ศึกษาเรียนรู้

18.8.63

รักษาราชการแทน

รักษาราชการแทน
รักษาการในตำแหน่ง
ปฏิบัติราชการแทน

รักษาราชการแทน(เดิม)
        การรักษาราชการแทน" เป็นถ้อยคำที่ใช้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546  ในหมวด 5 ตั้งแต่มาตรา 48ถึงมาตรา 54โดยบทบัญญัติในมาตราต่างๆ ดังกล่าวได้กล่าวถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายได้กำหนดให้มีตำแหน่งใดบ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นผู้รักษาราชการแทนในกรณีดังกล่าวนั้นได้ เริ่มตั้งแต่ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ(มาตรา 48) ไปจนถึงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา(ตามมาตรา 54)  เช่น
           กรณีตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้   กฎหมายกำหนดให้รองผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้ "รักษาราชการแทน"
           กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา   มาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาอีกตำแหน่งหนึ่ง   เป็นไป ตามมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา พ.ศ.2546 ดังนั้นจึงต้องใช้คำว่า"รักษาราชการแทน"
   *** คำสั่ง คสช.10/2560 ข้อ 9 มิให้นำบทบัญญัติมาตรา 54 พรบ.ศธ.2546 มาบังคับใช้
มีผลให้ยกเลิกคำว่ารักษาราชการแทน     ใช้คำว่า "รักษาการในตำแหน่ง"

รักษาการในตำแหน่ง
        รักษาการในตำแหน่ง เป็นถ้อยคำที่ใช้ในมาตรา 68  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547  ได้กล่าวถึง  ถ้าตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งใดว่างลง  หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ก็ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไป "รักษาการในตำแหน่ง" นั้นได้
         ดังนั้นคำว่า "รักษาการในตำแหน่ง"  ตามคำสั่ง คสช.10/2560 ข้อ 9  จึงหมายถึงกรณีตแหน่งใดว่างลง  เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้
       *** "รักษาการในตำแหน่ง"  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีหนังสือแต่งต้ั้งให้มีอำนาจ ทำหน้าที่และรับผิดชอบในตำแหน่งอื่นเป็นการชั่วคราว ในกรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนั้น หรือมีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และเมืื่อมีผู้มาดำรงตำแหน่งนั้นแล้วก็ให้พ้นจากการรักษาการในตำแหน่งนั้น
          กรณีแหน่งผู้ช่วยผู้อำ เนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ถ้าผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้   ซึ่งเป็นกรณีที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้กำหนดให้มีการรักษา ราชการแทนในตำแหน่งนี้ไว้ กรณีนี้ก็ต้องใช้ "รักษาการในตำแหน่ง" ตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษา พ.ศ. 2547
         กรณีตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้     ให้แต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(รอง ผอ., ครู)เป็นผู้   "รักษาการในตำแหน่ง"   
      กรณีผู้อำนวยการโรงเรียนไปราชการต่างจังหวัด 1 วัน   แต่งตั้งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ทำหน้าที่แทน  "รักษาการในตำแหน่ง"

ปฏิบัติราชการแทน
         ปฏิบัติราชการแทน    ใช้เมื่อผู้มีอำนาจเดิมปฏิบัติงานได้อยู่แต่   แต่เห็นว่าการมอบอำนาจทำให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน  เป็นการกระจายอำนาจ     จึงการมอบใ้ห้ปฏิบัติราชการแทน    การปฏิบัติราชการแทนทำเป็นหนังสือ(ลายลักษณ์อักษร)  ผู้รับมอบอำนาจมอบต่อไม่ได้  เจ้าของอำนาจเดิมยังมีอำนาจอยู่ ผู้มอบอำนาจยังคงมีความรับผิดชอบ ตรวจสอบ ติดตามแก้ไข  ผลเสียหายจากการปฏิบัติราชการผู้รับมอบอำนาจอยู่  เช่น
       กรณีผู้อํานวยการสถานศึกษา  เห็นว่าตนมีภารกิจที่จะต้องทําอยู่เป็นอันมากจึงต้องมอบอํานาจให้รองผู้อํานวยการสถานศึกษา "ปฏิบัติราชการแทน" ในเรื่องบางเรื่อง เช่น การอนุมัติการลา หรือการเบิกเงินสวัสดิการต่างๆ
       กรณีผู้ว่าราชการจังหวัด  มีภารกิจที่จะต้องทําอยู่เป็นอันมาก  จึงต้องมอบอํานาจให้รองผู้ว่าราชการคนใดคนหนึ่ง "ปฏิบัติราชการแทน"  เช่น มอบปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น