนินการตามขั้นตอนที่ 3 และ 4 ซ้าหลายรอบจนกว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กาหนด ดังในภาพที่ 12.1


    การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยทางวิชาการที่เป็นการวิจัยแบบทางการ ใช้การวิจัยทดลองใน
การตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมที่สร้างขึ้น ผลการวิจัยและพัฒนาทาให้ได้นวัตกรรมที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่อาจเป็นรูปแบบการเรียนการสอน หรือสื่อ อุปกรณ์ที่เป็นชุดการเรียนการสอน และข้อความรู้ที่ใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนที่สามารถสรุปอ้างอิงไปยังประชากรกลุ่มเป้าหมายได้

การวิจัยปฏิบัติการในห้องเรียน

    สาหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในห้องเรียนสามารถทาได้โดยไม่ต้องเคร่งครัด
ในกระบวนการวิจัยเหมือนการวิจัยทางวิชาการ เป็นรูปแบบการวิจัยอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่าการวิจัยปฏิบัติการ (action research) คือการวิจัยที่ครูเป็นผู้ลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนที่ครูประสบในการปฏิบัติงานสอนในห้องเรียน โดยไม่มีจุดมุ่งหมายในการนาผลการวิจัยอ้างอิงไปยังประชากรกลุ่มอื่น บางครั้งจึงเรียกการวิจัยปฏิบัติการที่ครูทานี้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในห้องเรียน(classroom action research) การวิจัยปฏิบัติการมีขั้นตอนสาคัญ 4 ขั้น คือ 

    1) ขั้นการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน (plan-P) 
    2) ขั้นการปฏิบัติการหรือดาเนินงานตามแผน (action-A)
    3) ขั้นการสังเกตและประเมินผลการดาเนินงาน (observation-O)  
    4) ขั้นการคิดไตร่ตรองและการแก้ไขปรับปรุงงาน (reflection and revision-R) 

    การดาเนินการวิจัยทั้ง 4 ขั้นตอนต้องทางานต่อเนื่องไปเป็นวงจร P-A-O-R โดยแต่ละวงจรอาจใช้เวลาในการดาเนินงานเพียง 2-3 ชั่วโมง หรือใช้เวลานานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนก็ได้ วงจร P-A-O-R นี้เทียบได้กับวงจร P-D-C-A หรือวงจรเด็มมิ่ง(Deming circle) ซึ่งเป็นวงจรที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพ (นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช, 2544,หน้า 16)


    เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็นการวิจัยทางวิชาการและการวิจัยปฏิบัติการในห้องเรียน ตามที่นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช (2544, หน้า 18-19) ได้วิเคราะห์ไว้เป็นเบื้องต้นนั้น ก็จะพบความแตกต่างในหลักการดาเนินงาน ดังแสดงในตารางที่ 12.1 ดังนี้

    ตารางที่ 12.1 เปรียบเทียบความแตกต่างของการวิจัยทางวิชาการและการวิจัยปฏิบัติการใน
                         ห้องเรียน

  (ต่อ)

    ดังนั้นครูผู้สอนที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของนักเรียนให้มี
คุณภาพจึงใช้การวิจัยปฏิบัติการในห้องเรียนเป็นเครื่องมือในการดาเนินการ ส่วนการวิจัยของนักศึกษาซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดการทาวิจัยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรจะใช้การวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็นการวิจัยทางวิชาการรูปแบบหนึ่งเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามพบว่างานวิจัยและพัฒนาที่ทาโดยนักศึกษานั้นมีข้อจากัด เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่ก็เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนซึ่งต้องปฏิบัติการสอนเต็มเวลา ในการทาวิจัยจึงต้องบูรณาการการวิจัยและงานสอนไปด้วยกันซึ่งมีสภาพที่เกือบจะไม่ต่างจากการวิจัยปฏิบัติการที่ครูผู้สอนโดยทั่วไปเป็นผู้ดาเนินการในปัจจุบันกล่าวคือ ครูผู้สอนในปัจจุบันก็ได้รับความคาดหวังให้ทาวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ในแบบการวิจัยทางวิชาการมากขึ้นในขณะที่นักศึกษาก็ไม่สามารถทาวิจัยแบบวิชาการอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งพบจากงานวิจัยของนักศึกษาส่วนใหญ่ว่านักศึกษาเลือกใช้แบบแผนการวิจัยทดลองเป็นแบบก่อนมีการวิจัยแบบทดลอง(pre-experimental design) แบบที่นิยม ได้แก่ แบบกลุ่มเดียวมีการวัดผลก่อนและหลัง (one-group
pretest-posttest design) โดยไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ และแบบกรณีศึกษา (one-shot case study)เป็นแบบวิจัยที่มีกลุ่มเดียวมีการจัดกระทาการทดลองและวัดผลหลังเรียน ซึ่งแบบการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นมีความเหมาะสมกับการแก้ปัญหาในห้องเรียน แต่มีข้อจากัดในการที่จะสรุปอ้างอิงผลการวิจัยไปสู่ประชากรกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นข้อความรู้ทั่วไปทางวิชาการอันเป็นเป้าหมายที่สาคัญประการหนึ่งของการวิจัยทางวิชาการ

การวิจัยและพัฒนากับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน

    กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเป็นการดาเนินงานอย่างเป็นระบบ (system approach)ซึ่งมีขั้นตอนในการดาเนินการที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ 3 ขั้นตอน ที่สาคัญคือขั้นการวิเคราะห์ ขั้นการออกแบบและขั้นการประเมิน ในการดาเนินงานในแต่ละขั้นใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกันกับการวิจัย กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือในการทางานเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ สาหรับการวิจัยและพัฒนานั้นมีลักษณะการทางานเป็นวงจรหลายวงจรต่อเนื่องเชื่อมโยงจนกว่าจะได้ผลงานที่พึงพอใจ ซึ่งนงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมลว่องวาณิช (2544, หน้า 80) ได้เสนอแนวทางสาหรับการดาเนินการวิจัยและพัฒนาว่าในแต่ละวงจรประกอบด้วยการดาเนินงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวิจัยเพื่อประเมินสภาพก่อนการพัฒนาขั้นตอนการพัฒนา และขั้นตอนการวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพของสิ่งที่พัฒนาซึ่งจะเห็นว่ากระบวนการออกแบบการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกันกับกระบวนการวิจัยพัฒนา ดังที่จะเทียบเคียงให้เห็นในตารางที่ 12.2 ดังนี้

    ตารางที่ 12.2 เปรียบเทียบกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนกับกระบวนการวิจัยและ
                         พัฒนาการเรียนการสอน


นวัตกรรมการเรียนการสอนที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนา

    นวัตกรรม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง สิ่งที่ทาขึ้นใหม่หรือ
แปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการหรืออุปกรณ์ เป็นต้น

    กองวิจัยการศึกษา กรมวิชาการ (2545, หน้า 37) ให้ความหมายของนวัตกรรมการเรียนการสอนหมายถึง กิจกรรม กระบวนการ เครื่องมือ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งที่มีรูปแบบใหม่ ๆ หรือของเก่าที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งผู้สอนยังไม่เคยนามาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนของตน

    ทิศนา แขมมณี (2555, หน้า 418-419) กล่าวว่า นวัตกรรมการเรียนการสอน มีลักษณะเป็น
แนวคิด หรือวิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่สามารถนามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยความใหม่มิใช่เป็นคุณสมบัติประการเดียวของนวัตกรรม นวัตกรรมไม่ว่าจะเป็นด้านใดจาเป็นต้องมีคุณสมบัติที่สาคัญดังนี้

    1) เป็นสิ่งใหม่ ซึ่งมีความหมายในหลายลักษณะ ได้แก่

            (1) เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน

            (2) เป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีการนามาใช้ในที่นั้น ได้แก่ การนาสิ่งที่ใช้หรือปฏิบัติกันในสังคมหนึ่งมาปรับใช้ในอีกสังคมหนึ่ง นับเป็นนวัตกรรมในสังคมนั้น

            (3) เป็นสิ่งใหม่ในช่วงเวลาหนึ่งแต่อาจเป็นของเก่าในอีกช่วงเวลาหนึ่ง เช่น อาจเป็นสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้ว แต่ไม่ได้ผลเนื่องจากขาดปัจจัยสนับสนุน ต่อมาปัจจัยและสถานการณ์อานวยจึงนามาเผยแพร่และทดลองใช้ใหม่ ถือว่าเป็นนวัตกรรมได้

    2) เป็นสิ่งใหม่ที่กาลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบว่าจะใช้ได้ผลมากน้อยเพียงใดในบริบทนั้น

    3) เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับนาไปใช้แต่ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปกติ หากการยอมรับนาไปใช้นั้นได้กลายเป็นการใช้อย่างเป็นปกติในระบบงานของที่นั้นแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมอีกต่อไป

    4) เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับนาไปใช้บ้างแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายคือยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง

    สรุปว่านวัตกรรมการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งใหม่ที่อาจเป็นแนวคิดวิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์
ที่นามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทการเรียนการสอนที่ใช้นวัตกรรมนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนตามที่คาดหวังไว้

    ประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน สามารถแบ่งได้ดังนี้ (พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์
ยินดีสุข, มปป, หน้า 6-11)

    1) หลักสูตร เช่น หลักสูตรท้องถิ่น รายวิชาเพิ่มเติม โปรแกรมการศึกษา เป็นต้น

    2) วัสดุหลักสูตร เช่น หนังสือ ตารา หนังสืออ่านเสริมประสบการณ์ คู่มือครู เป็นต้น

    3) รูปแบบ วิธีการสอนและเทคนิคการสอน

            (1) รูปแบบการสอน เช่น CIPPA 4MAT 5E learning cycle เป็นต้น
            (2) วิธีการสอนเช่น วิธีสอนแบบปรนัย วิธีสอนแบบสืบสอบ เป็นต้น
            (3) เทคนิคการสอน เช่น เทคนิคการใช้คาถามหมวก 6 ใบ เทคนิคการเสริมแรง เป็นต้น

    4) ชุดกิจกรรม เช่น ชุดการเรียนการสอน ชุดฝึกอบรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ชุดแบบฝึกหัดเพื่อพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจ เป็นต้น

    5) แบบสอบ แบบวัด แบบประเมิน เช่น แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะ
การคิด แบบวัดเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ แบบวัดการแก้ปัญหา เป็นต้น

    6) งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ เช่น เรื่องสั้น นิทาน สื่อการอ่าน สารคดี เป็นต้น
    7) สื่อการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ เทปเพลง เทปบรรยาย อุปกรณ์การทดลองวิทยาศาสตร์
เป็นต้น

    การวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนนั้น นอกจากจะช่วยพัฒนาผลการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนที่เป็นเป้าหมายสาคัญแล้ว ยังได้นวัตกรรมซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเรียนการสอนที่เป็นเครื่องมือสาคัญในการพัฒนาผู้เรียน จากการรวบรวมผลงานวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา2545-2554 พบว่ามีจานวน 68 เล่ม (ภาคผนวก ก) ซึ่งก่อให้เกิดนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทต่าง ๆที่เป็นผลิตภัณฑ์งานวิจัยที่สาคัญดังแสดงในตารางที่ 12.3 ดังนี้

    ตารางที่ 12.3 ผลการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาสาขาวิชาหลักสูตรและ                            การสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545-2554


การเขียนโครงการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน

    โครงการวิจัยเป็นแผนงานที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดาเนินการวิจัยซึ่งเปรียบได้กับ
พิมพ์เขียวของบ้านที่สถาปนิกร่างขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างบ้าน โครงการวิจัยจะช่วยให้เห็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องดาเนินงานและความสัมพันธ์ของกิจกรรมเหล่านั้นตามลาดับก่อนหลังอย่างเป็นเหตุเป็นผล เอกสารโครงการวิจัยยังใช้เป็นเอกสารเพื่อเสนอขอรับทุนจากแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการทาวิจัย สาหรับนักศึกษาที่เรียนในระดับบัณฑิตศึกษา โครงการวิจัยเป็นเอกสารที่จัดทาขึ้นเพื่อขอคาอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรให้ทาการวิจัยในเรื่องนั้นได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันทุกสถาบันการศึกษา องค์กรและหน่วยงานทางการศึกษาต่าง ๆ มีความคาดหวังที่จะให้ครู อาจารย์และบุคลากรทางศึกษาได้ทาวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนางาน ดังนั้นความต้องการแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนการดาเนินงานวิจัยจึงมีจานวนมากขึ้น การเขียนโครงการวิจัยที่ดีเพื่อให้มีโอกาสได้รับการพิจารณาสนับสนุนทุนวิจัยจึงมีความสาคัญ

ลักษณะของโครงการวิจัยที่ดี

    การเขียนโครงการวิจัย ผู้เขียนจะต้องเตรียมการเป็นอย่างดี เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่
จาเป็นต้องใช้ประกอบการเขียน โครงการวิจัยที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

    1) มีหัวข้อ ประเด็นครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่หน่วยงานรับข้อเสนอโครงการวิจัยได้กาหนดไว้
ทุกประเด็น

    2) เขียนได้ชัดเจน ตรงประเด็น มีรายละเอียดพอเพียงที่จะทาให้ทราบว่าผู้วิจัยต้องการจะทา
อะไร เพราะเหตุใดจึงต้องทาวิจัย สิ่งที่ทามีความสาคัญอย่างไร มีประโยชน์อย่างใด และจะทาอย่างไรกระบวนการที่คาดว่าจะทานั้นมีความเป็นไปได้และใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือเพียงใด

    3) ข้อเสนอระยะเวลาและงบประมาณในการดาเนินงานมีความสมเหตุสมผลและสอดคล้อง
กับที่หน่วยงานที่รับข้อเสนอโครงการหรือแหล่งให้ทุนได้วางกรอบไว้

หลักการเขียนโครงการวิจัย

    โครงการวิจัยและพัฒนาโดยทั่วไปนั้นจะประกอบด้วยหัวข้อการวิจัยที่จะต้องเขียนเสนอ
ดังต่อไปนี้ (ทิศนา แขมมณี, 2527)

    1. ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ในหัวข้อนี้เป็นการอธิบายถึงความเป็นมา
และสาเหตุของปัญหาหรือความต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าเป็นอย่างไร และความจาเป็นที่ผู้วิจัยจะต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหาหรือทาวิจัย และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไม่สามารถแก้ปัญหาได้ การเขียนควรนาเสนอปัญหาอย่างกระชับและตรงประเด็นโดยแสดงให้เห็นสภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่คาดหวังให้เป็น การเขียนควรมีการอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

    2. วัตถุประสงค์การวิจัย การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยและพัฒนาให้เขียนเป็นข้อ ๆ
โดยมีหลักการเขียน ดังนี้

        1) วัตถุประสงค์การวิจัยต้องแสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยมุ่งพัฒนาหรือศึกษาอะไร ซึ่งเป็นผล
จากการดาเนินการ ไม่ใช่กระบวนการดาเนินการ เช่น “เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์” แทนที่จะเขียนว่า“เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน” เป็นต้น

        2) วัตถุประสงค์การวิจัยต้องสอดคล้องกับรูปแบบการวิจัย เช่น เขียนวัตถุประสงค์การ
วิจัยว่า “เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน” แต่ในแบบแผนการวิจัยเป็นเพียงการวัดผลผู้เรียนในด้านต่าง ๆ หลังเรียนเท่านั้น ซึ่งในลักษณะนี้ควรเขียนว่า“ศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ...” เท่านั้น

    3. สมมติฐานการวิจัย เป็นการคาดเดาคาตอบล่วงหน้าที่เป็นไปตามเกณฑ์ของการพัฒนา
ที่เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ ซึ่งผู้วิจัยต้องอาศัยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นยึดหลักการเรียนแบบรอบรู้คือ ผู้เรียนต้องมีผลการเรียนรู้ทั้งด้านกระบวนการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ทั้งสองด้านในระดับร้อยละ 80 ขึ้นไป ดังนั้นจึงตั้งสมมติฐานของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ80/80เป็นต้น หรือกาหนดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนต้องสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.05 ตามหลักการของการใช้สถิติภาคอ้างอิง เป็นต้น และการกาหนดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับดี ซึ่งหมายถึงระดับค่าเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 หรือระดับ B ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์สากลซึ่งเป็นที่ยอมรับ เป็นต้น

    4. กรอบแนวคิดในการวิจัย หมายถึง พื้นฐานทางทฤษฎีและหลักการที่ผู้วิจัยยึดถือและ
นามาใช้ในการกาหนดลักษณะสาคัญของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ซึ่งนามาใช้เป็นแนวทางสาหรับการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัยจะต้องสรุปให้เห็นแนวคิดหรือหลักการที่แฝงอยู่ในนวัตกรรมและลักษณะสาคัญของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น นามาใช้เป็นตัวแปรจัดกระทา และการกาหนดลักษณะสาคัญที่สังเกตได้ วัดได้ของตัวแปรตามเพื่อนามาใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือการวัดผล การนาเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัย ผู้วิจัยจึงต้องสังเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อสรุปที่เป็นแนวคิดและหลักการสาคัญที่ใช้ในการดาเนินการวิจัย หากสรุปและนาเสนอเป็นแผนภาพได้ก็จะมีความชัดเจนแต่ไม่ใช่ข้อกาหนดตายตัว

    5. ขอบเขตในการวิจัย สิ่งที่ควรกล่าวถึงได้แก่

        1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง โดยกล่าวถึงลักษณะของประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
ของการวิจัยว่าเป็นใคร มีจานวนเท่าใด มีลักษณะเป็นอย่างไร การเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรนั้น มีวิธีการเลือกมาได้อย่างไร จานวนเท่าใด

        2) ตัวแปรในการวิจัย ได้แก่ ตัวแปรต้น และตัวแปรตาม ตัวแปรต้นในที่นี้ คือตัวแปร
จัดกระทาการทดลอง หรือการใช้นวัตกรรม และตัวแปรตาม คือผลการเรียนรู้อันเป็นผลจากการจัดกระทาการทดลอง

        3) เครื่องมือในการวิจัย หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เครื่องมือ
ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดประเมินผลตัวแปรตาม ในส่วนนี้ควรกล่าวถึงลักษณะและประเภทของเครื่องมือที่ใช้ จานวนของเครื่องมือ กระบวนการหรือวิธีการในการพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือ เช่น ในกรณีที่เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ ความตรง ความเที่ยง ความยากง่ายและอานาจจาแนกของเครื่องมือ เป็นต้น

    6. วิธีดาเนินการวิจัย เนื่องจากเป็นการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน ดังนั้นในส่วนนี้
ควรเขียนให้สอดคล้องกับกระบวนการของการออกแบบการเรียนการสอน โดยนาเสนอขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา ดังนี้

        ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ ผู้วิจัยควรนาเสนอขอบเขตของข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องการ
วิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์หลักสูตร การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน และการวิเคราะห์สภาพและความต้องการของชุมชน เป็นต้น การนาเสนอวิธีการในการวิเคราะห์และเครื่องมือที่ใช้ ตลอดจนกาหนดผู้ให้ข้อมูลสาคัญ หรือแหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์
        
        ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบ และพัฒนาเป็นขั้นที่ผู้วิจัยนาเสนอกระบวนการดาเนินการ
พัฒนา ได้แก่ การวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ การกาหนดและออกแบบสาระการเรียนรู้ การกาหนดขั้นตอนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน การออกแบบและคัดเลือกสื่อการเรียนรู้ การกาหนดวิธีการประเมินผลผู้เรียน เป็นต้น ในองค์ประกอบการเรียนการสอนดังกล่าวมีวิธีดาเนินการให้ได้มาอย่างไรและมีกระบวนการที่จะตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เรียนอย่างไร

        ขั้นตอนที่ 3 การประเมิน เป็นขั้นของการทดลองใช้นวัตกรรมกับผู้เรียนที่ไม่ใช่กลุ่ม
ตัวอย่างประชากรเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรม ซึ่งเป็นการประเมินความก้าวหน้าเพื่อนาผลมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรม ก่อนนาไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรเพื่อประเมินผลสรุปโดยการวัดผลการเรียนรู้หลังเรียน การวัดความพึงพอใจของผู้เรียน ความคิดเห็นของผู้ใช้นวัตกรรม และการสังเกตการใช้นวัตกรรมเพื่อนาข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจว่านวัตกรรมที่ออกแบบนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ในขั้นนี้ผู้วิจัยควรจะได้กล่าวถึงประเด็นที่สาคัญ ดังนี้

            1) การประเมินนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกนั้นมีกระบวนการในการ
ดาเนินการอย่างไร การคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญมีเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร ประเมินนวัตกรรมด้านใด ใช้เกณฑ์ในการประเมินอย่างไร เป็นต้น

            2) กระบวนการทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรม โดยการทดสอบจากผู้เรียนนั้น
ทาอย่างไร เช่น การทดสอบแบบเดี่ยว แบบกลุ่มย่อย แบบกลุ่มใหญ่หรือภาคสนาม ทาอย่างไร ใช้เกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร
            
            3) แบบการวิจัยทดลอง ที่ใช้เป็นแผนงานในการทดลองและรวบรวมข้อมูลการวิจัย
ในขั้นประเมินผลรวมนั้นเป็นแบบใด

            4) การวิเคราะห์ข้อมูล การใช้สถิติกับข้อมูลที่รวบรวมแต่ละประเภทเป็นอย่างไร
ใช้เกณฑ์ในการวิเคราะห์อย่างไร และแปลผลการวิเคราะห์อย่างไร

    7. ระยะเวลาในการดาเนินการวิจัย ควรนาเสนอเป็นแผนผังควบคุมงาน (gantt chart)
แสดงขั้นตอนของการดาเนินการวิจัยและระยะเวลาที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม เพื่อใช้เป็นแผนงานสาหรับควบคุมการทางานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

    8. ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย ในส่วนนี้ต้องระบุให้ชัดเจนว่า งานวิจัยนี้จะได้ประโยชน์
อะไรเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจว่าควรอนุมัติให้ทาหรือไม่ อย่างไร เช่น การแก้ปัญหา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม การได้ข้อความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน การเขียนในส่วนของประโยชน์ของการวิจัยนี้จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์แต่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ ควรเขียนในลักษณะที่จะก่อให้เกิดประโยชน์และผลกระทบเมื่อนาผลการวิจัยไปใช้ เป็นต้น

    9. งบประมาณที่ใช้ในการวิจัย สาหรับการเสนอโครงการวิจัยให้กับแหล่งผู้สนับสนุนทุน
ในการดาเนินการวิจัยนั้น ส่วนนี้นับว่ามีความสาคัญควรศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนว่าแหล่งผู้สนับสนุนนั้นจัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายไว้อย่างไร และมีหลักเกณฑ์สาหรับการเบิกจ่ายในแต่ละหมวดอย่างไรเพื่อจะได้ทาให้ถูกต้องตามความต้องการของแหล่งทุนที่สนับสนุน

    10) คณะผู้วิจัย ควรระบุรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวของผู้วิจัย ได้แก่ ชื่อ สกุล ตาแหน่ง
สถานที่ปฏิบัติงาน สถานที่ติดต่อ คุณวุฒิและประสบการณ์ของผู้ทาวิจัยให้ชัดเจนตามแบบฟอร์มที่แจ้งไว้ประเด็นการวิจัยทั้ง 10 ข้อนี้ จะทาให้เห็นภาพงานของการวิจัยชัดเจนแต่จะต้องเขียนทั้ง 10หัวข้อนี้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับแบบฟอร์มของหน่วยงานที่ต้องการโครงร่างการวิจัยเป็นผู้กาหนด

ตัวอย่างโครงการวิจัย

    ตัวอย่างที่นามาเสนอในที่นี้ เป็นโครงการวิจัยที่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ทาขึ้นเพื่อเสนอขออนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต ซึ่งผู้เขียนได้ปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ตามแนวทางที่ได้เสนอไว้





บทสรุป

    การวิจัยและพัฒนาได้นามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอนหรือออกแบบการเรียนการสอนของนักวิชาการ การวิจัยและพัฒนาที่ครูใช้ในชั้นเรียนกับการวิจัยและพัฒนาที่นักวิชาการใช้มีความแตกต่างกัน การวิจัยและพัฒนาที่ครูในโรงเรียนใช้เรียกว่า การวิจัยปฏิบัติการในห้องเรียน (classroomaction research- CAR) สาหรับกระบวนการวิจัยและพัฒนาที่นักวิชาการทา เรียกว่า การวิจัยและพัฒนา(research and development–R&D) การวิจัยปฏิบัติการในห้องเรียนใช้วงจรควบคุมคุณภาพ PAOR(plan action observation revision) หรือ PDCA (plan do check action) เป็นกระบวนการในการดาเนินงาน ส่วนการวิจัยและพัฒนา ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (R & D) เป็นเครื่องมือในการดาเนินงานทั้งสองกระบวนการมีการดาเนินงานเป็นวงจรต่อเนื่อง เพื่อนาผลที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นแต่ต่างกันตรงที่การวิจัยและพัฒนาของนักวิชาการ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่นาไปใช้แก้ปัญหาและสามารถอ้างอิงไปสู่ประชากรเป้าหมายได้ ในขณะที่การวิจัยปฏิบัติการในห้องเรียนของครูมุ่งแสวงหาความรู้เพื่อปรับปรุงงานที่ปฏิบัติให้ดีขึ้น ไม่เน้นการสรุปอ้างอิงผลการวิจัย ดังนั้นกระบวนการวิจัย
และพัฒนาจึงใช้ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเคร่งครัดในการออกแบบการวิจัยข้อมูลใช้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อเสริมจุดเด่นและลดจุดด้อยของกันและกัน ในขณะที่การวิจัยปฏิบัติการในห้องเรียนใช้ระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์เช่นกันแต่มีความยืดหยุ่นมากกว่า ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ

    กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนมีลักษณะเช่นเดียวกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา
และใช้การออกแบบการวิจัยเป็นเครื่องมือในการประเมินการเรียนการสอน

    ในการดาเนินการวิจัยและพัฒนาจาเป็นต้องมีการเสนอแผนงานหรือโครงร่างการวิจัยที่ใช้เป็น
แนวทางในการควบคุมการดาเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ โครงร่างการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นเอกสารเพื่อขอทุนสนับสนุนการดาเนินงานโครงการวิจัยได้ และสาหรับนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาโครงร่างการวิจัยเป็นแผนงานที่นักศึกษาต้องเสนอเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อขออนุมัติโครงการ และอาจารย์ที่ปรึกษาใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบและควบคุมการดาเนินงานวิจัยให้เป็นไปตามแผนงานที่ได้วางไว้ โครงร่างการวิจัยจึงเป็นแผนงานที่จะต้องได้รับการวางแผนอย่างรอบคอบเขียนให้ถูกต้อง ชัดเจน และมีความเป็นไปได้ในการดาเนินงาน โครงร่างการวิจัยจึงเป็นหลักประกันเบื้องต้นของความสาเร็จในการวิจัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น