ศึกษาเรียนรู้

2.3.65

เดินไปกับอีกสองคน

C:\Users\Sungmen\My Drive\0บริหารการศึกษา\0000ขงจื้อ\ขงจื้อ.jpg

“ เดินไปกับอีกสองคน ย่อมมีครูเราอยู่ด้วย เลือกข้อดีของเขาแล้วเอาอย่าง พิจารณาข้อบกพร่องของเขาแล้วปรับปรุงตน”.....ขงจื้อกล่าวไว้


1.3.65

กินข้าวหม้อเดียวกัน

 กินข้าวหม้อเดียวกัน

 

กินข้าวหม้อเดียวกัน เป็นสำนวน  มีความหมายว่า  กินข้าวที่หุงในหม้อใบเดียวกัน สำนวนนี้มาจากพฤติกรรมของคนที่อยู่เป็นครอบครัว  ย่อมจะกินข้าวจากหม้อที่หุงครั้งเดียวในแต่ละมื้อ  บางคนกินวันละมื้อเดียว แต่บางคนก็กินหลายมื้อ  คนที่กินข้าวจากหม้อเดียวกัน  คือ  คนในครอบครัวเดียวกัน  ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวเล็กที่มีเพียง พ่อ แม่ ลูก หรือครอบครัวใหญ่ที่มีปู่ย่าตายาย และลุงป้าน้าอา อยู่ด้วย ก็ตาม 

  คนในครอบครัวเดียวกันควรรักใคร่สมัครสมานสามัคคีกัน  ไม่แตกแยกทะเลาะเบาะแว้งกัน    ในบางครั้งอาจนำคำว่า กินข้าวหม้อเดียวกันมาใช้เป็นสำนวน  ในความหมายที่กว้างขึ้น   หมายถึง คนที่อยู่ในคณะเดียวกัน ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน และผูกพันกันอย่างใกล้ชิดเหมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  เช่น  เราเป็นลิเกคณะเดียวกันบทบาทคนละบทบาท  กินข้าวหม้อเดียวกันก็ต้องรักใคร่กลมเกลียวกัน


ซุนกวน

 ซุนกวน

  ซุนกวน  เป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดในสามก๊ก สืบทอดอำนาจมาจากพ่อและพี่ชาย มีความสามารถในการบริหารผสมผสานทีมงานต่างรุ่นตั้งแต่รุ่นเก่าไปจนถึงคนรุ่นใหม่ได้อย่างลงตัวและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งรักษาความเข้มแข็งของก๊กที่รวมเหล่าเก่งไว้มากมาย ทั้งขุนพล แม่ทัพ และที่ปรึกษา มากกว่าผู้นำคนใดในสามก๊ก ถึงกับได้รับการยกย่องจากโจโฉว่า มีลูกชายต้องมีให้ได้อย่างซุนกวน    

  ซุนกวน เป็นผู้นำที่มีศักยภาพ จุดเด่นจึงไม่ได้อยู่ที่การนำทัพออกรบ แต่เน้นการบริหารทีมงานให้เกิดความสามัคคี ด้วยนโยบายการบริหารคน คือ วัดคนที่ความสามารถ ไม่ถือรุ่น ไม่ถืออายุ รู้จุดเด่นจุดด้อยของลูกน้อง ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ดังนั้น แนวทางการบริหารของซุนกวนจึงต่างจากผู้นำเผด็จการของโจโฉ และแบบของเล่าปี่ที่มีขงเบ้งเป็นซีอีโอ   ตรงที่ซุนกวนจะให้มีการประชุมขุนนางทั้งฝ่ายบุ๋นและฝ่ายบู้ เปรียบเสมือนคณะที่ปรึกษา โดยให้ทุกฝ่ายนำข้อมูลเหตุผลมาวิพากษ์วิจารณ์และถกประเด็นกัน ส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของซุนกวน แต่ด้วยจุดอ่อนที่เป็นคนตัดสินใจไม่เด็ดขาด โดยเฉพาะเมื่อเจอกับเหตุการณ์คับขัน และต้องแบกรับภาระดูแลกิจการของครอบครัวไม่ให้ล้มละลาย การตัดสินใจจึงต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไขความอยู่รอดเป็นหลัก ทำให้ไม่มีทิศทางการเมืองที่ชัดเจน หวังเพียงแค่จะปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่พลิกผันตลอดเวลา


เล่าปี่

 เล่าปี่

  เล่าปี่ เป็นนักการเมืองที่มีประสบการณ์โชกโชน มีสายตาอันแหลมคมเป็นที่ประจักษ์ ถือได้ว่าเป็นเลิศในสามก๊ก สามารถอ่านคนทะลุถึงศักยภาพภายใน ชี้จุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละคนออกมาได้อย่างชัดเจน    เล่าปี่ทำค่อยเป็นค่อยไป กองทัพของเล่าปี่เปรียบเสมือนกองทัพเอสเอ็มอี ที่ให้ญาติพี่น้องมาช่วยกันบริหารในแต่ละฝ่าย และกล้าที่จะใช้คน นั่นคือ ขงเบ้ง ที่เก่งทางด้านการบริหาร การจัดรูปแบบ และการจัดการองค์กรให้เหมาะสมกับลักษณะงานต่างๆ สามารถมองอนาคต มีวิสัยทัศน์ และวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำ เป็นการบริหารงานอย่างมีระบบ ต่างจากแบบเดิมที่เป็นระบบเถ้าแก่หรือระบบครอบครัวของเล่าปี่    ถึงแม้ว่าเล่าปี่จะล้มลุกคลุกคลานครึ่งชีวิต พ่ายแพ้ศึกนับครั้งไม่ถ้วน แต่ที่สามารถประสบความสำเร็จในบั้นปลายด้วยจุดเด่นคือ ความเชื่อมั่นในความสามารถของลูกน้อง สร้างบารมีด้วยคุณธรรมจนเป็นที่เคารพนับถือของลูกน้องและคนในปกครอง มัดใจด้วยใจ ทำให้ได้ลูกน้องที่จงรักภักดีมากมาย   ความสำเร็จมาจากพื้นฐานง่ายๆ คือ ยึดมั่นในคุณธรรมและเมตตาธรรม ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ 


โจโฉ

โจโฉ

โจโฉ เป็นนักบริหารที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เก่งทั้งบุ๋นและบู๊    ความสามารถของโจโฉได้รับการยอมรับทั้งด้านวรรณกรรมและการเมืองทหาร โจโฉ มีอารมณ์ขันแอบซ่อนอยู่ในความเหี้ยมโหด และด้วยนิสัยขี้เล่นมีอารมณ์ขันอย่างตรงไปตรงมา จึงมีส่วนช่วยให้โจโฉประสบความสำเร็จในทางการเมือง   โจโฉเน้นเรื่องการบริหารคน    เพราะบุคลากรที่มีคุณภาพเปรียบเสมือนเป็นทรัพยากรสำคัญขององค์กร    จึงคัดเลือกคนที่มีความสามารถและจัดคนให้เหมาะกับงานที่มอบหมาย โดยไม่ถืออคติต่อภูมิหลัง ไม่ยึดหลักศักดินา ไม่ยึดพวกพ้องเครือญาติ ขอแค่เป็นคนที่มีความสามารถไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือคนชั่วก็จะเปิดโอกาสให้แสดงฝีมืออย่างเต็มที่ 

ทำให้ลูกน้องตื่นตัวตลอดเวลา   มีการแข่งขันกันสูง เพราะเต็มไปด้วยคนเก่ง และใช้เกณฑ์การประเมินที่ยุติธรรม ด้วยการวัดจากผลงาน ใครทำถูกใจก็ได้ความดีความชอบไป   ใครผิดพลาดก็ถูกลงโทษ นอกจากนี้ยังรู้จักใช้จิตวิทยาจัดการกับลูกน้อง ทำให้โจโฉได้ใจลูกน้อง  เป็นผู้ปกครองที่เปรื่องปราด เป็นอัจฉริยบุคคลด้านการทหาร มีบารมีหาที่เปรียบมิได้ ปฏิบัติต่อผู้ใต้บัญชาดุจครอบครัวของตัวเอง  โจโฉมีทั้งกุนซือและยอดขุนพลมากที่สุด  แต่ด้วยเหตุที่ต้องการผลสำเร็จเป็นสำคัญ  ทำให้โจโฉต้องติดภาพเหี้ยมโหดไปโดยปริยาย


6.2.65

onet

วิธีการทำงานของคณะกรรมการระดับสนามสอบและกรรมการคุมสอบ 

(V-NET / N-NET / I-NET / B-NET)




24.11.64

CPA

CPA (Concrete-Pictorial-Abstract)

1. Concrete (จับต้องได้) 

2. Pictorial (เห็นเป็นภาพ)

3. Abstract (สัญลักษณ์) 

จากรูปภาพอธิบายที่นำเอาหลักการของ CPA เข้ามาใช้ 
        1. Concrete เป็นช่วงเวลาของการสอนแรก หรือบางครั้งก็เอาไปเป็น ขั้นนำ ของการสอน โดยการมีโจทย์ปัญหาและของให้นักเรียนลองจับต้องเล่นกัน เพื่อแก้ปัญหานั้น   โดยเรายังไม่สอนวิธีการใดๆ
       2. Pictorial  พอนักเรียนเริ่มที่จะรู้วิธีหาคำตอบแล้ว แต่อาจจะยังไม่ตรงกับสิ่งที่เราจะสอน เราใช้ช่วงนี้ในการแปลงประสบการณ์ของจริงมาเป็นภาพในนามธรรมมากขึ้น
       3. Abstract  เป็นการคำนวณแบบตัวเลข หรือข้อความ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำเป็นส่วนใหญ่ 

แหล่งที่มา 
https://www.scimath.org/article-mathematics/item/11483-2020-04-21-07-43-06
http://teacherjak.blogspot.com/2016/11/Reflection1CPA.html