การเลี้ยงจิ้งหรีด
จิ้งหรีด (Cricket) เป็นแมลงเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยง และนำมาบริโภคทั่วทุกภาคของประเทศเนื่องจากมีรสชาติอร่อย กรอบ มัน และมีคุณค่าทางอาหารสูง
ในอดีตมีการจับจิ้งหรีดธรรมชาติมาบริโภคภายในครัวเรือนหรือส่งจำหน่ายตามชุมชนเท่านั้น แต่เนื่องด้วยเป็นแมลงที่เมื่อนำมาทอดแล้วมีรสกรอบ มัน ทำให้มีคนชื่นชอบมาก จนปัจจุบันมีการเพาะจิ้งหรีดจำหน่ายเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ และความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน
ลักษณะทั่วไป
จิ้งหรีด เป็นแมลงที่มีลำตัวขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ขาคู่หลังส่วนต้นมีขยายใหญ่ และแข็งแรง ใช้สำหรับกระโดด ขาคู่หน้ามีขนาดเล็กกว่าขาคู่หลังมาก ใช้สำหรับเดิน และเขี่ยอาหาร มีหนวดยาว 2 เส้น ขนาดเท่าเส้นผมคนเรา ความยาวหนวดประมาณ 3-5 ซม. และมากกว่าลำตัว หนวดมีหน้าที่รับความรู้สึก และรับกลิ่นอาหาร มีปากเป็นแบบกัดกิน ปีกขวาทับปีกซ้าย ปีกคู่หน้าปกคลุมด้วยฟิล์มบางๆ
พันธุ์จิ้งหรีดที่พบในไทย
ชนิดจิ้งหรีด จิ้งหรีดที่พบในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มี 4 ชนิด ดังนี้
1. จิ้งโกร่ง (Brachtrupes Portentosus Lichtenstein)
จิ้งหรีดชนิดนี้ บางพื้นที่เรียก จิโปม, จิ้งกุ่ง, จินาย เป็นต้น เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่ ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ลำตัวทุกส่วนมีสีน้ำตาล ยกเว้นขาคู่หลังส่วนบนมีสีเหลือง และส่วนท้องมีสีครีม โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 1 ซม. ยายประมาณ 3.5-4.0 ซม. มีหนวดยาว ขุดรูตามดินร่วนปนทราย ภายในรูที่ความลึก 5-10 ซม. มีรูแยก 1 รู เพื่อหลบภัย บริเวณรอยแยกของรูเป็นโพรงใหญ่สำหรับเก็บอาหาร รูหลักยาวประมาณ 30-50 ซม. ลึกประมาณ 20-30 ซม. กลางวันจะปิดปากรู และอาศัยอยู่ภายใน กลางคืนออกหากิน และส่งเสียงร้องดัง
จิ้งโกร่ง
จิ้งโกร่ง
2. จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus Bimaculatus Degeeer)
เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง บางพื้นที่เรียก จิโหลน ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ลำตัว และปีกมีสีดำหรือน้ำตาลปนดำทั้งตัว โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 0.6-0.7 ซม. ยาวประมาณ 2.8-3.0 ซม. มีหนวดยาว ตัวผู้ส่วนหัว และอกมีสีดำ ปีกคู่หน้าย่น ปีกมีสีน้ำตาลออกเหลืองเล็กน้อย โดยเฉพาะโคนปีกที่มีสีเหลืองแกม ส่วนตัวเมียส่วนหัว และอกมีสีดำ ปีกคู่หน้าเรียบ ปีกมีสีดำสนิท โคนปีกมีแต้มสีเหลือง 2 จุด ปลายปีคู่หลังทั้งตัวผู้ตัวเมียยื่นยาวมากกว่าลำตัว ปลายท้องมีแพนหางยาว 1 คู่ ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย
จิ้งหรีดทองดำ
3. จิ้งหรีดทองแดง (Teleogryllus Testaceus Walker)
บางพื้นที่เรียก จิ้งหรีดนิล หรือ จินาย หรือ จิ้งหรีดพม่า เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 0.5-0.6 ซม. ยาวประมาณ 2.5-2.80 ซม. ลำตัวทุกส่วนมีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณหัวเหนือขอบตามีแถบสีน้ำตาลเข้มรูปตัว V ตัวผู้มีสีลำตัวทุกส่วนเข้มกว่าตัวเมีย ด้านล่างท้องมีสีครีม เคลื่อนที่ได้ว่องไว ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย
จิ้งหรีดทองแดง
จิ้งหรีดทองแดง
4. จิ้งหรีดทองลาย (Modicogryllus Confirmata Walker)
จิ้งหรีดทองลาย หรือ นิยมเรียกว่า แมงสดิ้ง ตัวผู้ และตัวเมียมีอายุเต็มวัย 38-60 วัน เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ลำตัวทุกส่วนมีสีเหลืองแกมน้ำตาล มีลักษณะสีเป็นลาย ลำตัวกว้างประมาณ 0.4-0.55 ซม. ยาวประมาณ 2.0-2.5 ซม. ตัวเมียลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง ปีกคู่หน้าเรียบมีสีน้ำตาลเป็นลายเส้นชัดเจน ปีกคลุมปลายท้องไม่มิด มีอวัยวะวางไข่คล้ายเข็มสีน้ำตาล ยาวประมาณ 1.2 เมตร ยาวกว่าแพนหางเล็กน้อย ตัวผู้มีสีลำตัวเข้มกว่าตัวเมีย และมีลายแต้มที่หัว ปีกคู่หน้าย่น ปลายท้องมีแพนหาง จิ้งหรีดชนิดนี้ ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย
จิ้งหรีดทองลาย
จิ้งหรีดทองลาย
วงจรชีวิต และพฤติกรรม
ระบบสืบพันธุ์
เพศผู้มีอัณฑะ 1 คู่ และมีต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิสีขาวขุ่น น้ำอสุจิที่ถูกสร้างจำถูกนำผ่านท่อน้ำอสุจิมาเก็บไว้ที่ถุงพักน้ำอสุจิ และจะถูกนำออกทางท่อน้ำเชื้ออสุจิขณะผสมพันธุ์ ส่วนเพศเมียมีรังไข่สีเหลือง 1 คู่ และมีท่อนำไข่ สำหรับนำไข่มารวมกันที่ท่อกลาง รวมถึงพบถุงเก็บน้ำเชื้ออสุจิจากเพศผู้หลังการผสมพันธุ์ ไข่จะถูกนำออกจากท่อนำไข่ผ่านเข้าฉีดเชื้ออสุจิก่อนไข่ตกออกมา
การสืบพันธุ์
ตัวผู้ และตัวเมียสามารถเริ่มผสมพันธุ์ได้หลังจากวางไข่ประมาณ 3-4 วัน การผสมพันธุ์ เริ่มด้วยตัวผู้ส่งเสียงเรียกตัวเมียให้เข้ามาผสมพันธุ์ ช่วงแรกจะร้องเสียงยาว และดังนานเป็นช่วงๆ เมื่อตัวเมียมาใกล้จะเปลี่ยนเป็นเสียงร้องเบาฯ และถี่สั้น
การผสมพันธุ์ของจิ้งหรีดมี 2 แบบ คือ ตัวเมียจะขึ้นคร่อมบนหลังตัวผู้ หรือ ตัวเมีย และตัวผู้หันหลังเข้าหากัน ซึ่งจะใช้เวลาผสมพันธุ์ประมาณ 10-15 วินาที แต่บางครั้งเมื่อตัวเมียไม่สนใจตัวผู้ก็มักจะไล่กัดกัน
การทำเสียง
เสียงจิ้งหรีดเกิดจากการใช้ขอบปีกคู่หน้าถูเสียดสีกันจนทำให้เกิดเสียง เสียงที่ทำขึ้นใช้เพื่อการสื่อสาร และช่วยดึงดูดเพศตรงข้ามเพื่อหาคู่ผสมพันธุ์
1. เสียง กริกฯ ดังนาน แสดงถึงการเรียกหาคู่
2. เสียง กริกฯ ดังเบา และถี่ แสดงถึงความต้องการผสมพันธุ์
3. เสียง กริกฯ ดังยาว 2-3 ครั้ง แสดงอาการโกรธ การต่อสู้ หรือ ให้ออกห่าง
4. เสียง กริกฯ ลากเสียงยาว แสดงถึงการบอกอาณาเขตของตน
การเคลื่อนไหว
การระวังภัยของจิ้งหรีดจะรับรู้จากแรงลม โดยใช้เส้นขนบริเวณลำตัวเป็นตัวรับความรู้สึก พร้อมมีการเคลื่อนไหวตอบสนอง มี 3 แบบคือ การกลับตัว การกระโดด และการวิ่ง หากได้รับลมทางด้านหลัง จิ้งหรีดจะกลับตัวก่อน แล้วค่อยกระโดด
การวางไข่
หลังจากผสมพันธุ์ 2-3 วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่ โดยจะการวางไข่ไว้ใต้ดินที่มีความชื้น ดินมีความร่วนซุย โดยใช้อวัยวะวางไข่ลักษณะเรียวแหลม คล้ายเข็ม ยาวประมาณ 1.5 ซม. แทงลงในดินลึก 1.0-1.5 การวางไข่ 1 ชุด ใช้เวลาประมาณ 1.5 ชม. วางไข่เป็นชุดๆประมาณ 25 ชุด แต่ละชุดใช้เวลาประมาณ 3-4 นาที ตัวเมีย 1 ตัว สามารถวาไข่ได้มากกว่า 1000 ฟอง ไข่จะฟักเป็นตัวหลังจากวางไข่ได้ประมาณ 7 วัน
นอกจากนั้น ยังพบจิ้งหรีดชนิดที่มีอวัยวะวางไข่ ยาวจะมีการวางไข่ในดิน จิ้งหรีดที่มีอวัยวะวางไข่เป็นรูปดาบ ขอบเป็นฟันเลื่อยจะวางไข่บนพืชที่อ่อนนุ่ม และพวกที่อวัยวะวางไข่ขอบเป็นฟันแข็งจะวางไข่บนพืชที่มีลักษณะหยาบ
ลักษณะตัวอ่อน
ตัวอ่อนทีขนาดทุกส่วนของลำตัวที่เล็กกว่าตัวเต็มวัย ปีกงอกสั้น และมีสำลำตัว และสีปีกจาง เจริญเติบโต และมีการลอกคราบเฉลี่ยประมาณ 5-14 ครั้ง ก่อนเข้าสู่ตัวเต็มวัย
ระยะตัวเต็มวัย
ระยะตัวเต็มวัยมีอวัยวะครบทุกส่วนเห็นได้ชัดเจน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. ส่วนหัว ประกอบด้วย หนวด 1 คู่ ตา 1 คู่ และส่วนปาก ส่วนนี้เชื่อมติดกับอกด้วยเนื้อเยื่อ และอวัยวะระบบทางเดินอาหาร ทำให้ส่วนหัวเคลื่อนเคลื่อนขึ้นลง ซ้ายขวาได้ มีหนวดเป็นอวัยวะรับสัมผัส และรับกลิ่น
2. ส่วนอก ประกอบด้วย ปีก 2 คู่ ขา 3 คู่ และส่วนท้องที่เป็นระบบทางเดินอาหาร และอวัยวะสืบพันธุ์
อาหาร และการหาอาหาร
จิ้งหรีดตัวอ่อน และตัวเต็มวัยชอบหลบซ่อนตัวในเวลากลางวันตามกอหญ้า รอยแตกของดิน หรือใต้กองไม้ เศษใบไม้ หรือต้นพืชแห้ง กลางคืนจะออกหาอาหารบริเวณใกล้กับแหล่งอาศัย โดยกัดกินต้นอ่อนของพืชเป็นอาหารหลัก
วงจรชีวิตของจิ้งหรีดทองแดง
• ไข่
ไข่จิ้งหรีดมีสีเหลือง อยู่รวมกันเป็นกลุ่มภายในดิน มีลักษณะเรียวยาว คล้ายเม็ดข้าว กว้างประมาณ 0.005 ซม. ยาวประมาณ 0.2 ซม. ระยะไข่มีเวลาประมาณ 7 วัน ก่อนฟักเป็นตัว
• ตัวอ่อน
ตัวอ่อนจิ้งหรีดระยะแรกลำตัวจะมีสีครีม แล้วค่อยๆเปลี่ยนสีเข้มข้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีสีน้ำตาล ตามด้วยหนวดที่ค่อยๆเจริญยาวตามวัย ปีกค่อยๆเจริญ แต่ยังปิดส่วนท้องไม่มิด หรือเรียกระยะนี้ว่า เสื้อกั๊ก ระยะเจริญของตัวอ่อนประมาณ 30-40 วัน ก่อนเป็นตัวเต็มวัย
• ตัวเต็มวัย
เมื่อเจริญจนตัวเต็มวัย ลำตัว และปีกมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนดำ ลำตัวกว้าง 0.6-0.7 ซม. ความยาวจากหัวถึงท้ายประมาณ 2.24 ซม. มีหนวดยาว เพศผู้ปีกคู่หน้าย่น ส่วนเพศเมียปีกคู่หน้าเรียบ ทั้งเพศผู้ และเพศเมียมีแพนหาง ยาว 1 คู่ เพศเมียมีอวัยวะวางไข่ ยื่นยาวคล้ายเข็ม
วงจรชีวิตของจิ้งหรีดทองดำ
• ระยะไข่ และตัวอ่อน
มีลักษณะเหมือนจิ้งหรีดทองแดง
• ตัวเต็มวัย
เมื่อตัวอ่อนเจริญเต็มที่ สีลำตัว และปีกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้มปนดำ ช่วงกว้างลำตัวประมาณ 0.7 ซม. ส่วนหัวถึงท้ายยาวประมาณ 3 ซม. ปลายปีกคู่หลังยื่นยาวเลยท้ายลำตัว และส่วนของท้องมีแพนหางยาว 1 คู่ เพศผู้มีปีกคู่หน้าย่น โคนปีกมีจุดสีเหลือง ส่วนเพศเมีย ปีกคู่หน้าเรียบ สีดำ มีอวัยวะวางไข่ยาว แหลมยาวคล้ายเข็ม
การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด
จิ้งหรีดสามารถนำมาเลี้ยงขยายพันธุ์ได้ทุกพันธุ์ แต่พันธุ์ที่รู้จักกันแพร่หลายมี 2 ชนิด ได้แก่ จิ้งหรีดพันธุ์ทองดำ และพันธุ์ทองแดง
อุปกรณ์การเลี้ยงจิ้งหรีด
1. บ่อเลี้ยง
บ่อเลี้ยงอาจเป็นวัสดุประยุกต์ต่างๆ เช่น กะละมัง ถังน้ำ (เลี้ยงจำนวนน้อย) แต่โดยทั่วไปนิยมใช้บ่อซีเมนต์สำเร็จรูปหรือการก่ออิฐเป็นสี่เหลี่ยม หรือใช้แผ่นพลาสติกตียึดกับโครงไม้ เพราะจะได้พื้นที่มากพอสำหรับการเลี้ยงจิ้งหรีดจำนวนมาก หากเลี้ยงหลายบ่อควรให้มีระยะห่างของบ่อ ประมาณ 1 เมตร หรือมีระยะที่สามารถเดินเข้าออกได้สะดวก
2. ผ้าเขียวหรือลวดตาข่าย
ผ้าเขียวหรือลวดตาข่ายจะใช้สำหรับครอบปิดปากบ่อเพื่อป้องกันจิ้งหรีดไต่หรือกระโดดออกจากบ่อ และป้องกันศัตรูของจิ้งหรีด เช่น จิ้งจก ตุ๊กแก นก เป็นต้น โดยทั่วไปจะใช้ผ้าเขียวจะให้ผลดีสุดทั้งป้องกันจิ้งหรีดออก และป้องกันศัตรูจิ้งหรีดได้ดี มีราคาถูก ใช้ และรื้อง่าย โยควรมีขนาดที่คลุมมิดทั้งปากบ่อที่สามารถใช้เชือกรัดปิดรอบบ่อได้
3. วัสดุหลบซ่อน
วัสดุหลบซ่อนจะใช้วางในบ่อเลี้ยงเพื่อให้จิ้งหรีดหลบซ่อนตัว และให้ความอบอุ่น เช่น กาบมะพร้าว อิฐบล็อกมีรู หญ้าแห้ง ถาดกระดาษรองไข่ เป็นต้น
4. ถาดน้ำ และถาดอาหาร
ถาดน้ำควรมีลักษณะทรงสี่เหลี่ยมด้านขนาน กว้างประมาณ 5 ซม. สูงประมาณ 3-5 ซม. และยาวตั้งแต่ 10 ซม. ขึ้นไป วางในบ่อ 3-5 อัน ตามจำนวนที่เลี้ยง ส่วนถาดอาหารควรมีลักษณะเป็นวงกลม เช่น ถาดอาหารทั่วไปตามท้องตลาด 1-2 ถาด
5. วัสดุรองพื้น
วัสดุรองพื้นใช้สำหรับเป็นที่ซับน้ำ ซับมูล และรักษาอุณหภูมิที่พอเหมาะสำหรับการเลี้ยงจิ้งหรีด วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ทราย หรือ ดินทราย หรือ แกลบ
jingread
การจัดการบ่อเลี้ยง
การใส่วัสดุ
– ใส่วัสดุรองพื้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ทราย ดินทราย หรือแกลบ หากใส่หายอย่างมักจะใช้ดินทรายเป็นวัสดุรองพื้นเป็นชั้นแรก และอาจตามด้วยทรายหรือแกลบ โดยให้มีความหนาโดยรวมประมาณ 3-5 ซม. และควรเปลี่ยนถ่ายทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนรุ่นการเลี้ยงใหม่ หรืออย่างมากไม่ควรเกิน 2 รุ่น/ครั้ง
– วัสดุหลบซ่อนสำหรับให้จิ้งหรีดหลบซ่อนหรือวางไข่ ได้แก่ อิฐมีรู หญ้าแห้ง ถาดกระดาษรองไข่ หญ้าแห้ง เป็นต้น ควรใส่ให้กินพื้นที่ประมาณร้อยละ 50-60 ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ วางวัสดุใส่อาหาร และพื้นที่ว่าง โดยจัดวางซ้อนกัน 2-3 ชั้น แต่ไม่ควรให้สูงเกิน 2 ใน 3 ของความสูงบ่อ โดยเฉพาะบริเวณขอบบ่อ
– วัสดุใส่น้ำ ควรมีให้ประมาณ 2-3 อัน แล้วแต่ขนาด ส่วนถาดอาหารควรมีประมาณอย่างน้อย 2 อัน ขึ้นกับจำนวนที่เลี่ยง และให้กินพื้นที่บ่อประมาณร้อยละ 20-30 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 20-30 จากพื้นที่ของวัสดุหลบซ่อน และจากวัสดุให้น้ำ และอาหาร ควรเป็นที่โล่ง ซึ่งจะใช้สำหรับกิจกรรมของจิ้งหรีดหรือใช้เพื่อวางอาหารชนิดหญ้าสด
การปล่อย และเลี้ยงจิ้งหรีด
การปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์
พ่อแม่พันธุ์ที่ใช้เลี้ยงจะต้องเป็นพ่อแม่พันธุ์ตัวเต็มวัยแล้ว 3-5 วัน โดยสังเกตจากปีกที่คลุมมิดส่วนท้องแล้ว ปีกมีลักษณะสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด ปีกไม่หัก หนวดมีครบทั้ง 2 เส้น ขามีสภาพสมบูรณ์ และครบทุกขา อัตราการปล่อยพ่อพันธุ์ : แม่พันธุ์ที่ 1 : 3
หลังการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 3 สัปดาห์ ช่วงนี้จะมีการผสมพันธุ์ และวางไข่ จนถึงระยะที่จิ้งหรีดฟักออกเป็นตัวอ่อน ส่วนพ่อ-แม่พันธุ์ จะถึงอายุขัย และตายไปหมด ซึ่งต้องคอยกำจัดออกในช่วงนี้
การให้น้ำ และอาหาร
จิ้งหรีดเป็นแมลงที่กินพืชเป็นอาหารหลัก ประเภทยอดหญ้าอ่อนทุกชนิด เช่น หญ้าขน หญ้าลูซี่ ผักตบชวา ผักกาด เป็นต้น แต่เกษตรกรบางรายอาจเลี้ยงด้วยการให้อาหารเสริมควบคู่หรือให้อาหารเสริมเพียงอย่างเดียว เช่น อาหารสำเร็จรูปพวกอาหารไก่ อาหารปลา รำ ปลายข้าว
การให้อาหารเสริมจะให้ทุก 2 วัน/ครั้ง อย่าให้ขาด ส่วนหญ้าสดจะให้ทุกวัน พร้อมมั่นถ่ายน้ำทุกครั้ง สำหรับหญ้าหรือพืชสดที่ให้ควรมั่นตรวจสอบอย่าให้เน่า หากจิ้งหรีดกินไม่หมดภายในวันที่ 2 ควรเปลี่ยนถ่ายทิ้งออกไป และซากหญ้าของเก่าต้องกำจัดออกไปด้วยเสมอ
พื้นที่รอบบ่อ
เพื่อป้องกันสัตว์หรือแมลงชนิดอื่นที่อาจเข้ามาทำลายจิ้งหรีดหรือแย่งอาหารจิ้งหรีด เช่น มดชนิดต่างๆ นั้น จะต้องป้องกันด้วยการโรยผงกันแมลงหรือปูนขาวโดยรอบบ่อเลี้ยง และคอยมั่นตรวจสอบบริเวณโดยรอบเป็นประจำ
การจับจิ้งหรีด
จิ้งหรีดที่เลี่ยงจะสามารถจับจำหน่ายได้เมื่ออายุประมาณ 35 วัน ขึ้นไป หลังฟักออกจากไข่ ซึ่งวิธีการจับจะใช้การเปลี่ยนวัสดุหลบอาศัยหรือเป็นวัสดุที่ใส่ตั้งแต่ตอนแรกที่สามารถเก็บรวบรวมจิ้งหรีดขณะหลบซ่อนตัวได้ดี เช่น กระบออกไม่ไผ่หรือท่อพลาสติก ด้วยการปิดคลุมด้วยปลายด้านใดด้านหนึ่งให้มิดชิด เวลาจับจะใช้ปลายด้านที่เปิดเทภายใส่ภายในถุงผ้าที่ครอบปากไว้ แล้วค่อยๆเคาะให้จิ้งหรีดออก
ศึกษาเรียนรู้
- กลุ่มบริหารวิชาการ
- กลุ่มบริหารงบประมาณ
- กลุ่มบริหารงานบุคคล
- กลุ่มบริหารทั่วไป
- กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน
- การบริหารสถานศึกษา
- คุณธรรมผู้บริหาร
- ตามนโยบายศธ.สพฐ.
- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
- ลูกเสือ
- ยุวกาชาด
- บำเพ็ญม.ปลาย
- นศท.
- ชุมนุม
- กิจกรรมเพื่อสังคมฯ
- ดนตรี
- กีฬา
- แนะแนว
- เรื่องที่เป็นคติ
- อบรมคุณธรรม
- หนึ่งนาทีชีวีมีสุข
- สติมาปัญญาเกิด
- กลุ่มสาระ
- วิทยาศาสตร์
- พืช
- สัตว์
- การเลี้ยงวัว
- เกษตร
- ประเภทงานช่าง
- สาระการศึกษา
- ความรู้ผู้บริหาร
- การแต่งกาย
- ความรู้และทักษะชีวิต
- แนวทางในโรงเรียน
- กฎหมายการศึกษา
- ข้อกฎหมาย/ระเบียบ
- หลักสูตรพัฒนาผู้บริหาร
- สหกรณ์ออมทรัพย์ครู
- กองทุนกบข.
- ทักษะการเงิน
- งานวิจัย
- บทความ
- การพูดในโอกาส
- กิจกรรมวันสำคัญ
- โครงการโรงเรียนคุณภาพ
- โครงการสถานศึกษาปลอดภัย
- โครงการเศรษฐกิจพอเพียง โคกหนองนา
- โครงการคุณธรรมโรงเรียนวิถีพุทธ
- โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- โครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
- โครงการโรงเรียนปลอดขยะ
- โครงการศูนย์ป้องกันแพร่เชื้อโควิด
- โครงการห้องเรียน iClass room
- ตลาดวิชาพื้นฐาน
- PDCA
- WordClass
- HCEC
- 4H
- KUSA
- 4M3Rs
- PLC AAR
- SLC
- Active Learning
- 5STEPs
- Thinking School
- Test
- ITA
- Best Practice
- Academy School
- Sport
- ESchool
- Website
- Competency
- Online
- Apps
- ข้อคิดเตือนใจ
- Reset
- admin
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น